รายละเอียด >>
ส่วนของเนื้อหาทั้งหมดที่มีในเว็บไซต์ DozzDIY ครอบคลุมทั้งบทความที่รับชมได้แบบสาธารณะ, บทความพรีเมียมโดยผู้สอนที่บริการเฉพาะผู้สนับสนุน ตลอดจนข่าวสารสาระอื่นๆ และเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งหมดจากเรา
กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ
อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้
ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด
DozzDIY ได้ทำการวางขายพรีเซ็ตสำหรับโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพถ่ายตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 หลักคิดการออกแบบสเกลโครงสร้างที่เป็นไปในทางที่อย่างยืดหยุ่นมากขึ้นช่วยให้พรีเซ็ตสามารถใช้งานกับภาพถ่ายได้หลากหลายประเภท และนี่คือบทความที่จะช่วยให้คุณทำงานร่วมกับพรีเซ็ตของเราอย่างดีที่สุด
ศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งเป็นผลกระทบระหว่างความเร็วชัตเตอร์และทางยาวโฟกัสเพื่อเพิ่มโอกาสได้ภาพในเงื่อนไขของเลนส์ทางยาวโฟกัสชนิดต่างๆที่มากยิ่งขึ้น ทักษะดังกล่าวนี้จะช่วยให้ช่างภาพรู้ตัวอยู่เสมอว่าความเร็วชัตเตอร์คือ 1 ในตัวแปรที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมนอกเหนือจากตัวแปรหลักที่เรียนกันในการบันทึกภาพ
มุมมองที่มีความน่าสนใจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้รับชมภาพตัดสินใจว่าภาพนั้นดีหรือไม่ดี ทั้งเป็นเรื่องที่ว่ากันว่าเกิดขึ้นจากจินตนาการของผู้บันทึกอย่างเฉพาะตัวเท่านั้นไม่สามารถถ่ายทอดให้กันได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริงบทความนี้จะกล่าวถึงมุมมองหลักๆ 4 รูปแบบที่มีในภาพถ่ายครับ
ภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำมักมีปัญหาเดียวกันกับภาพถ่ายที่มีไดนามิกเรนจ์สูง กล่าวคือรายละเอียดโดยส่วนมากของภาพมักกระจุกกันเป็นกลุ่มในข้อมูลฮิสโตแกรมทำให้ช่วงการรับรู้ที่เหลือแทบไม่มีข้อมูลปรากฏอยู่เลย เราจึงต้องศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ภาพถ่ายออกมาดีอย่างที่ควรจะเป็น
ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น
การจัดการเรียนการสอน สำหรับ DozzDIY มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณภาพของเนื้อหาที่เราจัดทำ และบทความนี้คือที่มาที่ไปของการเรียบเรียงหลักสูตรสำหรับมือใหม่ที่จะเรียนได้ง่ายและสนุกมากขึ้นในปี 2025 เป็นต้นไป
ภาพถ่ายแบบ 16 บิต มีทางเลือกให้ช่างภาพเวลาตกแต่งแก้ไขอย่างมหาศาล แต่ 8 บิตเองก็มีข้อดีถ้าเรานำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บทความนี้จึงเป็นการพิสูจน์ความืดหยุ่นและคำแนะนำวิธีเลือกใช้งานที่ถูกต้อง