สร้างความน่าสนใจด้วย ‘กรอบภาพ’
กรอบภาพช่วยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่อาจดึงความสนใจของผู้รับชมให้เหลือแต่เพียงส่วนที่ต้องการนำเสนอซึ่งเนื้อหาส่วนนี้ได้กล่าวถึงความหมายและที่มา ไปจนถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งานแยกประเภทไว้อย่างชัดเจน
คลิปวิดีโอประกอบเนื้อหา


เนื้อหาสำหรับผู้สนับสนุน
สนับสนุนเราเพื่อเข้าชมทุกเนื้อหา
Facebook Page : DozzDIY

ความหมายของกรอบภาพ

กรอบภาพ หมายถึง ‘สิ่งที่เป็นขอบเขตภายในภาพ’ อาจจะหมายถึงพื้นที่ซึ่งทำให้การรับชมถูกจำกัดเอาไว้แค่ส่วนที่ผู้บันทึกต้องการให้ความสำคัญ ไม่ต่างอะไรกับการใช้เทคนิคอย่าง ‘เส้นนำสายตา’ หรือกฎโครงสร้างในการจัดองค์ประกอบแบบต่างๆ

ผู้รับชมภาพจะมองเพียงแค่สิ่งที่แสดงในกรอบสีแดงเท่านั้น

ทำไมเทคนิคนี้จึงมีความสำคัญ?

ความสำเร็จของการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่ายนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้รับชมหรือกลุ่มเป้าหมายเข้าใจสิ่งที่ช่างภาพต้องการสื่อ เทคนิคจึงเป็นอะไรที่หลากหลาย และไม่ใช่ทั้งหมดภายในภาพต้องน่าสนใจอย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา อาจจะหมายความเพียงแค่ ‘บางสิ่ง’ ก็ได้ถ้ามันเพียงพอ

เฟรมอาจจะถูกซ้อนด้วยเฟรมอีกทีก็ได้ และขนาดของเฟรมก็ส่งผลต่อมุมมองเรื่องราวในภาพด้วย

การใช้เทคนิคกรอบภาพที่ดีควรเป็นอย่างไร?

เฟรมภาพที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดจุดสนใจนั้นมีสองกรณี กรณีแรกเป็นเพียงเฟรมที่ไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเฟรมกับจุดสนใจและอีกแบบคือเฟรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับภาพ อาจจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นขอบเขตของวัตถุชิ้นนั้น เช่น ซุ้มประตูโบสถ์ที่มีแบบกำลังยืนอยู่ภายใน กรณีที่สองนั้นเฟรมช่วยให้เรื่องราวสมบูรณ์และเติมความหมายให้ภาพก่อให้เกิดมิติที่หลากหลายมากกว่า

ป่าไม้ซึ่งแสดงตัวเป็นกรอบการมองเห็นของภาพนี้เติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ของน้ำตกได้เป็นอย่างดี และช่วยให้ภาพมีความครบถ้วนว่าน้ำตกสายนี้ถูกโอบล้อมด้วยป่าที่กว้างใหญ่

วิธีการใช้เทคนิคกรอบภาพเพื่อสร้างความน่าสนใจ

สิ่งต่างๆรอบตัวนั้นสามารถนำมาใช้เป็นกรอบภาพได้หมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่สังเกตได้ง่ายหรือยาก อย่างไรก็ตามการแบ่งหมวดหมู่ของเรานั้นจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลักดังต่อไปนี้

1. สิ่งรอบตัว (ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น)

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ไปจนถึงพุ่มไม้สามารถใช้เป็นกรอบที่ช่วยบีบการมองเห็นเข้ามายังตัวแบบได้ทั้งหมด กรอบในลักษณะเรขาคณิตก็ให้ผลลัพธ์และสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ได้ดี หรือจะใช้แบบรูปร่างอิสระอย่างต้นไม้, กลุ่มเมฆ หรืออื่นๆ

ภาพถ่ายเขาช้างเผือกแบบ 2/3 กับท้องฟ้า แสดงให้เห็นถึงการเป็นส่วนใหญ่ของอัตราส่วนช่วยให้โฟกัสกับภูเขามากกว่าส่วนอื่น จากนั้นแสงที่เป็นครึ่งขวาช่วยขยายสิ่งที่มีในภูเขาลูกนี้อีกทีหนึ่ง

2. แสงและเงา

วันที่แสงมีทิศทางและรูปร่างอย่างชัดเจนสามารถใช้เทคนิคนี้ดึงความสนใจได้ง่ายและทรงพลังเช่นกัน พิจารณาอารมณ์ที่ได้จากแสงแต่ละแบบว่าช่วยส่งเสริมให้แบบมีความโดดเด่นหรือช่วยให้ภาพมีเรื่องราวที่สมบูรณ์ขึ้นหรือไม่

การถ่ายภาพแบบย้อนแสงแรงๆทำให้แสงเป็นตัวกำหนดการมองเห็นของภาพ

3. มุมมอง

มุมมองผู้บันทึกแต่ละคนทำให้การเล่าเรื่องแตกต่างออกไปแม้จะอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน เช่นภาพถ่ายบุคคลที่เข้าใกล้เพื่อแสดงขอบเขตบางส่วนของสรีระร่างกาย นอกจากนี้แล้วผลการมองเห็นของกล้องที่มาจากมุมรับภาพของอุปกรณ์ก็ยังช่วยให้ภาพมีความแตกต่างกันได้อีกมากมาย

มุมมองนั้นช่วยให้เราได้ภาพที่แตกต่างกันออกไปและสามารถเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นอยู่นี้ก็เป็นการใช้สิ่งที่อยู่ฉากหน้าเป็นเฟรมบีบการมองเห็นว่าใครกำลังทำอะไร

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า