ความแตกต่างของภาพจากกล้องฟิล์มและกล้องดิจิตอล
เรียนรู้ความแตกต่างด้วยหลักการทางเทคนิคซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบจากภาพของกล้อง 2 ระบบ

กล้องฟิล์มนั้นเกิดก่อนกล้องดิจิตอลจึงทำให้มีหลายอย่างที่กล้องฟิล์มไม่สามารถทำได้เทียบเท่ากล้องดิจิตอล ในขณะเดียวกันกล้องดิจิตอลก็มีหลายอย่างที่ไม่สามารถทำได้เหมือนกล้องฟิล์ม แม้ว่าสิ่งที่ทำได้แย่กว่าของกล้องดิจิตอลถูกชดเชยด้วยเทคโนโลยีแต่ก็มีช่างภาพกลุ่มหนึ่งกล่าวไว้ว่า ‘ยังไงก็ไม่เหมือน’

บทความนี้เราจะได้พูดถึงสิ่งที่แตกต่างโดยใช้ ‘ภาพถ่าย’ เป็นหัวข้อในการวิเคราะห์ว่า ‘แตกต่างหรือไม่เหมือนอย่างไร?’

1. รายละเอียดของภาพถ่าย

กล้องฟิล์มใช้ฟิล์มในการรับแสง และกล้องดิจิตอลใช้เซ็นเซอร์รูปภาพในการรับแสง ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบ สำหรับผู้เริ่มต้นให้นึกว่าทั้งฟิล์มและเซ็นเซอร์รูปภาพคือกระดาษ, แสงจากสิ่งแวดล้อมคือพู่กัน และเราใช้กล้องไม่ว่าจะเป็นกล้องฟิล์มหรือกล้องดิจิตอลคอยบังคับทิศทางรูปแบบของแสงให้ได้ภาพเป็นไปตามต้องการ

โครงสร้างฟิล์มกลับ (Negative Film) : 1. ฟิล์มเบส 2. ชั้นตัวยึด 3. ชั้นไวแสงสีแดง 4. ชั้นไวแสงสีเขียว 5. ชั้นกรองสีเหลือง 6. ชั้นไวแสงสีน้ำเงิน 7. ชั้นกรองแสง UV 8. ชั้นป้องกันรอยขีดข่วน | ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Photographic_film

‘RILAKKUMA GIRL’ โดยช่างภาพ : Grazie บันทึกด้วยกล้อง Hasselblad 501 CM กับฟิล์ม FujiColor Pro 400H
Source : https://www.lomography.co.th/

ทว่า ‘ฟิล์มเนกาทีฟ’ กับ ‘เซ็นเซอร์รูปภาพ’ มีความแตกต่างกัน เพราะแสงในธรรมชาติถูกแยกแยะออกเป็นแม่สีแสงดังที่เราได้เคยเรียนมาสมัยมัธยมในวิชาฟิสิกส์ ว่าด้วยระบบแม่สีแสงที่มีในธรรมชาติ 3 แม่สี ได้แก่ แดง, เขียว และน้ำเงิน ทำให้มีระบบตรงข้ามสำหรับงานพิมพ์ ได้แก่ ฟ้า, ม่วงมาเจนต้า, เหลือง และ ดำ ตามมา ซึ่งฟิล์มจะใช้ระบบตรงข้าม (เรียกว่า ฟิล์มกลับ หรือ เนกาทีฟฟิล์ม) อย่างละเท่าๆกันทั่วทั้งแผ่นทับกันเป็นชั้น แต่เซ็นเซอร์รูปภาพจะมีการเลือกรับแสงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ 1 พิกเซล ตามรูปแบบของเซ็นเซอร์เบเยอร์เท่านั้น

Bayer Filter เป็นการกรองแสงแบบ 1 สีต่อ 1 พิกเซล ทำให้รายละเอียดที่ได้จากภาพไม่แม่นยำ ต้องชดเชยด้วยอัลกอริทึ่มทางโปรแกรมเพื่อให้ภาพถ่ายสมบูรณ์ และปัจจัยทางด้านอื่นเข้ามาช่วย

คำถามคือ ‘รายละเอียดของภาพจะเป็นอย่างไร?’ กรณีของฟิล์ม แสงถูกกรองด้วยแผ่นที่มีแม่สีในระบบตรงข้ามครบทุกแม่สีส่งผลให้ภาพถ่ายได้รับการถ่ายทอดรายละเอียดอย่างถูกต้องทุกๆจุดของภาพ

แต่ในระบบดิจิตอลซึ่งต้องแปลความหมายของแสงให้เซ็นเซอร์รูปภาพเข้าใจด้วยฟิลเตอร์อาร์เรย์ ที่มีความแม่นยำเพียง 1 ใน 3 ของแต่ละจุด (เมื่อเป็นสีใดสีหนึ่ง จะไม่สามารถเป็นสีที่เหลืออีก 2 สีได้) รายละเอียดจึงขาดความสมบูรณ์ไปมากกว่าครึ่ง ทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใส่เข้าไปในกล้องเพื่อเกลี่ยหรือคาดเดาด้วยปัญญาประดิษฐ์ แน่นอนว่าในช่วงแรกยังไม่ดีมากนักแต่ก็ดีขึ้นมากในปัจจุบัน

ภาพจากกล้องดิจิตอลมีความใสมากกว่าก็จริง แต่เมื่อซูมดูพบว่ามีรายละเอียดที่เนียนและเป็นวุ้น ไม่ถี่เหมือนกับภาพฟิล์มอันเนื่องมาจากฟิลเตอร์เบเยอร์นั่นเอง

สรุปได้ว่าภาพถ่ายฟิล์มมีรายละเอียดที่สมจริงมากกว่าดิจิตอลเพราะเก็บรายละเอียดจริงในทุกจุดแบบไม่ต้องใช้หน่วยประมวลประมวลผลมาคาดเดาในสิ่งที่ผิดพลาดไป ถึงอย่างนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ต้องกล่าวถึงอีก (ซึ่งจะมีในบทความถัดไป)

2. ช่วงกว้างการรับแสง

หมายถึง ความสามารถในการไล่รายละเอียดจากส่วนที่มืดท่ีสุดไปยังส่วนที่สว่างที่สุดของภาพ กรณีของฟิล์มซึ่งแต่ก่อนอาจจะทำได้มากกว่ากล้องถ่ายภาพดิจิตอลแต่ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพดิจิตอลก็สามารถทำได้เทียบเท่าไปจนถึงล้ำหน้ากว่าฟิล์มมากแล้ว

ตัวอย่างภาพถ่ายย้อนแสงแสดงถึงความสามารถในการบันทึกรายละเอียดของกล้องที่น้อยกว่าสายตามนุษย์ อันเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างปริมาณแสงของแหล่งกำเนิดสูงมากเกินไปเมื่อเทียบกับวัตถุ

3. สีและน้ำหนักภาพ

สำหรับฟิล์ม เทคโนโลยีการออกแบบในแต่ละซีรี่ย์มีผลให้สีและน้ำหนักมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน ถ้าเปลี่ยนม้วนฟิล์มก็สามารถทำให้ภาพถ่ายเปลี่ยนลักษณะของสีและน้ำหนักส่งผลต่ออารมณ์และความเหมาะสมของประเภทภาพถ่ายได้ เช่น ฟิล์มสำหรับภาพถ่ายบุคคล หรือ ฟิล์มสำหรับภาพถ่ายภูมิทัศน์ แต่ถ้าเป็นภาพดิจิตอลจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอล จะมีความกว้างของข้อมูลบรรจุอยู่ภายในรอวันที่ถูกนำไปประมวลและเลือกทิศทางของสีและน้ำหนักภาพในภายหลังได้มากมาย

ตัวอย่างความเป็นไปได้ในการนำ ’ภาพถ่ายดิจิตอล’ มาตกแต่งให้เหมือนฟิล์มคอลเลกชัน Kodak Ektachrome E100G มากถึง 15 รูปแบบ

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นปัจจัยบางข้อที่สามารถสังเกตได้ง่ายเมื่อมองภาพถ่ายดิจิตอลหรือภาพถ่ายฟิล์มซึ่งอุปกรณ์บันทึกภาพทั้งสองประเภทมีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน ขออย่าได้เปรียบเทียบว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดีกว่ากัน เพราะทุกอย่างต่างมีข้อดีข้อเสียครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า