เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ 'คู่สีตรงข้าม' (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คู่สีตรงข้าม (Complementary Colors) คืออะไร?

คู่สีตรงข้าม คือ คู่ของสีที่อยู่ตรงข้ามฝั่งกันจากวงล้อสี ซึ่งวงล้อสีที่เราใช้กันในวงการศิลปะเป็นวงล้อสีที่มาจากสามแม่สีได้แก่ แดง-เหลือง-น้ำเงิน (Traditional Color Wheel) แม่สีเหล่านี้เรียกว่าสีในระดับขั้นแรกหรือปฐมภูมิ (Primary Colors) นำไปผสมซึ่งกันและกันจะได้สีขั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Colors) และต่างก็ผสมซึ่งกันและกันอีกครั้งจะได้สีขั้นที่สามหรือสีตติยภูมิ (Tertiary Colors)

วงล้อสีอีกรูปแบบหนึ่งเป็นรูปแบบวงล้อสีสมัยใหม่ (Modern Color Wheel) หรือวงล้อสีที่เกิดขึ้นจากระบบแม่สีแสง แดง-เขียว-น้ำเงิน (RGB Color Wheel) เข้าใจง่ายๆว่าเป็นการรวมกันของแสงซึ่งท้ายที่สุดจะได้สีขาว ทั้งสองวงล้อจะมีคู่สีที่ไม่เหมือนกัน อย่างของ RYB Color Wheel เลือกสีแดง คู่สีจะได้สีเขียว แต่หากเป็นของ RGB เลือกสีแดงจะได้คู่สีฟ้าแทน

การใช้งานคู่สีตรงข้ามในทางปฏิบัติ

ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถหาคู่สีที่เป๊ะขนาดนั้นได้ ยิ่งเป็นการถ่ายภาพด้วยแล้วตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ก็มีอยู่เยอะ ข้ออนุโลมเล็กๆน้อยๆอย่างการเลือกสีที่เพี้ยนไปนิดหน่อยไม่นับว่าเป็นปัญหามากและยังคงความรุนแรงในแบบของคู่สีตรงข้ามได้อยู่

ตัวอย่างการเลือกใช้คู่สีตรงข้ามในการออกแบบเสื้อผ้า | แหล่งที่มา

ผลกระทบเชิงลบของคู่สีตรงข้ามและการหลีกเลี่ยง

การใช้งานคู่สีตรงข้ามในภาพถ่ายทำให้เกิดแรงกระแทกทางความรู้สึกอยู่สูง มันช่วยให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจได้อย่างมาก แต่ข้อเสียก็คือภาพถ่ายถูกละความสนใจและเป็นที่จดจำได้ไม่นาน อีกทั้งความไม่สบายตาจากคู่สีดังกล่าวมีอยู่สูง มีวิธีหลีกเลี่ยงอยู่ว่าให้เลือกใช้สีใดสีหนึ่งในคู่สีด้วยมิติความสว่างหรือมิติความอิ่มตัวที่ลดค่าลงมา เพียงเท่านี้การใช้งานคู่สีตรงข้ามจะดูสบายตาและผ่อนคลายมากขึ้นได้

จานสีตัวอย่างของคู่สีแบบตรงข้าม

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
โหมดถ่ายภาพโหมดใด..ที่มือใหม่ใช้งานได้ง่ายที่สุด?

การจัดการเรียนการสอน สำหรับ DozzDIY มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณภาพของเนื้อหาที่เราจัดทำ และบทความนี้คือที่มาที่ไปของการเรียบเรียงหลักสูตรสำหรับมือใหม่ที่จะเรียนได้ง่ายและสนุกมากขึ้นในปี 2025 เป็นต้นไป

ความแตกต่างระหว่างภาพ 8 บิต และ 16 บิต

ภาพถ่ายแบบ 16 บิต มีทางเลือกให้ช่างภาพเวลาตกแต่งแก้ไขอย่างมหาศาล แต่ 8 บิตเองก็มีข้อดีถ้าเรานำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บทความนี้จึงเป็นการพิสูจน์ความืดหยุ่นและคำแนะนำวิธีเลือกใช้งานที่ถูกต้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า