ปรับขนาดและความคมชัดให้กับภาพอย่างถูกต้อง
การนำภาพถ่ายดิจิตอลไปเผยแพร่ตามแหล่งต่างๆที่มีข้อกำหนดไม่เหมือนกัน ทักษะความรู้ในการปรับขนาดภาพ (ที่หมายความถึงการย่อและขยาย) และการปรับความคมชัดคือสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะไม่ทำให้ทุกอย่างที่เราตกแต่งมาสูญเปล่า

เพราะต่อให้ช่างภาพสามารถตกแต่งภาพได้อย่างสวยงาม แต่เมื่อนำไปอัปโหลดเพื่อรับชมบนสื่อกลับพบว่ารายละเอียดถูกบีบอัดหรือนำมาขยายจนเห็นกรอบพิกเซลสี่เหลี่ยมแข็งๆ ทำให้สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดถูกลดทอนคุณภาพลงไปอย่างน่าเสียดาย

บทความนี้เราจึงโฟกัสกันอยู่ 2 ทักษะความรู้เมื่อต้องนำภาพถ่ายไปเสนอบนสื่อต่างๆ

เราต้องรู้อะไรบ้างก่อนนำภาพไปเสนอยังแหล่งต่างๆ?
1. ข้อกำหนดของแหล่งเผยแพร่

คล้ายๆกับการนำสินค้าไปขายที่ตลาด เราก็ต้องยอมรับกฎข้อบังคับทั้งหมดของเจ้าของตลาด ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องที่ละเว้นได้อย่างแน่นอน เช่น การอัปโหลดภาพถ่ายบนสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ภาพถ่ายของเราจะถูกลดทอนคุณภาพลงถึง 90% ทุกครั้ง (สามารถพิสูจน์ได้โดยการเซฟภาพตัวเองกลับมาเพื่อดูขนาด) ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรเราก็ไม่มีทางอัปโหลดภาพถ่ายคุณภาพสูงสุดแล้วหวังว่าจะเห็นอะไรแบบนั้นบนแหล่งเผยแพร่ดังกล่าวได้เลย

ประโยชน์ของการรับรู้ข้อกำหนดนี้ ทำให้เราต้องอัปโหลดภาพด้วยคุณภาพสูงสุดทุกครั้ง และไม่นำภาพที่ดาวน์โหลดมาจากสื่อดังกล่าวอัปโหลดขึ้นไปใหม่ เพราะภาพจะสูญเสียรายละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆจนสังเกตเห็นได้ในที่สุด

2. การปรับขนาดภาพ

การปรับขนาดภาพแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่การลดขนาดภาพให้เล็กลงและการขยายขนาดภาพให้ใหญ่ขึ้น อธิบายทีละส่วนได้ดังนี้

2.1 การลดขนาดภาพให้เล็กลง

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าเรามีภาพขนาด 3×3 พิกเซลเป็นตารางที่ประกอบด้วยสีสันดังภาพ แล้วต้องการย่อภาพให้ภาพมีขนาด 2×2 พิกเซล ถามว่าโปรแกรมรู้ได้อย่างไรว่าควรนำพิกเซลใดออกไป แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นฟังก์ชันและปัญญาประดิษฐ์ที่โปรแกรมจะต้องคำนวนเอาไว้ เช่น สีสันที่ดูเหมือนไม่จำเป็นในภาพนั้น หรือจะคำนวนอย่างไรให้รายละเอียดเกลี่ยกันจนดูเนียนและเข้มข้นขึ้น อย่างไรก็ตามการย่อขนาดภาพไม่ค่อยเป็นปัญหามากนักถ้าเรารู้ข้อกำหนดของแหล่งเผยแพร่อยู่แล้ว

2.2 การขยายขนาดภาพให้ใหญ่ขึ้น

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าเรามีภาพขนาด 3×3 พิกเซลเป็นตารางที่ประกอบด้วยสีสันดังภาพ แล้วต้องการย่อภาพให้ภาพมีขนาด 4×4 พิกเซล ลองคิดกันดูว่าโปรแกรมจะเอาพิกเซลใหม่ที่ไม่เคยมีเลยในภาพใส่ลงไปแล้วภาพจะใหญ่ขึ้นโดยรู้สึกว่าเบลอน้อยลงได้อย่างไร การขยายขนาดภาพมากๆมักเป็นปัญหาที่จะทำให้ภาพเบลอได้มากที่สุดซึ่งในปัจจุบันมีชุดฟังก์ชันและปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากในกระบวนการลักษณะดังกล่าว (เรียกว่า Image Interpolation) ในโปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

หมายเหตุ : การปรับขนาดภาพให้ถูกต้องเพื่อการรับชมบนจอที่มีความละเอียดแตกต่างกันให้อ้างอิงจากสถิติการรับชมบนหน้าจอของผู้ใช้ทั่วโลก เช่น การอัปโหลดภาพบน Facebook ด้านยาวที่สุดของภาพ (Long Edge) ควรเป็น 2048px เพราะครอบคลุมการมองเห็นความละเอียดหน้าจอส่วนใหญ่ที่ใช้กันในการเข้าถึงแอปพลิเคชันดังกล่าวนั่นเองครับ อย่าเอาความเคยชินของอุปกรณ์ตัวเองเป็นมาตรฐาน ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุการณ์ที่ว่าทำไมดูบนจอสมาร์ทโฟนของตัวเองก็คมชัดดีแต่ไปดูในจอมอนิเตอร์ภาพกลับแตกละเอียด

3. การปรับความคมชัด

ภาพจะคมชัดหรือไม่เบื้องต้นมักขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์ถ่ายภาพที่ใช้ แต่ถ้าไม่คมมาแต่แรกเราก็สามารถปรับให้ภาพคมขึ้นได้ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าความคมชัด คือ ‘ความเปรียบต่างชนิดหนึ่ง’ ยกตัวอย่างพิกเซลที่เรียงแถวสีเทาขาวและเทาดำเทียบกันสองภาพดังนี้

แทบไม่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาก็บอกได้ทันทีว่าภาพเปรียบเทียบแถบสีพิกเซลทางด้านขวามองเห็นได้ง่ายกว่า เหตุผลเพราะแถวเทาขาวมีความขาวเพิ่มขึ้นและแถบเทาดำมีความดำเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาเปรียบกันจึงดูต่างกัน เราจึงเรียกว่า ‘ความเปรียบต่าง’ นั่นเองครับ

ภาพถ่ายภาพหนึ่งที่เราเห็นกันอยู่ประกอบด้วยพิกเซลขนาดเล็กมหาศาล ความคมชัดก็ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ แต่มันจะเป็นการเพิ่มความเปรียบต่างด้วยเงื่อนไขว่าเพิ่มหรือลดในบางตำแหน่งของภาพเท่านั้นเอง คำว่า ‘เงื่อนไข’ เราปรับแก้ไขได้ในสเกลที่มีในกล่องเครื่องมือ Detail แถบ Sharpening อธิบายแค่ 2 สเกลพอ มีดังต่อไปนี้

ความเข้มข้นของการปรับคม (Amount) : อย่างที่บอกไปว่าความคมชัดคือความเปรียบต่างที่มีเงื่อนไขประเภทหนึ่ง โปรแกรมก็กำหนดไว้แล้วว่าควรเป็นส่วนใดบ้าง สเกลนี้จึงทำให้ภาพดูคมและกระด้างมากขึ้นเมื่อเลื่อนสเกลไปทางขวา และเมื่อสเกลนี้ทำงาน สเกลย่อยของส่วนการปรับคมนี้ก็จะเริ่มทำงานเพื่อควบคุมความคมครั้งนี้

รัศมี (Radius) : ก่อนจะเข้าใจความหมาย ให้นึกถึงเส้นตรงเส้นหนึ่งที่ถูกซูมเข้ามาจนเห็นเป็นแถบพิกเซล ภาพแรกมีขนาดเล็กเลยกำหนดให้มีความหนา 1 พิกเซลพอ และอีกภาพหนึ่งก็เป็นภาพเดียวกันแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เส้นเดิมนั้นประกอบไปด้วยพิกเซลที่หนามากขึ้น เราจึงเข้าใจได้ว่า ‘ยิ่งภาพมีขนาดใหญ่ ข้อกำหนดในการระบุความหนาของขอบก็ต้องมากขึ้น’ ไม่เช่นนั้นแล้วถ้ากำหนดค่าดังกล่าวนี้ไว้น้อยเกินไปผลลัพธ์ของการปรับความคมชัดจะแสดงได้ไม่เต็มที่ ค่า ‘รัศมี’ จึงมีมาเพื่อควบคุมส่วนนี้

ขออธิบายพอหอมปากหอมคอแล้วกันนะครับว่าการปรับขนาดและความคมชัดนั้นสำคัญพอๆกับการตกแต่งภาพถ่ายเลยล่ะ ซึ่งเนื้อหาที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นนี้ก็มีสอนในหลักสูตรของ DozzDIY หรือสามารถติดตามได้ในบทความอื่นๆที่มีในเว็บหรือเพจทางการต่อไปครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า