ความรู้สึกหลากหลายที่ได้จากเส้นแกนนอนนั้นมักเป็นไปในเชิงบวกไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกมั่นคง, ผ่อนคลาย, น่าเชื่อถือ, และไร้ซึ่งการเวลาราวกับว่ามันไม่เคยสิ้นสุด ซึ่งในตอนนี้เราจะได้เจาะลึกกันถึงการประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านี้ในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายกัน
เมื่อมองไปรอบตัวพบว่ามีวัตถุที่ทำตัวเหมือนเป็นเส้นแกนนอน ทั้งเป็นเส้นแกนนอนที่เป็นเส้นแกนนอนจริงๆหรือเส้นแกนนอนแบบสมมติอยู่มากมาย อาทิ สายน้ำ, ราวบันได, รางรถไฟ, พุ่มไม้ หรือแม้แต่วัตถุแกนตั้งที่เรียงตัวต่อเนื่องแบบแกนนอนก็ยังนับว่าเป็นแกนนอนได้เช่นกัน (เส้นแกนนอนโดยนัย) อย่าพยายามทำอะไรที่ผิดไปจากธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งเส้นแกนนอนเกินไปนักเพราะภาพจะแข็งและขาดความสมจริง เพราะในความสมจริงเราไม่ได้พบอะไรที่เป็นอุดมคติแบบ 100% ในทุกครั้งอยู่แล้ว
เส้นแกนนอนนั้นดูเหมือนจะทำให้พฤติกรรมการอ่านของมุนษย์ที่เลื่อนจากซ้ายไปขวามีความลื่นไหลและปลอดภัยกว่าจะลากสายตาจากบนลงล่าง ซึ่งการเคลื่อนที่โดยธรรมชาติจากเส้นแกนตั้งบนลงล่างคล้ายกับการตกลงจากอะไรสักอย่าง เส้นแกนนอนจึงไม่ได้มีความหมายถึงระดับที่สูงหรือต่ำกว่า และต่อให้เป็นเส้นแกนนอนที่บางมากๆจนดูเหมือนเปราะบางก็ยังคงให้ความรู้สึกที่มั่นคงมากกว่าอยู่ดี
มี 3 วิธีการหลักที่เราจะใช้เส้นแกนนอนเพื่อทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งที่เป็นองค์ประกอบเพื่อทำให้ภาพสมบูรณ์หรือแม้แต่เป็นจุดสนใจของเส้นเหล่านี้เสียเอง
นึกถึงการใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงบันทึกภาพบุคคลในทุ่งดอกไม้ซึ่งความเป็นจริงแล้วถูกปลูกเป็นแถวอย่างเท่าๆกัน แต่สิ่งที่ปรากฏในภาพนั้นดอกไม้แถวหน้าจะหนาและใหญ่มากที่สุดซึ่งห่างไกลออกไปจะมีขนาดเล็กลงและเบลอเหมือนๆกัน ทำให้ดอกไม้แถวกลางที่มีบุคคลในโฟกัสมีความคมชัดและถูกสังเกตได้ง่าย
กรณีนี้จะกล่าวถึงเส้นแกนนอนที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากเหมือนกรณีแรก เช่นการถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างทางยาวโฟกัสต่ำหรือการถ่ายภาพระยะไกล ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งระดับของทุ่งนาทีมีชาวนำอยู่ในแถวที่แตกต่างกัน หรือการเรียงตัวเส้นแกนนอนในชั้นที่ห่างไกลออกไปเพื่อบอกว่ายังมีวัตถุอื่นๆหรือภาพมีความลึกมากกว่านั้นอีก
ตัวอย่างนี้พบได้ชัดเจนในกฏสามส่วนซึ่งเราเลือกที่จะให้ความน่าสนใจมีพื้นที่เป็น 2 ใน 3 ของภาพ เช่น ท้องฟ้าที่มีเมฆลักษณะแปลกตากับพื้นล่างที่ราบเรียบและดูน่าสนใจน้อยกว่า
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่ต้องทำความเข้าใจได้แก่การถือกล้องให้ตรงกับระนาบจริงๆ กับวิธีการวางเฟรมที่ให้ความหมายแตกต่างกันออกไป
สิ่งสำคัญเพื่อภาพถ่ายที่ตรงกับระนาบคือการถือกล้องที่ได้ระนาบ บ่อยครั้งพบว่าช่างภาพมือใหม่หรือแม้แต่มืออาชีพเองไม่สามารถถือกล้องให้ได้ระนาบจากช่องมองที่ไม่มีตัวช่วยใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นการถ่ายภาพแบบเอียงกล้องแนวตั้งยังเพิ่มโอกาสได้ภาพเอียงมากกว่าการถ่ายภาพแนวนอน สำคัญคือเปิดตัวเส้นแบ่งระดับระนาบของภาพเอาไว้ช่วยอยู่เสมอเวลาเล็งเมื่อต้องจัดเฟรมภาพ
เมื่อได้เส้นแกนนอนแล้ว มีการตัดสินใจอยู่สองอย่างคือจะถ่ายภาพในกรอบแบบแนวนอนหรือแนวตั้งเพราะต่างก้ให้อารมณ์ภาพที่แตกต่างกันไป ภาพถ่ายแนวนอนจะให้ความรู้สึกว่าเส้นแกนนอนนั้นยาวมากขึ้นแต่ภาพแนวตั้งจะทำให้รู้สึกถึงจำนวนเส้นแกนนอนที่มากแต่ก็สั้นกว่า
ทุกครั้งที่กำลังฝึกฝนหรือต้องใช้ประโยชน์จากเส้นแกนนอนให้นึกเสมอว่ารูปแบบของเส้นแกนนอนลักษณะใดส่งผลทางจิตวิทยาอย่างไรกับภาพ เพราะถ้าเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องจะช่วยส่งเสริมความน่าสนใจได้มากยิ่งขึ้น มากกว่าปล่อยประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้ไปเปล่าๆ หรืออาจจะกลายเป็นการทำให้ภาพลดความน่าสนใจลงเสียเอง