ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ต่างๆ
คำแนะนำในการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีเพียงพอต่อการบันทึกสิ่งต่างๆที่กำลังเคลื่อนไหวให้นิ่งสนิทโดยตัดสิ่งรบกวนอื่นออกไป นอกเหนือจากกฏความเร็วชัตเตอร์สองเท่า

ความเข้าใจเกี่ยวกับการเอาชนะภาวะสั่นไหวที่อาจเกิดขึ้นกับภาพถ่ายถูกจำแนกออกเป็น ‘ปัจจัยภายนอก‘ และ ‘ปัจจัยภายใน‘ ค่าประมาณการด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าแบบส่วนกลับของทางยาวโฟกัสจึงแก้ปัญหาได้ในบางกรณี อย่างไรก็ตามมีค่าที่สรุปเอาไว้แล้วซึ่งช่างภาพนำไปพิจารณาใช้งานได้กับสถานการณ์ต่างๆดังต่อไปนี้

ความเร็วชัตเตอร์โดยประมาณต่อสถานการณ์ต่างๆ

สมมติว่าเรากำลังใช้งานเลนส์ทางยาวโฟกัส 50mm อย่าง Sigma 50mm f/1.4 DG HSM Art บนกล้องเซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรม (Crop Factor = 1) ที่ค่าความไวแสงต่ำสุด นี่คือแนวทางการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่อสถานการณ์ต่างๆ

นกที่กำลังบนอยู่บนท้องฟ้า : ประมาณเอาไว้ที่ 10 เท่า นั่นคือ 1/500 ไปจนถึง 1/1000 วินาที

การถ่ายภาพกีฬาประเภทเคลื่อนไหวทั่วไป เช่น ฟุตบอล : 1/500 วินาที

การบันทึกภาพเด็กหรือรถที่กำลังวิ่งโดยอาจจะมีการเบลอเพียงเล็กน้อย : 1/250 วินาที

ผู้คนที่กำลังเต้นรำหรือกระโดด : 1/125 วินาที

ภาพถ่ายบุคคลที่โพสต์ท่านิ่งสนิท : 1/75 วินาที

การถือกล้องที่นิ่งสนิทกับภาพถ่ายทั่วไป : 1/50 วินาที (แนะนำว่าควรฝึกการถือกล้องทั้งแนวนอนและแนวตั้งให้ดีเสียก่อน)

ความเร็วชัตเตอร์ที่ควรเริ่มใช้ขาตั้งกล้อง : 1/30 วินาทีควรเริ่มใช้ได้แล้ว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความพร้อมของช่างภาพด้วย

ภาพถ่ายน้ำตกที่พริ้วไหว : 1-3 วินาที

แสดงความเคลื่อนไหวของน้ำหรือผู้คนเพียงเล็กน้อย : 1/10 วินาที ไปจนถึง 1/20 วินาที

ภาพดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน : อยู่ในช่วง 20-30 วินาที (ขาตั้ง) และระมัดระวังการเคลื่อนไหวของจุดดาวที่เกิน 5 พิกเซลในภาพซึ่งจะทำให้เกิดการเบลอ

การลากแสงของดาวให้เป็นทางยาว : 10 นาทีขึ้นไป

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า