ศึกษาความร้อนและเย็นของสีที่ส่งผลความสว่างที่เกิดขึ้นในภาพถ่ายซึ่งนำไปสู่เทคนิคการบันทึกและตกแต่งภาพถ่ายได้น่าสนใจมากขึ้น

อุณหภูมินั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดตั้งแต่เช้าจรดเย็น เราเริ่มรู้สึกได้ของการตื่นตัวเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า และชัดเจนมากที่สุดเมื่อยืนอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของแสงกลางวัน อุณหภูมิส่งผลต่อการมองเห็นและสภาพอารมณ์อย่างผสมกลมกลืน สิ่งที่เราเห็นและรู้สึกอยู่อย่างตลอดชีวิตนั้นกลายเป็นความเคยชินว่าหากเราจุดไฟในที่มืดก็จะเริ่มมองเห็นสิ่งที่หลบซ่อน เรารู้สึกว่าความอบอุ่นสว่างไสวช่วยขจัดความกลัวที่เย็นยะเยือก ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกัน

ทบทวนความรู้เรื่องวงล้อสี และ วรรณะสี

วงล้อสีเกิดจากแม่สีวัตถุธาตุนำมาผสมซึ่งกันและกัน 3 ครั้ง จนได้สีออกมาทั้งหมด 12 สี โดยที่สีระดับปฐมภูมิ (Primary Colors) ได้แก่ แดง, เหลือง และ น้ำเงิน สีระดับทุติยภูมิ (Secondary Colors) ได้แก่ ม่วง, ส้ม และ เขียว และสีในระดับตติยภูมิ (Tertiary Colors) ได้แก่ ม่วงแดง, ม่วงน้ำเงิน, ส้มแดง, ส้มเหลือง, เขียวน้ำเงิน และ เขียวเหลือง ในที่สุด

ต่อมาเราแบ่งสีออกเป็นสองกลุ่มได้แก่กลุ่มสีที่มีความร้อน (สีวรรณะร้อน) และกลุ่มสีที่มีความเย็น (สีวรรณะเย็น) โดยเส้นคั่นกลางระหว่างการแบ่งวรรณะนั้นทับไปที่สีม่วงและเหลืองหมายความว่าสีทั้งสองเป็นได้ทั้งสองวรรณะขึ้นอยู่ว่าภาพโดยส่วนใหญ่มีสีวรรณะใดเป็นส่วนมาก

ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิสีกับความสว่าง

ลืมเรื่องวงล้อสีอะไรนั่นไปก่อน คราวนี้เราลองมาดูภาพตารางสีอย่างง่ายสักกลุ่มหนึ่ง ทำการดูดความอิ่มตัวของสีทุกสีในตารางออกไปจนหมด พบว่าบางสีเป็นสีเทาที่ค่อนไปทางขาว และบางสีกลายเป็นสีเทาที่มืดกว่า ซึ่งทำให้พอเข้าใจได้ว่าหากเราแปลงภาพถ่ายเป็นภาพขาวดำจะมีส่วนใดสว่างหรือมืดอยู่บ้าง

การที่สีวรรณะร้อนโดยส่วนใหญ่มีความสว่างกว่าสีวรรณะเย็นเมื่อถูกดูดสีออกไปหมดนั้น เราสามารถนำความรู้นี้มาประยุกต์การบันทึกภาพเพื่อช่วยให้เก็บรายละเอียดได้มากขึ้น (ด้วยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเบื้องต้น) กรณีที่ต้องการหลีกเลี่ยงค่าความไวแสงที่มากขึ้น หรือใช้สมดุลแสงขาวในการเคลื่อนไปในทางร้อนหรือเย็นเพื่อออกแบบภาพถ่ายให้รู้สึกว่าสว่างหรือมืดได้ด้วย

ในการออกแบบสีของฟิล์มพบว่าการทำให้ภาพเย็นลงส่งผลให้รู้สึกว่าภาพมืดลงด้วย

อีกนัยหนึ่งภาพถ่ายประเภทดูโอโทนที่มีสีเจือลงไปในส่วนสว่างและส่วนเงาของภาพแบบสองสีนั้น หากเราใช้สีร้อนเจือลงไปในส่วนสว่างและสีเย็นเจือลงไปในส่วนมืด เราจะรู้สึกว่าภาพนั้นดูไม่น่าหงุดหงิดใจเท่าการนำเอาสีเย็นเจือลงไปในส่วนสว่างและสีร้อนเจือลงไปในส่วนมืด ตอบได้ไหมครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า