ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์และทางยาวโฟกัส
ศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งเป็นผลกระทบระหว่างความเร็วชัตเตอร์และทางยาวโฟกัสเพื่อเพิ่มโอกาสได้ภาพในเงื่อนไขของเลนส์ทางยาวโฟกัสชนิดต่างๆที่มากยิ่งขึ้น ทักษะดังกล่าวนี้จะช่วยให้ช่างภาพรู้ตัวอยู่เสมอว่าความเร็วชัตเตอร์คือ 1 ในตัวแปรที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมนอกเหนือจากตัวแปรหลักที่เรียนกันในการบันทึกภาพ

การที่เราคอยจับตาดูการขึ้นลงของความเร็วชัตเตอร์ในโหมดกึ่งอัตโนมัติอย่างโหมด Aperture Priority (A หรือ Av) หรือโหมดที่มีการล็อกค่าความเร็วชัตเตอร์โดยตรงอย่าง Shutter Speed (S) พบว่าความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพให้ทุกอย่างนิ่งสนิท, เคลื่อนไหวนิดๆ ไปจนถึงเบลอจนเอาสาระอะไรไม่ได้ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตามสภาพแสง

จนกระทั่งความจดจ่อนี้ทำให้เราหลงลืมไปว่าตัวแปรแฝงอีกอย่างหนึ่งในการทำให้ภาพไม่คมชัดอย่างที่ควรจะเป็น คือ ‘ทางยาวโฟกัส’

ทางยาวโฟกัสกับการสั่นไหวของภาพ

ทางยาวโฟกัสของเลนส์หมายถึงระยะของจุดที่แสงมาบรรจบกันภายในเลนส์ไปจนถึงจุดเซ็นเซอร์รูปภาพ ทางยาวโฟกัสเลนส์ต่ำองศาการรับภาพจะกว้าง และทางยาวโฟกัสเลนส์สูงองศาการรับภาพจะแคบ (เราให้เรารู้สึกว่าภาพถูกซูมเข้ามา)

แล้วมันเกี่ยวกับการสั่นไหวได้อย่างไร? อธิบายง่ายๆโดยภาพสองภาพ ภาพแรกเกิดจากเลนส์ทางยาวโฟกัสต่ำค่าหนึ่งซึ่งมีมุมรับภาพกว้าง วัดจากจุดซ้ายสุดไปยังขวาสุดของเฟรมภาพยาวเท่ากับภาพจริงเป็นระยะ 20 เมตร และอีกภาพหนึ่งเกิดจากเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงที่ให้มุมรับภาพแคบ วัดระยะจากจุดซ้ายสุดของเฟรมภาพยาวเพียง 2 เมตรในภาพจริง

ถ้าวัตถุในภาพขยับเพียง 1 เมตร ในภาพแรกจะเคลื่อนที่ไปเพียง 5% ของระยะในภาพทั้งหมด ซึ่งเมื่อเทียบกับภาพจากเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงจะเคลื่อนที่ไปมากถึง 50% ของพื้นที่ในภาพ

สรุปง่ายๆได้ว่ายิ่งเลนส์ที่ใช้มีทางยาวโฟกัสสูงขึ้นมุมรับภาพยิ่งแคบลง การเคลื่อนไหวหรือสั่นไหวเพียงเล็กน้อยจึงมีผลกระทบมากยิ่งขึ้น

ทางยาวโฟกัสกับความเร็วชัตเตอร์

คำถามต่อมาก็คือ ‘เราควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่กับเลนส์ทางยาวโฟกัสต่างๆ?’ ขั้นตอนแรกให้ดูว่ากล้องที่ใช้อยู่นั้นมีขนาดเซ็นเซอร์เป็นเท่าใด แล้วแปลงค่าของเซ็นเซอร์โดยอ้างอิงจากเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมมีค่าเท่ากับ 1 และมากขึ้นเมื่อเซ็นเซอร์มีขนาดเล็กลงด้วยค่า Crop Factor หรือค่าคงที่ขนาดกรอบภาพ

เช่น Medium Format = 0.64 | Full Frame = 1 | APS-H = 1.3 | APS-C = 1.5 | 4/3″ = 2 เป็นต้น

ต่อมาให้นำค่า Crop Factor ดังกล่าวนั้นคูณด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้ ความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถใช้เพื่อบันทึกภาพให้นิ่งได้โดยประมาณ คือ 1/(2เท่าของค่าที่ได้) มีหน่วยเป็นวินาที

มุมรับภาพที่มีผลจากทางยาวโฟกัสก็จะครอปภาพออกอีกทีหนึ่ง

ยกตัวอย่าง เช่น กล้องที่ใช้คือ Sigma FP กับเลนส์ Sigma 45mm f/2.8 DG DN Contemporary ซึ่งตัวกล้องใช้เซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรม (เท่ากับ 1) และเลนส์ทางยาวโฟกัส 45มม. ความเร็วชัตเตอร์ที่จะเอาชนะการสั่นไหวโดยประมาณคือ 1/(2×45) = 1/90 วินาที

ประโยชน์ของระบบกันสั่น

ระบบกันสั่นของกล้องนับเป็นตัวช่วยที่ทำให้ช่างภาพไม่ต้องกังวลปัจจัยความสั่นไหวทั้งภายนอกและจากตัวช่างภาพเองมากเกินไปนัก ควรศึกษาข้อมูลจากค่ายผู้ผลิตให้ดีว่าระบบนี้จะช่วยได้ขนาดไหน เป็นแบบกันสั่นที่ตัวกล้องหรือตัวเลนส์

ยกตัวอย่าง เช่น ระบบกันสั่นที่ช่วยลดโอกาสสั่นไหวลง 2 สต็อป หมายความว่าถ้าช่างภาพใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 200 มม ก็มีความเป็นได้ว่า ที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/50 วินาที ภาพที่ได้จะยังคงนิ่งสนิท (200 > 100 > 50 นับไปทีละ 2 เท่า) หมายถึงโอกาสที่มากขึ้นในการได้ภาพโดยไม่ต้องดันค่าความไวแสงเพื่อเพิ่มน้อยส์ให้กับภาพโดยไม่จำเป็น

การถ่ายภาพโดยเอา ‘ความเร็วชัตเตอร์’ มาเป็นประเด็นหลัก จึงไม่ใช่การจบอยู่แค่ว่าความเร็วชัตเตอร์ในขณะนั้นคือค่าที่แท้จริงในการบันทึกภาพ เพราะยังมีอะไรๆซ่อนอยู่ในค่าเหล่านี้อีกมาก

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า