การแก้ไขภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำเกินไป
ภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำมักมีปัญหาเดียวกันกับภาพถ่ายที่มีไดนามิกเรนจ์สูง กล่าวคือรายละเอียดโดยส่วนมากของภาพมักกระจุกกันเป็นกลุ่มในข้อมูลฮิสโตแกรมทำให้ช่วงการรับรู้ที่เหลือแทบไม่มีข้อมูลปรากฏอยู่เลย เราจึงต้องศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ภาพถ่ายออกมาดีอย่างที่ควรจะเป็น
ลักษณะของความเปรียบต่างในกราฟฮิสโตแกรม

ลักษณะกราฟฮิสโตแกรมภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำและสูง แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะดังต่อไปนี้

ความเปรียบต่างต่ำ (Low-Contrast Histogram)

ข้อมูลปรากฏขึ้นลักษณะระฆังคว่ำขนาดใหญ่ 1 ลูก (เพราะในความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ว่ากราฟไม่ได้มีลักษณะในอุดมคติเสมอไป) โดยที่ความชันของข้อมูลจะมากหรือน้อยนั้นให้ดูรายละเอียดในภาพประกอบไปด้วย

ความเปรียบต่างสูง (High-Contrast Histogram)

ข้อมูลปรากฏขึ้นลักษณะระฆังคว่ำ 2 ลูก ซึ่งอาจสังเกตได้ง่ายหรือยาก โดยที่ส่วนเชื่อมกันนั้นจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งเว้ารูปตัว U เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างกันระหว่างข้อมูลส่วนมืดกับข้อมูลส่วนสว่าง

ไดนามิกเรนจ์กับความเปรียบต่าง

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลแต่ละตัวมีความสามารถในการแสดงรายละเอียดตั้งแต่ส่วนมืดที่สุดไปยังส่วนที่สว่างที่สุด (Dynamic Range) ไม่เหมือนกัน สมมติว่าข้อมูลตั้งแต่ส่วนมืดที่สุดไปจนส่วนที่สว่างที่สุดของความเป็นจริงแสดงได้ดังภาพนี้

ไดนามิกเรนจ์ต่ำ (Low Dynamic Range)

กล้องที่มีไดนามิกเรนจ์สูงก็เหมือนกับความสามารถในการเก็บรายละเอียดส่วนที่มืดที่สุดไปยังส่วนที่สว่างที่สุดมีน้อย และถ้าน้อยเกินกว่าสภาพแสงจริงในขณะนั้นก็มีโอกาสเกิดภาพถ่ายที่แสดงรายละเอียดได้ไม่ครบถ้วนหรือหลุดหายไปค่อนข้างมาก ภาพถ่ายที่ได้สีสันมีความจัดจ้าน มืดแรงและสว่างแรง

ไดนามิกเรนจ์สูง (High Dynamic Range)

กล้องที่มีไดนามิกเรนจ์สูงก็เหมือนกับความสามารถในการเก็บรายละเอียดส่วนที่มืดที่สุดไปยังส่วนที่สว่างที่สุดมีสูงมาก และถ้ายิ่งมากเกินกว่าสภาพแสงในความเป็นจริงมากๆเข้า ภาพที่ได้มักจะเป็นภาพที่มีความเปรียบต่างต่ำ ภาพถ่ายลักษณะนี้นำไปปรับแต่งในโปรแกรมแก้ไขภาพถ่ายได้ดี มีความยืดหยุ่นสูงแต่ผู้ที่รู้วิธีการจะไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร

การแก้ไขภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำเกินไป

ภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำดูดีในบางกรณีและก็ดูแย่ในบางกรณีเช่นกัน นี่จึงเป็นแนวทางการแก้ไขภาพถ่ายให้กลับมามีแรงดึงดูดต่อสายตาอีกครั้ง

1. เพิ่มความเปรียบต่าง

การเพิ่มความเปรียบต่างด้วยสเกลอย่าง Contrast นับเป้นวิธีที่ง่ายและไว้ที่สุดที่จะช่วยให้ภาพถ่ายความเปรียบต่างต่ำดูดีขึ้นมา แต่ก็อย่าลืมไปว่ามีสเกลที่เกี่ยวข้องกับความเปรียบต่างอีกหลายสเกลให้ลองเล่นไม่ว่าจะเป็น Highlights กับ Shadows หรือ Whites กับ Blacks ในทิศที่สวนทางกัน หรือจะใช้ความเปรียบต่างของข้อมูลส่วนกลาง (Midtones) อย่าง Clarity หรือ Dehaze ลดความฟุ้งฝ้าของภาดพก็ได้

2. กำหนดขอบเขตการแสดงผลใหม่

แก้ไขในส่วนของเส้นเคิร์ฟโดยปรับแบบ Advanced แล้วให้จุดเริ่มทั้งดำและขาวสุดของภาพเลื่อนสู่ปลายภูเขาข้อมูลแต่ละข้าง ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้การนับ 1 ของข้อมูลในแต่ละฝั่งมีความสวยงามครบถ้วน

3. ทำให้บางส่วนในภาพโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ที่ชำนาญการใช้เครื่องมือกลุ่ม Masking อาจจะลองปรับแก้เครื่องมือให้ส่งผลพื้นที่บางส่วนในภาพถ่ายแล้วเพิ่มความขาวหรือดำของสีนั้นให้แรงมากขึ้นในขณะที่ส่วนอื่นยังคงเดิมก็จะช่วยให้ภาพถ่ายดูดีโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนที่ไม่น่าสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า