ความเร็วชัตเตอร์คืออะไร

ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) หมายถึง ช่วงเวลาที่ฟิล์ม (กล้องฟิล์ม) หรือเซ็นเซอร์รับภาพดิจิตอล (กล้องดิจิตอล) เก็บบันทึกแสงระหว่างที่ม่านชัตเตอร์เปิดจนกระทั่งปิด ปริมาณแสงที่เซ็นเซอร์ได้รับนั้นจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับตัวแปรดังกล่าวโดยตรง ซึ่งเหมือนกับค่ารูรับแสง ในบทความนี้จึงกล่าวถึงวัตถุประสงค์และความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปรร่วมอยู่ด้วย

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า ‘สต็อป’ (Stop) ก่อนเข้าสู่ความสัมพันธ์ของตัวแปรค่าต่างๆ

จากตอนที่แล้วเรื่อง ‘รูรับแสง’ (Aperture) ได้กำหนดค่ารูรับแสงแต่ละค่าเอาไว้เป็นค่า f (f-stop) การปรับค่ารูรับแสงให้กว้างหรือแคบลงกว่าเดิม 1 ระดับ (สองเท่าจากเดิม) เราเรียกความห่างของค่าดังกล่าวว่า ‘สต็อป’ เช่น การเปลี่ยนแปลงจาก f/2.8 เป็น f/4 เราเรียกว่าเป็นการหรี่รูรับแสงลง 1 สต็อป

ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของรูรับแสงและผลกระทบที่เกิดขึ้น

ความเร็วชัตเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ผู้เรียนสามารถกำหนดค่าความเร็วของแสงในการไหลผ่านเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพได้ โดยแสดงเป็นค่าตัวเลข เช่น 1/125 วินาที การปรับขึ้นหรือลง 1 สต็อป จะหมายถึงการเพิ่มหรือลดลงสองเท่าจากของเดิม เช่นปรับให้รับแสงเร็วขึ้นหนึ่งสต็อป จะได้เป็นค่า 1/250 วินาที

ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

ทั้งรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ต่างก็ใช้ควบคุมปริมาณแสงที่วิ่งไปยังเซ็นเซอร์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการปรับค่าของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งจึงส่งผลกระทบไปยังอีกตัวแปรหนึ่งด้วย ยกตัวอย่าง เช่น การหรี่รูรับแสงลง 1 สต็อป จะทำให้ภาพมืดลง (วัตถุประสงค์เพื่อให้ระยะชัดมีความลึกมากขึ้น) กับการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้น 1 สต็อปภาพก็มืดลงเช่นเดียวกัน (วัตถุประสงค์เพื่อให้จับภาพได้เร็วขึ้นสองเท่า) จึงต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์และวัตถุประสงค์ในการเลือกใช้งานตัวแปรดังกล่าวให้ดี

ปริมาณของแสงที่วิ่งเข้าสู่เซ็นเซอร์คือผลกระทบที่เหมือนกันของสองตัวแปรนี้

ความเร็วชัตเตอร์เป็นเรื่องของการแสดงความเร็วหรือช้าในภาพ และรูรับแสงเป็นเรื่องของการเลือกการละลายฉากที่อยู่นอกเหนือโฟกัส แต่ทั้งสองตัวแปรนั้นส่งผลถึงความมืดหรือสว่างในภาพเหมือนๆกันตามสภาพแสงในช่วงเวลานั้น

ความเร็วชัตเตอร์ใช้สร้างสรรค์ภาพที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

ถ้าผู้เรียนกำลังอยู่ในสถานการณ์ของวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว เช่นในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลหรือรถแข่ง การทำวัตถุทุกอย่างในภาพให้นิ่งสนิทต้องอาศัยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงกว่าการเคลื่อนไหวในขณะนั้น ถ้าหากว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ไม่เร็วเพียงพอภาพที่เกิดขึ้นจะมีการเลื่อนที่ให้เห็นในภาพที่บันทึกหรือเบลอเพราะการถือที่ไม่มั่นคงไปเลยก็ได้

แต่ การใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำมากๆก็สามารถสร้างสรรค์ภาพให้มีความน่าสนใจได้มากเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นการเคลื่อนไหวเป็นเส้นสายของรถยนต์บนท้องถนนในเวลากลางคืน หรือเส้นสายของการเคลื่อนที่จากกลุ่มเมฆทะเลหมอกซึ่งเป็นทัศนียภาพบนภูเขาสูง

การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำพร้อมกับการแพนกล้องตามตัวแบบที่โฟกัส
(ความเร็วที่ 1/40sec) FujiFilm FinePix X100

เมื่อลดความเร็วชัตเตอร์ลงอีกจะเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
(1/8sec) FujiFilm FinePix X-Pro1 + Samyang 12mm f/2.0 NCS CS

โหมดที่เกี่ยวข้องกับความเร็วชัตเตอร์ที่พูดถึงในหลักสูตร

โหมด : ความเร็วชัตเตอร์อิสระ (Shutter Priority)

โหมดนี้อนุญาตให้ความเร็วชัตเตอร์ถูกปรับความต้องการของเราได้ มีประโยชน์ในหลายสถานการณ์ด้วยกัน เช่น การถ่ายภาพผู้คนบนท้องถนนแบบ Street Photography โดยที่ไม่สนใจระยะชัดเพราะการเก็บภาพให้นิ่งนั้นสำคัญกว่า ค่าตัวแปรรูรับแสงกล้องจะทำการกำหนดให้อัตโนมัติตามความเหมาะสมของสภาพแสงนั้นๆ

โหมด : รูรับแสงอิสระ (Aperture Priority)

หลักสูตร Handheld Mastery จะใช้โหมดนี้เป็นหลัก โหมดนี้จะอนุญาตให้ปรับค่ารูรับแสงตามความต้องการของเรา วัตถุประสงค์หลักคือการกำหนดค่าระยะชัดของภาพตามความต้องการโดยที่กล้องจะคำนวนค่าความเร็วชัตเตอร์ที่พอดีมาให้ ซึ่งถ้าความเร็วชัตเตอร์ที่ได้นั้นไม่มากพอต่อการสั่นไหวของมือหรือการเคลื่อนที่ของวัตถุภาพก็จะเบลอได้ง่ายๆเอาเหมือนกัน จึงต้องเรียนเทคนิคอื่นๆในหลักสูตรนี้ต่อไปนะครับ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ควรรู้ไว้เกี่ยวกับบทเรียนนี้

ทางยาวโฟกัสของเลนส์ก็ส่งผลต่อความเร็วชัตเตอร์ที่ทำให้ภาพนิ่งด้วย

ลองนึกภาพมือปืนที่กำลังเล็งสไนเปอร์ไปยังเหลือที่อยู่ห่างออกไปราวๆ 1 กิโลเมตรดูนะครับ ถ้าเขาเล็งคลาดเคลื่อนไปจากเดิมสัก 1 หรือ 2 มิลลิเมตรจากเดิมก็ไม่มีอะไรรับประกันได้แล้วว่ากระสุนจะทำงานได้ตามที่คิดหรือเปล่า เหมือนกับการใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสหรือเลนส์ที่มีช่วงซูมมากๆนั่นล่ะโอกาสถ่ายเบลอยิ่งมีสูงตามไปด้วย ดังนั้นความเร็วชัตเตอร์จึงต้องสูงมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยกว่าจะถ่ายภาพให้นิ่งได้

ความเร็วชัตเตอร์มีหน่วยเป็นวินาที

บางกล้องไม่ได้บอกหน่วยเพราะเขาคิดว่าเป็นอันต้องทราบกันดีอยู่แล้วเพราะสากลเขาใช้กันแบบนี้ เช่น 1/500sec ก็คือการเอา 1 หารด้วย 500 จะเท่ากับ 0.002 วินาที หมายความว่าระหว่างที่ม่านชัตเตอร์เปิดจนกระทั่งปิดนั้นไม่มีการสั่นไหวภาพก็จะออกมานิ่งสนิท

ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ปรับได้ในกล้องก็มีค่าเป็นสองเท่าในแต่ละสต็อปเหมือนรูรับแสง

ค่าความเร็วชัตเตอร์จะห่างกันสองเท่าเสมอ หรือระยะห่าง 1 สต็อปแบบรูรับแสง เช่น f/2 > f/2.8 > f/4 ก็จะประมาณเดียวกันกับ 1/125sec > 1/250sec > 1/500sec ซึ่งทำให้ภาพสว่างขึ้นหรือมืดลงเมื่อห่างกันทีละสต็อป

โหมด B ‘Bulb’ สำหรับค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำมากเป็นพิเศษ

ส่วนมากแล้วเมื่อเราอยู่ในโหมด Shutter Priority แล้วการปรับค่าความเร็วชัตเตอร์จะต่ำลงได้จนถึงระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งถ้ามากกว่านี้ก็คงต้องไปพึ่งโหมด Bulb แทนแล้วล่ะ เพราะโหมดนี้จะอนุญาตให้เรากดชัตเตอร์เองจนพอใจแล้วปล่อย แต่ก็อย่างว่า.. ต้องมีขาตั้งซึ่งก็ไม่ได้เข้ากันกับหลักสูตรถ่ายกับมือเท่าไหร่

การสั่นไหวของภาพนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน

อย่าชะล่าใจคิดว่าการสั่นของภาพเป็นเพราะวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าเพียงอย่างเดียว การสั่นของมือหรือการถือที่ไม่มั่นคงหรือสถานการณ์ระหว่างบันทึกมีผลหรือไม่ลองคิดดีๆนะครับ เช่น กำลังอยู่บนเรือที่โคลงเคลงตลอดเวลา หรือมีการสั่นสะเทือนที่มากเกินไปจากสภาวะแวดล้อมต้องนำมาคิดให้หมด แต่ถ้ากล้องใครมีกันสั่นล่ะก็น่าจะช่วยได้ดีในระดับหนึ่ง

ประสบการณ์จะช่วยให้การคาดเดาความเร็วชัตเตอร์แม่นยำขึ้นได้

ช่างภาพทุกคนก็เคยพลาดกันมาแล้วทั้งนั้น เช่น นกที่กำลังบินอยู่ใครจะไปรู้ว่าต้องใช้ความเร็วเท่าไหร่ถึงจะถ่ายให้นิ่งสนิท หรือรถแข่งที่กำลังวิ่งบนถนนด้วยความเร็วสูงมากๆ ของแบบนี้ประสบการ์และความชำนาญในการตั้งค่าเท่านั้นที่จะทำให้เราได้เปรียบเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์จริง

การเบลอของภาพก็ไม่ได้แย่เสมอไป

อย่างที่กล่าวไว้ว่าการเบลอก็คือการสั่นไหวของภาพ บางคนก็อาศัยประโยชน์จากอาการดังกล่าวในภาพสร้างสรรค์ให้เป็นงานศิลปะไปเลยก็มี เช่นแสงวูบวาบของไฟดิสโก้ที่เขาถ่ายให้มันนิ่งไม่ได้เพราะเป็นเวลากลางคืน หรือการเดินและวิ่งที่ชุลมุน อะไรแบบนี้ก็ว่ากันไป

 

Basic Photography
แนะนำหลักสูตร
ราคา 1,490 บาท
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
เปลี่ยนคำว่ามือใหม่ให้กลายเป็น ‘ช่างภาพ’ ในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
หลักสูตรในรูปแบบกลุ่มทางเฟซบุ๊กแบบตลอดชีพ

ตอนนี้ก็มาถึงตัวแปรที่สองแล้วซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับค่ารูรับแสง (Aperture) ไป จะเห็นได้ว่าทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเกี่ยวกับปริมาณแสงที่ไหลเข้าเซ็นเซอร์รับภาพทั้งนั้น การเลือกตัวแปรกำหนดวัตถุประสงค์การใช้งานจึงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องนำมาคิด เลือกใช้ค่าดังกล่าวให้เหมาะสมนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

พื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ช่วงระยะชัด’

ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DoF’) เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้รักการถ่ายภาพทุกท่านจำเป็นต้องทราบและมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะตัวแปรดังกล่าวนี้สามารถปรับปรุงฝีมือการถ่ายภาพเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้บันทึกภาพที่มีความชำนาญสูงยิ่งขึ้นไปได้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า