พื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ช่วงระยะชัด’
ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DoF’) เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้รักการถ่ายภาพทุกท่านจำเป็นต้องทราบและมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะตัวแปรดังกล่าวนี้สามารถปรับปรุงฝีมือการถ่ายภาพเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้บันทึกภาพที่มีความชำนาญสูงยิ่งขึ้นไปได้
คลิปวิดีโอประกอบเนื้อหา

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของ ‘ช่วงระยะชัด’ หลายคนอาจคิดไปถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างการเพิ่มหรือลดขนาดของรูรับแสงก็น่าจะพอแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังมีเรื่องต่างๆที่ส่งผลต่อระยะชัดอยู่มากมายเต็มไปหมด จะมีอะไรบ้างผู้สอนจะนำมาอธิบายให้ทราบกันครับ

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ 'ช่วงระยะชัด' (Depth of Field)

‘ช่วงระยะชัด’ (Depth of Field) คือ ช่วงของความคมชัดที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่จุดคมชัดที่ใกล้ตามากที่สุดไปจนถึงจุดคมชัดที่ไกลตามากที่สุด ปรากฏการณ์ดังกล่าวคล้ายๆกับการมองเห็นด้วยดวงตาของมนุษย์ที่จะคมชัดในจุดที่เรากำลังโฟกัสเท่านั้น นอกเหนือสิ่งที่สนใจก็จะมีการเบลอนั่นเอง

แต่ว่ากล้องถ่ายภาพดิจิตอลสามารถทำในสิ่งที่หลากหลายกว่าด้วยการปรับแต่งค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนไปใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสที่มากขึ้นเพื่อปรับมุมรับภาพ,​ เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างขึ้นหรือกล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดต่างๆ รวมไปถึงระยะทางของวัตถุที่โฟกัสและอื่นๆ อย่างไรก็ดีด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างพอสังเขปให้ทราบว่าระยะชัดมีความหมายว่าอย่างไรและอธิบายได้อย่างไรในสถานการณ์จริง

เมื่อเราโฟกัสไปยังวัตถุจะเกิดอาณาบริเวณของความคมชัดที่แผ่ขยายออกมาทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง การควบคุมช่วงระยะอย่างถูกต้องเหมาะสมช่วยให้เกิดความแม่นยำในการให้ความสนใจกับภาพ ท้ายที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่การเล่าเรื่องที่ดี

ปัจจัยที่ 1 : ขนาดของรูรับแสง

การเลือกใช้ค่ารูรับแสงที่กว้าง (ค่า f-stop ที่มีค่าน้อย) จะให้ช่วงระยะชัดที่ค่อนข้างตื้นหรือบาง ในขณะที่การเลือกใช้ค่ารูรับแสงที่แคบกว่า (ค่า f-stop ที่มีค่ามาก) จะให้ช่วงระยะชัดที่มีความหนาหรือลึกมากขึ้น

ช่วงระยะชัดที่มีผลมาจากการเลือกใช้รูรับแสง

ปัจจัยที่ 2 : ระยะทางจากจุดบันทึก

ตัวแปรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระยะทางจากจุดบันทึก ระหว่างกล้องและวัตถุโดยที่ยิ่งมีระยะสั้นลงเท่าไรช่วงระยะชัดก็จะยิ่งบางและตื้นขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายวัตถุที่ใกล้ตามากๆจะยิ่งโฟกัสด้วยค่ารูรับแสงกว้างๆยากมากขึ้นไปด้วยแต่ถ้าลองถอยออกมาเรื่อยๆจะพบว่าช่วงระยะชัดนั้นเพิ่มขึ้น

ต่อให้ใช้รูรับแสงที่หรี่มากๆ แต่ถ้าระยะบันทึกใกล้วัตถุสูงยังไงก็สร้างระยะชัดลึกได้ยาก
ที่มา : pixabay

ปัจจัยที่ 3 : ทางยาวโฟกัส

เราไม่มีทางที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เพื่อให้เห็นว่าดวงใหญ่ขึ้นได้เลย เว้นเสียแต่ว่าจะใช้เลนส์ซูมเข้าไปหาคือคำกล่าวหนึ่งที่แสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเพื่อดึงสิ่งที่อยู่ไกลให้ใกล้ตาเข้ามา (แม้ว่าในความเป็นจริงคือเรื่องของมุมรับภาพที่แคบลงก็ตามที) ทางยาวโฟกัสของเลนส์เกี่ยวข้องกับมุมรับภาพที่จะได้โดยตรง เลนส์มุมกว้างมีทางยาวโฟกัสต่ำจะให้ค่าช่วงระยะชัดที่ลึกกว่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่าซึ่งจะให้ช่วงระยะชัดที่ตื้นกว่า

จำไว้ว่าทางยาวโฟกัสเองไม่ได้ถูกระบุว่ามีอิทธิพลต่อช่วงระยะชัดมากนัก นอกจากนี้การดึงฉากหลังเข้ามามากๆของเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงมีผลทำให้สิ่งที่อยู่ไกลออกไปเมื่อถูกดึงเข้ามาใกล้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ลองนึกภาพของการรับแสงด้วยเลนส์มุมกว้างซึ่งมีมุมรับภาพกว้างและเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงอย่างเลนส์เทเลจะมีมุมรับภาพแคบลง ซึ่งเมื่อมุมรับภาพแคบลงรังสีแสงแทบจะเดินทางใกล้รูปแบบเส้นขนานกัน กล่าวได้ว่าแสงต้องเดินทางให้มากพอที่จะหลุดโฟกัสทำให้เกิดช่วงระยะชัดที่สั้นกว่า เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆจึงถูกนำมาใช้กับการถ่ายภาพบุคคลได้ดีเพราะเลนส์จะช่วยละลายสิ่งที่รบกวนสายตาอื่นๆให้มีความน่าสนใจน้อยลงซึ่งเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสต่ำๆจะเหมือนกับให้ความสนใจทุกสิ่งด้วยความคมชัดนั่นเอง

ต่อให้ใช้รูรับแสงที่หรี่มากๆ แต่ถ้าระยะบันทึกใกล้วัตถุสูงยังไงก็สร้างระยะชัดลึกได้ยาก
ที่มา : pixabay

ปัจจัยที่ 4 : ขนาดของเซ็นเซอร์รูปภาพ

ขนาดของเซ็นเซอร์ที่ใช้ก็มีผลต่อช่วงระยะชัดด้วยเช่นกันโดยที่เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะให้ช่วงระยะชัดที่ตื้นกว่าเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ดังนั้นการจะเปรียบเทียบกับกล้องที่มีเซ็นเซอร์ต่างขนาดจึงต้องเทียบตัวแปรค่าคงตัวต่างๆวุ่นวายไปหมด

จำง่ายๆว่าถ้าเราล็อกตัวแปรทุกอย่างเท่ากัน เช่นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวกัน ค่ารูรับแสงเท่ากันกล้องที่มีเซ็นเซอร์ใหญ่จะละลายได้ดีกว่า

ขนาดของเซ็นเซอร์นั้นมีผลต่อช่วงระยะชัด

การคำนวนหาช่วงระยะชัดมีความจำเป็นหรือไม่?

ตอบว่า ‘จำเป็น’ และ ‘ไม่จำเป็น’ อย่างในบทความนี้ผู้สอนก็พยายามยุ่งกับตัวเลขให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ โดยเน้นไปยังพื้นฐานความเข้าใจโดยสรุปของแต่ละปัจจัยให้ทราบว่าอะไรที่จะส่งผลต่อช่วงระยะชัดบ้างถึงการคำนวนเองจะสำคัญแต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ก็ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่าชัดประมาณไหนโดยการกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งทำให้มองเห็นช่วงของระยะชัดในจอทันทีลดภาระที่ยุ่งยากออกไปได้เยอะ อีกอย่างกล้องไร้กระจกที่ออกใหม่ในปัจจุบันก็มีคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมดทำให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างรวดเร็วและถ่ายภาพได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นโดยตัดความยุ่งยากในการคำนวนออกไป

ข้อสรุป

ช่วงระยะชัดของภาพอันมีผลมาจากตัวแปรทั้งหมดที่กล่าวนั้นเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย การมีช่วงระยะชัดที่บางเกินไปทำให้เราสูญเสียโอกาสที่ไม่ควรจะเสียเช่นเนื้อหาของภาพในส่วนที่ควรชัดกลับไม่ชัดเท่าที่ควร ส่วนช่วงระยะที่ลึกมากเกินไปก็ทำให้มิติของภาพไม่น่าสนใจ สิ่งที่สำคัญกว่าคือการเล่าเรื่องโดยการใช้ช่วงระยะเป็นตัวชี้นำต่างหากเพราะมันคือการเพ่งความสนใจให้กับเนื้อหาสาระในภาพ

ดังนั้น ตัวคนถ่ายคือความสำคัญสูงสุดว่าจะควบคุมได้ดีแค่ไหน

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

พื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ช่วงระยะชัด’

ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DoF’) เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้รักการถ่ายภาพทุกท่านจำเป็นต้องทราบและมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะตัวแปรดังกล่าวนี้สามารถปรับปรุงฝีมือการถ่ายภาพเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้บันทึกภาพที่มีความชำนาญสูงยิ่งขึ้นไปได้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า