ความไวแสงคืออะไร

ความไวแสง (ISO) ใช้บอกระดับความอ่อนไหวที่แสงเดินทางมากระทบเซ็นเซอร์รับภาพดิจิตอล ยิ่งความไวแสงมีค่ามากเท่าไรเซ็นเซอร์ก็จะไวต่อการรับแสงมากยิ่งขึ้นทำให้สามารถเก็บภาพในตอนกลางคืนได้ง่าย แต่ผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากคุณภาพของภาพถ่ายเป็นสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจในบทความนี้

ความหมายของคำว่า “ความไวแสง” (ISO)

ความไวแสง (Light Sensitivity) ใช้หน่วยสากล ISO (ย่อมาจาก International Organization for Standardisation) ถูกกำหนดเป็นส่วนมาตรฐานสากลในการถ่ายภาพดิจิตอล ค่าดังกล่าวถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยใช้กำหนดค่าความไวต่อเซ็นเซอร์รับภาพดิจิตอลเหมือนกับความไวฟิล์มในกล้องถ่ายภาพฟิล์ม

แต่สมัยที่ใช้กล้องถ่ายภาพฟิล์มนั้นค่าความไวแสงของฟิล์มจะถูกระบุไว้ใช้ในแต่ละกลักฟิล์มซึ่งแตกต่างจากความไวแสงในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่สามารถปรับได้เองในตัว (Interchangable ISO Settings) โดยกล้องถ่ายภาพดิจิตอลทั่วๆไปจะมีค่า ISO ตั้งแต่ 100 และเพิ่มเป็นสองเท่าในแต่ละสต็อปของ ISO เช่น 100, 200, 400, … เรื่อยไป การเพิ่มขึ้นของความไวแสงในแต่ละสต็อปจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ที่ได้ในสภาวะแสงเดิมเพิ่มขึ้นสองเท่า

การเพิ่มความไวแสงมีทั้งผลดีและผลเสีย

ในสถานการณ์ปกติถ้าบรรยากาศในเวลานั้นมืดเกินไปอาจจะต้องหาแสงไฟช่วยด้วยแล้ว การเพิ่ม ISO จะช่วยให้เราไม่ต้องใช้แสงช่วยและมีโอกาสได้ภาพในเวลาที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้น

เพิ่มความไวแสง.. เพิ่มโอกาสได้ภาพมากขึ้น..

ภาพด้านล่างนี้แสดงถึงการเก็บภาพในบรรยากาศที่แสงไม่ค่อยเป็นใจนัก และการปรับค่าความไวแสงเพิ่มขึ้นก็ช่วยให้ผู้สอนและทีมงานผ่านวิกฤตในช่วงเวลาดังกล่าวไปได้อย่างง่าย ยิ่งประสิทธิภาพของกล้องถ่ายภาพในปัจจุบันด้วยแล้วการเพิ่ม ISO สัก 400-800 ถือเป็นเรื่องหมูๆไปเลย

มืดแบบนี้ ISO ต่ำๆยังไงก็เอาไม่อยู่ ต้องดันไปถึง 3200 ถึงจะเริ่มเก็บภาพได้
แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะเก็บได้ง่ายๆด้วยนะ

บรรยากาศฟ้าหลัวและฝนโปรยปราย แถมผู้สอนก็กำลังวิ่งด้วย
จึงใช้ ISO500 จึงพอได้ความเร็วชัตเตอร์หยุดทีมงานพวกนี้เอาไว้

ต้นพีทาโกเนียถึงจะอยู่ในสภาพแสงรำไรแต่ทางยาวเลนส์ที่ใช้คือ 100mm
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ภาพนี้ใช้ ISO1600

ผู้สอนหลีกเลี่ยงการใช้แฟลชในที่มืด จึงยอมดัน ISO6400
ซึ่งในชีวิตนี้ก็น้อยครั้งมากที่จะดันถึงขนาดนี้

 

ผลกระทบจากการใช้ความไวแสงที่มากเกินไป

ถ้าผู้เรียนเคยลองเปิดวิทยุด้วยค่าการขยายเสียงที่ดังขึ้นจะพบว่าเมื่อเร่งจนถึงค่าสูงสุดเสียงจะเริ่มพร่าเหมือนลำโพงแตก อาการเหมือนมีสัญญาณที่ทำให้เสียงไม่คมชัด เซ็นเซอร์รับภาพก็เช่นเดียวกันเมื่อมีการขยายระดับสัญญาณให้มีความไวต่อแสงมากขึ้นในอาการแปรปรวนในแต่ละพิกเซลย่อมเกิดอาการฟ้องออกมาในภาพให้เห็น เราเรียกเม็ดสีในภาพที่ผิดไปจากที่ควรจะเป็นว่า “คลื่นสัญญาณรบกวนในภาพถ่าย” (Image Noise) ซึ่งอาการดังกล่าวจะมีมากขึ้นเมื่อปรับค่าความไวแสงมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพของภาพถ่ายโดยตรง

ISO100
Sigma DP3 Quattro

ISO200
Sigma DP3 Quattro

ISO400
Sigma DP3 Quattro

ISO800
Sigma DP3 Quattro

ISO1600
Sigma DP3 Quattro

ISO3200
Sigma DP3 Quattro

การเลือกระหว่างคุณภาพไฟล์ที่สูงขึ้นแต่อาจจะทำให้เกิดภาพเบลอเพราะความไวชัตเตอร์ไม่พอ กับภาพที่คมแต่อาจจะต้องมีรายละเอียดแปลกประหลาดปะปนอยู่ในภาพ ผู้เรียนเท่านั้นที่จะต้องตัดสินใจครับ

อย่าใช้ค่าความไวแสงด้วยความมักง่ายเป็นหลัก

รู้อย่างนี้แล้วหลายคนอาจจะถามว่า “ตั้ง ISO ไว้สูงๆตลอดเลยก็ดีใช่ไหม” คำตอบคือผิดเพราะการกระทำแบบนั้นถือเป็นการละเลยวัตถุประสงค์ในการบันทึกภาพ เช่น ถ้าเราไม่ใส่ใจความสำคัญของความสัมพันธ์สามแกนหลัก อย่าง ความไวแสง-ความเร็วชัตเตอร์-รูรับแสง การใส่ลูกเล่นหรือเทคนิคการถ่ายภาพจะเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลาเยอะในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจ

1/25sec ที่ ISO800 ก็ยังถ่ายด้วยมือให้คมชัดได้ถ้าฝึกฝนมามากพอ

1/40sec ที่ ISO320 หากวัดแสงและแสดงวัตถุประสงค์ให้ถูกต้องก็เก็บภาพกลางคืนให้งดงามได้อยู่นะ

เพื่อเป็นการทำความเข้าใจและเก็บประสบการณ์สำหรับผู้เรียนหลักสูตร ‘หลักการถ่ายภาพพื้นฐาน’ (Basic Photography : Newbie QuickStart) แนะนำให้ผู้เรียนทุกท่านตั้งค่า ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้วออกถ่ายภาพทั้งวันดูก่อนโดยที่ยังไม่ต้องยุ่งไปปรับค่า ISO หรืออย่าเพิ่งตั้งค่าส่วนนี้ไว้แบบอัตโนมัติ พยายามทำความเข้าใจกับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้ได้ก่อน โดยที่ถ้าหากแสงน้อยต้องใช้เทคนิคอื่นมาช่วยให้นิ่ง อย่างเพิ่งอาศัย ISO เป็นตัวเลือกหลักนะครับ

Native ISO คืออะไร?

Native ISO คือค่าความไวแสงที่กล้องดิจิตอลตัวนั้นจะให้คุณภาพของสีและรายละเอียดดีที่สุด ไม่ใช่ว่า ISO ต่ำสุดแล้วจะให้ภาพที่ดีที่สุด เช่น ISO ของกล้องเมื่อปรับการบันทึกไฟล์เป็น RAW อาจจะเริ่มต้นที่ ISO200 อย่างกล้องของ FujiFilm X-Series แต่พอเลือกบันทึกไฟล์เป็น JPEG กลับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 100

ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วกล้องตัวนั้นอาจจะไม่มี ISO100 จริงๆก็ได้ แต่เป็นการขยายฐาน ISO เพื่อที่จะให้เก็บภาพในสถานการณ์แสงที่กว้างมากขึ้น เช่น ถ้าแสงจ้ามากๆแม้แต่ ISO200 ก็ยังให้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่มากเกินไป การปรับให้ต่ำลงก็จะเพิ่มโอกาสบันทึกภาพแบบไม่สว่างทั้งฉาก (ยังไงก็ยังดีกว่าการเอาฟิลเตอร์มาปิดหน้าเลนส์เพื่อลดทอนคุณภาพไฟล์ภาพ)

รายละเอียดเกี่ยวกับความไวแสงนั้นยังมีอีกมากถ้าต้องการเรียนรู้ เบื้องต้นทราบไว้เท่านี้ก่อนนะครับ

Basic Photography
แนะนำหลักสูตร
ราคา 1,490 บาท
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
เปลี่ยนคำว่ามือใหม่ให้กลายเป็น ‘ช่างภาพ’ ในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง

Mobile Photography
แนะนำหลักสูตร
ราคา 2,490 บาท/ตลอดชีพ
ติดต่อ ‘เพจ‘ เท่านั้น
หลักสูตร ‘ถ่ายภาพสวยด้วยมือถือ’

ในเมื่อ ISO สูงๆทำให้เกิดคลื่นสัญญาณรบกวนในภาพถ่าย การเสาะหาวิธีการในการลดปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพแบบเดียวหลายๆภาพแล้วเอามารวมกันด้วยซอฟท์แวร์จัดการภาพ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพในตัวอุปกรณ์รับภาพเสียเอง อย่างไรก็ตามในบทของความไวแสงขอจบไว้เพียงเท่านี้ และตอนหน้าจะมาต่อกันเรื่องของความสัมพันธ์สามปัจจัยในการรับแสงนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

พื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ช่วงระยะชัด’

ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DoF’) เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้รักการถ่ายภาพทุกท่านจำเป็นต้องทราบและมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะตัวแปรดังกล่าวนี้สามารถปรับปรุงฝีมือการถ่ายภาพเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้บันทึกภาพที่มีความชำนาญสูงยิ่งขึ้นไปได้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า