การแต่งภาพถ่ายโทนเขียว

ถ้าภาพถ่ายนั้นไม่มีสีเขียวอยู่ในภาพเราจะเรียกว่าภาพถ่ายโทนเขียวได้ไหมนะ หรือภาพถ่ายโทนเขียวจะต้องไปถ่ายอะะไรให้มันมีสีเขียวในภาพก่อนกันล่ะ เรื่องนั้นช่างมันเถอะเอาเป็นว่าในบทความนี้จะสอนทำภาพถ่ายโทนเขียวโดยอาศัยปัจจัยสเกลซึ่งเป็นความรู้จากหลักสูตร Lightroom Classic CC : Master Class ของผู้เรียนระดับสูงจาก DozzDIY มาบอกกันจ้า

ภาพถ่ายโทนเขียวคืออะไร? แล้วฮิตมาได้ยังไง..

ภาพถ่ายโทนเขียวเกิดจากการถ่ายภาพแล้วมีสีเขียวค่อนข้างเยอะอยู่ในภาพ จากนั้นก็นำมาตกแต่งกันโดยที่ให้สีเขียวเกิดเฉดสีข้างเคียงรวมไปถึงมิติด้านความสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป (เรียนเรื่องมิติของสีสันมาก่อนก็จะดีนะ) ด้วยอิทธิพลทางด้านอารมณ์ของมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอยู่เป็นทุนเดิม สีเขียวก็เลยเป็นสีที่มนุษย์รู้สึกดีโดยสัญชาตญาณ อีกทั้งสีเขียวยังเป็นสีในวรรณะเย็น ภาพเลยดูช้า, สวยงาม, สงบ, กลมกลืนอะไรประมาณนั้น

เมื่อนำมาตกแต่ง ภาพถ่ายที่พบได้บ่อยก็มักเป็นภาพถ่ายท่องเที่ยวธรรมชาติที่มักจะมีป่าไม้ใบหญ้าเป็นส่วนประกอบ ส่วนคนที่ยืนอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้นสีผิวจะอยู่ในวรรณะร้อน เรียกว่าเข้ากฏของการทำภาพแบบโทนมืด (Low-Key) หรือโทนติดมืด (Undertone) ทำให้คนในฉากดูโดดเด่น

ด้วยความที่ว่าสีผิวคนเป็นสีวรรณะร้อนท่ามกลางสีวรรณะเย็นคือสีเขียวจึงถ่ายภาพให้ดูโดดเด่นได้ง่าย
Photo by Oliver Sjöström from Pexels

พอภาพถ่ายดูง่ายและมีสไตล์เป็นเอกลักษณ์​ ก็เลยเป็นที่นิยมนั่นเองล่ะนะ

มิติของสีเขียวที่เป็นไปได้ในการแต่งภาพ

ในหลักสูตร ‘ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล’ (Color Theory in Digital Photography) ของ DozzDIY ก็ได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ของแต่ละเฉดสีไว้เยอะแยะมากมาย อย่างสีเขียวตามภาพที่เห็นอยู่นี้ก็สามารถแปลงออกไปเป็นสีข้างเคียงพร้อมด้วยผลกระทบของความสว่างและความอิ่มตัว ทำให้มีชื่อเรียกค่อนข้างเยอะ และนี่คือบางส่วนของความเป็นไปได้ในการแปลงสีเขียวที่มีอยู่เดิมจ้า

ตัวอย่างเฉดสีเขียวที่แปลงไปได้อย่างคร่าวๆ

การเปลี่ยนไปของสีเขียวในมิติของสีสัน (Hue)
ผู้สนใจสามารถเรียนเพิ่มเติมได้ในหลักสูตร ‘ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล’

สเกลในการเคลื่อนย้ายสีที่มีใน Lightroom Classic CC

การแต่งภาพใน Lightroom Classic CC ตามสไตล์การเรียนการสอนของ DozzDIY เราจะให้ผู้เรียนโฟกัสจากสิ่งที่ใหญ่ที่สุดไปสู่สิ่งที่เล็กที่สุดในภาพ การเรียงลำดับสเกลเราจึงทำจากสิ่งที่ส่งผลกระทบมากที่สุดไปสู่การตกแต่งที่ส่งผลกระทบเป็นจุดๆ ซึ่งถ้าสนใจก็ควรจะเรียนอ่ะนะสำหรับคนที่อยากคิดพรีเซ็ตด้วยตัวเองน่ะ

สมดุลแสงขาว (White Balance)

สมดุลแสงขาวเป็นเรื่องของอุณหภูมิสี ซึ่งในสเกล Tint จะคุมสีเขียวเป็นหลัก และยังให้ส่วนของ Temp คุมความร้อนเย็นของสีเขียวอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า สมดุลแสงขาวตั้งต้นในการบันทึกภาพนั้นเป็นอย่างไร

เส้นเคิร์ฟ (Tone Curve)

สมดุลแสงขาวเป็นเรื่องของอุณหภูมิสี ซึ่งในสเกล Tint จะคุมสีเขียวเป็นหลัก และยังให้ส่วนของ Temp คุมความร้อนเย็นของสีเขียวอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า สมดุลแสงขาวตั้งต้นในการบันทึกภาพนั้นเป็นอย่างไร

การคาลิเบรตสี (Color Calibration)

สมดุลแสงขาวเป็นเรื่องของอุณหภูมิสี ซึ่งในสเกล Tint จะคุมสีเขียวเป็นหลัก และยังให้ส่วนของ Temp คุมความร้อนเย็นของสีเขียวอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า สมดุลแสงขาวตั้งต้นในการบันทึกภาพนั้นเป็นอย่างไร

สเกลควบคุมมิติของสี (Hue, Saturation and Luminance)

สมดุลแสงขาวเป็นเรื่องของอุณหภูมิสี ซึ่งในสเกล Tint จะคุมสีเขียวเป็นหลัก และยังให้ส่วนของ Temp คุมความร้อนเย็นของสีเขียวอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า สมดุลแสงขาวตั้งต้นในการบันทึกภาพนั้นเป็นอย่างไร

ตัวอย่างการทำภาพถ่ายโทนเขียว

เราจะเลือกภาพถ่ายที่ถ่ายมาแบบเรียบง่ายเน้นภาพที่มีสีเขียวโดยส่วนใหญ่อยู่ในภาพ จะเป็น JPEG หรือ RAW ก็ได้เพราะสเกลที่ใช้จะไม่มีการดึงไฟล์จนเกินขีดความยืดหยุ่นออกไป ดังด้านล่างนี้

สังเกตว่าเราจะไม่ยุ่งกับ 5 สเกลสัมพันธ์ในการรับแสงเลยแม้แต่น้อย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เห็นได้ว่าเมื่อได้โทนเขียวในเฉดต่างๆที่เราพอใจแล้ว ยังสามารถบิดเฉดสีในน้ำหนักเกิมด้วยสเกล White Balance แบบต่างๆได้อีก แบบที่ไม่ต้องสร้างพรีเซ็ตขึ้นมาหลายๆตัวเลยด้วยนะ!

จากนี้ก็ใช้สเกลหลักเปลี่ยนเฉดสีภาพโดยรวมได้ง่ายๆแล้ว

หลักสูตรในรูปแบบสมาชิกพิเศษจาก DozzDIY

หลักสูตรในรูปแบบคลิปวิดีโอตลอดชีพในกลุ่ม Facebook และ 1 ปีสำหรับบางหลักสูตรที่เรียนในเว็บไซต์
กรุณาติดต่อสอบถามทางเพจ DozzDIY โดยตรง

LR Classic CC : Master Class
(ราคาหลักสูตร 3,490 บาท)
หลักสูตร Lightroom CC ภาคต่อเนื่องและหลักสูตรประยุกต์

แนะนำหลักสูตร | เข้าเรียน

Color Theory in Digital Photography
ราคา 1,790 บาท/ตลอดชีพ
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
หลักสูตรทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล 

LR Classic CC : Reverse-Learning
(ราคาหลักสูตร 2,490 บาท)
เรียนรู้ Lightroom ขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการย้อนกลับ

แนะนำหลักสูตร | เข้าเรียน

LR Classic CC : Portrait Retouching
ติดต่อ ‘เพจ‘ เท่านั้น
ราคา 1,490 บาท/ตลอดชีพ
หลักสูตร Lightroom Classic CC
สำหรับการตกแต่งภาพถ่ายบุคคลโดยเฉพาะ

เห็นไหมครับว่าแค่ความรู้ความเข้าใจหลักการง่ายๆ ก็ทำให้เรามีพรีเซ็ตที่ยืดหยุ่นเอาไว้กำหนดโครงสร้างสีเพื่อเลือกสไตล์ใหม่ๆให้กับสีในภาพได้แล้ว และยังมีประโยชน์ในกรณีที่จะต้องนำมาใช้บ่อยๆกับภาพในภายหลังด้วยการเซฟไว้ใช้อีกด้วยนะ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า