Zone System เป็นเทคนิคที่ใช้คำนวนหาค่าแสงที่มีประสิทธิภาพที่สุดของฟิล์มโดยช่างภาพชื่อว่า แอนเซล อดัมส์ (Ansel Adams) และ เฟรด อาร์เชอร์ (Fred Archer) โดยหลักการนี้จะแบ่งความสว่างจากดำไปขาวออกเป็น 11 โซนภาพ ระบุไว้ว่าโซนที่ 0 และ 10 เป็นโซนของความดำและขาวมากที่สุดจนไม่มีรายละเอียดใดๆ ดังนั้นกระบวนการผลิตภาพโดยยึดหลักการนี้เอาไว้จะแสดงรายละเอียดภาพได้อย่างดีที่สุด
By J. Malcolm Greany – Unknown sourceSee Ansel Adams. Yosemite National Park. U.S. National Park Service. Retrieved on February 28, 2019., Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=9481644
นอกจากหยดหมึกกลมๆในยุค Analog จะกลายเป็นพิกเซลสี่เหลี่ยมไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปคือความละเอียดในการไล่เรียงค่าความสว่างแบบ 256 ช่อง (0-255) กรณี JPEG แบบ 8 บิต ซึ่งมากกว่า Zone System ที่มีแค่ 11 เป็นไหนๆ ดังนั้นการจะมาแบ่งเป็น 11 จึงเหนื่อยไปเปล่าๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบค่าความสว่างของกล้องยุค Analog กับ Digital ด้วยค่าความสว่าง เราโฟกัสโซน 0 กับ 10 ได้ตามนี้ครับ
ถ้าจะทำตามก็แสดงรายละเอียดได้ที่ช่วง 26-230 นะ
หากอยากทำตาม Zone System กันจริงๆคงต้องไปใช้เครื่องมือกำหนดลิมิตความสว่างภาพใหม่อย่าง Tone Curve ใน Lightroom Classic หรือ Level ใน Photoshop CC เป็นต้น
มีทั้งช่างภาพที่เข้าใจไปว่าภาพถ่ายที่ดีควรมีการแสดงโซนสว่างของภาพครบทั้ง 11 โซน หรือไม่ก็เป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดในการแต่งโซนต่างๆในภาพให้ได้ตามนั้นเป๊ะๆ ซึ่ง DozzDIY แนะนำว่าคุณควรเข้าใจหลักการโดยรวมและพัฒนาเทคนิคไปตามแนวทางของตัวเองน่าจะดีกว่าครับ ภาพถ่ายที่ดีไม่ใช่ภาพที่มีครบโซนหรอก แต่เป็นภาพที่ถ่ายทอดอารมณ์และต้องการสื่อสารข้อความในภาพได้อย่างแม่นยำต่างหากล่ะ รายละเอียดเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น
คำตอบคือ ‘เพราะมาตรฐานการรับชมภาพของแต่ละอุปกรณ์มีความแตกต่างกันอย่างมากน่ะสิครับ’ เราจะรู้ได้ยังไงว่าภาพถ่ายของเราถูกรับชมผ่านจอภาพที่มีเทคโนโลยีแบบไหนกันบ้าง หรือ แสดงผลของสีขาวและสีดำได้ดีมากแค่ไหน เพียงเท่านี้ก็ปวดหัวได้ง่ายๆแล้วเพราะมีทั้งจอ LCD, OLED และอื่นๆ
ภาพขาวดำของทีม DozzDIY ก็ไม่เลวใช่ไหมล่ะ
ไหนจะเป็นเรื่องของการสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีความขาวของเนื้อกระดาษต่ำกว่าสีขาวบนจอภาพ หรือความคมเข้มของหมึกพิมพ์สีดำด้วยแบรนด์ปริ้นเตอร์ค่ายต่างๆ
คำแนะนำที่ดีที่สุดคือการทำภาพให้มีรายละเอียดครบโซนและครอบคลุมการแสดงผลมากที่สุด หากจะนำไปพิมพ์ก็ศึกษาหรือทราบข้อมูลของรูปแบบงานบนสื่อนั้นจะเป็นประโยชน์มากกว่านั่นเอง