ความเข้าใจเกี่ยวกับการผสานเลเยอร์
ถ้าจะพูดถึงการผสานเลเยอร์ในโปรแกรม Photoshop CC โดยที่ไม่พูดถึงการทำงานโดยทั่วไปของเลเยอร์ในโปรแกรมก็คงจะสื่อสารให้มือใหม่เข้าใจและศึกษาอย่างประสบความสำเร็จได้ยาก ดังนั้นบทความนี้จึงเป็นการพูดถึงพฤติกรรมการทำงานในโปรแกรมล้วนๆว่าอะไรคืออะไร เป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นหากจะใช้งานขึ้นมา
ระบบเลเยอร์คือสิ่งที่ทำให้ Photoshop เหนือกว่าโปรแกรมอื่นที่ไม่มี

เทียบกับโปรแกรมตกแต่งภาพถ่ายในค่ายเดียวกันเองอย่าง Lightroom Classic CC ที่ไม่มีระบบเลเยอร์นั้น ช่วงแรกจะดูเหมือนว่า Photoshop คือสิ่งน่ากลัวที่ต้องเรียนรู้ แต่สำหรับคนที่เขาเคยชินทั้งสองโปรแกรมบอกเลยว่าไม่ใช่แบบนั้นแน่ เพราะการใช้งานที่ละเอียดซับซ้อนกว่าของ Photoshop ได้ให้อิสระอย่างมหาศาลในการแก้ไขภาพ อย่างที่โปรแกรม Lightroom ทำไม่ได้

การแก้ไขแยกเป็นส่วนได้ทำให้อะไรๆง่ายกว่าเดิมเยอะ
ไอ้ที่จะแก้ไขแล้วเสียหายก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องกลับมาทำใหม่

ระบบเลเยอร์คืออะไร?

ระบบเลเยอร์ คือ ระบบที่แยกการทำงานออกเป็นลำดับชั้น ยกตัวอย่างเช่น การวาดรูปสามเหลี่ยม, วงกลม และสี่เหลี่ยมทับกันบนกระดาษชิ้นเดียว มันไม่ง่ายเลยที่จะแก้ไขรูปทีละรูปเมื่อรู้ว่าตัวเองทำอะไรผิดพลาดขึ้นมา แต่ถ้ามีระบบเลเยอร์เราก็แยกรูปสามรูปไว้บนกระดาษใสๆอย่างละแผ่นแล้วประกบกัน อยากแก้ไขรูปไหนก็แค่เอาแผ่นนั้นออกมาแก้ แค่นี้แหล่ะระบบเลเยอร์

การทำงานของระบบเลเยอร์จริงๆใน Photoshop CC

ไม่ใช่แค่เลเยอร์อย่างเดียวที่ทำให้ Photoshop ไร้ขีดจำกัด

เอาแค่ระบบที่ว่ามาอย่างเดียวก็ทำให้คนที่เห็นหน้าจอเครื่องมือเยอะๆเริ่มมีอาการหวาดกลัวแล้ว และก็ไม่ใช่แค่นั้น สิ่งที่ต่อยอดซึ่งเป็นผลมาจากระบบเลเยอร์ยังมีลูกเล่นมากมายให้ปรับแต่อีก ไม่ว่าจะเป็นการซ่อนแสงบางส่วนในเลเยอร์ (โดยที่ภาพต้นฉบับจริงๆก็ไม่ได้ถูกลบไปไหน) และโหมดผสานเลเยอร์ที่เรากำลังจะพูดถึงในต่อจากนี้

การผสานเลเยอร์ใน Photoshop

การผสานเลเยอร์ใน Photoshop CC ใช้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการควบคุมเลเยอร์ในระดับหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่ยังไม่ได้พื้นฐานเลยก็จะรู้สึกว่านี่มันอะไรกันเนี่ย วิธีง่ายๆก็คืออ่านย่อหน้าข้างบนมาให้เรียบร้อยก่อน และเริ่มทำความเข้าใจการผสานเลเยอร์ได้เลย

การผสานเลเยอร์มีสิ่งที่ต้องเข้าใจอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ Base Layer, Blend Color และ Result โดยที่ Base Layer จะหมายถึงเลเยอร์ฐานที่อยู่ด้านล่างมีหน้าที่ถูกประกบด้วย Blend Layer ซึ่งก็เป็นเลเยอร์ปกติด้านบนนี่ล่ะ เพียงแต่ว่าถูกปรับโหมดการทำงานแบบต่างๆให้ผสานกับ Base Layer จนทำให้เกิดผลลัพธ์เมื่อมองทะลุผ่านทั้งหมดจากโหมดผสาน เรียกว่า Result

การผสานเลเยอร์ใน Photoshop

คือจะเรียนให้หมดเลยในบทนี้ก็มีอ้วกแตกกันบ้าง ละเอาไว้ไปพูดย่อยๆในตอนอื่นบ้างก็คงดี เอาเป็นว่ารู้ก่อนเนาะว่ามันมีรูปแบบการผสานที่เยอะพอสมควรในโปรแกรม อีกทั้งโหมดแต่ละโหมดก็มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน

เห็นไหมล่ะว่าโหมดผสานเยอะมากจริงๆ

ตัวอย่างการผสานเลเยอร์ด้วยโหมด Color

จากภาพเป็นตัวอย่างการทำภาพขาวดำให้กลายเป็นภาพสี คือภาพต้นฉบับเนี่ยดำปี๋เลยล่ะ เราก็เลยเอามันเป็น Base Layer ให้เรียบร้อยเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปยุ่งอะไร จากนั้นสร้างเลเยอร์เปล่าๆขึ้นมาเหมือนเอากระดาษใสมาแปะทับ แล้วทางสีลงไป เวลามองทะลุลงมาก็เหมือนกับการให้สีกับภาพขาวดำกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งนั่นเอง (ตรงนี้ใช้โหมดผสานแบบ Color ซึ่งจะถอดเอาเฉพาะค่าสีจาก Blend Layer ไปผสมกับค่าความสว่างและเฉดจาก Base Layer)

การใช้โหมดผสานเลเยอร์ Color เพื่อทำให้ภาพกลับมามีสีอีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า