สร้างความน่าสนใจให้กับภาพด้วย ‘สีสัน’
ในเฟสที่ 2 ของหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY เป็นการขยายความหมายของเนื้อหาจากรูปแบบ Speed-Concept ที่ได้ผ่านไปแล้วเป็นแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดสนใจ’ (Point of Interest) ว่าพอจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจและมีความเห็นแบบเดียวกันกับผู้บันทึกภาพเมื่อชมภาพดังกล่าว เนื้อหาจะเป็นสาธารณะแบบไม่จัดเรียง แต่สำหรับคลิปวิดีโอเฉพาะผู้ที่ลงเรียนกับเราเท่านั้น

หากสังเกตดีๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มักชอบถ่ายรูปในสิ่งที่มีสีสันสวยๆ เช่น ดอกทานตะวันสีเหลืองโดดเด่นภายใต้สีเขียวจากใบและก้านที่เป็นจุดสนใจรอง หรือการถ่ายภาพวิวในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีม่วงแดงเนื่องจากพระอาทิตย์กำลังตกดิน เป็นไปได้ว่าสีสันในขณะนั้นกำลังสร้างแรงดึงดูดต่อการมองเห็นของเรา

ความสำคัญของสีต่อการรับชมภาพ

สีในภาพถ่ายทำงานอยู่ 2 ฟังก์ชั่นด้วยกัน ได้แก่การสร้างจุดสนใจและสร้างอารมณ์ให้กับภาพถ่าย ในการแยกย่อยความสำคัญของแต่ละหัวข้อจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆว่ามีความน่าสนใจอย่างไร หรือสร้างความรู้สึกทางการมองเห็นอย่างไรด้วยการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์สีซึ่งจะทำให้การศึกษามีความเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

ถ้าใช้สีได้อย่างถูกต้องก็จะสร้างจุดสนใจและสร้างอารมณ์ในการรับชมภาพได้แม่นยำ

สี กับ การสร้างจุดสนใจ

วิธีการสร้างจุดสนใจให้กับภาพไม่ใช่แค่การมองแบบผิวเผินว่าเพียงการเลือกใช้สีวัตถุสนใจให้แตกต่างจากองค์ประกอบอื่นๆในภาพ เพราะลึกกว่านั้นคือการมองสีให้อยู่ในรูปขององค์ประกอบที่มีมิติ ซึ่งกรณีของสีจะมี 3 มิติด้วยกัน ได้แก่ สีสัน (Hue), ความอิ่มตัว (Saturation) และ ค่าความสว่าง (Luminance)

สำหรับค่า (Luminance) จะมีความเกี่ยวของกับวรรณะของสี โดยที่สีในวรรณะร้อนจะมีค่าความสว่างมากกว่าสีในวรรณะเย็น เมื่อเรานำสีออกทั้งหมดให้แสดงเป็นโทนเทา ถ้ามีความเข้าใจในส่วนนี้อย่างกระจ่างแล้วจะช่วยให้เราเข้าใจการทำภาพแนวเอกรงค์ได้ดีขึ้นด้วย

สี กับ การสร้างอารมณ์

ด้วยความเข้าใจในแนวทางเดียวกันของคนในสังคมนั้นมักจะมีการกำหนดให้สีในแต่ละสีเป็นตัวแทนของอารมณ์และสัญลักษณ์อะไรสักอย่าง การเลือกใช้สีในภาพควรมีจุดมุ่งหมายที่แม่นยำ และสอดคล้องกับหลักการใช้สีเชิงจิตวิทยา

หลักการเลือกใช้สีในภาพถ่ายอย่างง่าย

ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าช่างภาพจะใช้สีเป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่ขอให้จำเอาไว้ว่ายิ่งการเลือกใช้สีในภาพถ่ายที่น้อยก็จะช่วยลดความสับสนและลดโฟกัสของผู้รับชมภาพไปยังส่วนรบกวนสายตาได้กีมากยิ่งขึ้น และต้องพิจารณาเรื่องความรู้สึกโดยรวมที่มีในภาพให้ดีว่าไปในแนวทางเดียวกันหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น ป่าลึกลับในยามค่ำคืนที่ฉาบไปด้วยสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำทั้งภาพ ให้ความรู้สึกน่ากลัวและหวาดระแวง หรือ พระพุทธรูปสีทองท่ามกลางบรรยากาศที่สว่างน้อยกว่า ช่วยดึงความสนใจและยังให้ความรู้สึกสว่างไสว, ความมีปัญญา หรือ ความน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นต้น

ถ้าเป็นสีเย็นก็รู้สึกอีกแบบหนึ่ง สีร้อนก็จะรู้สึกไปอีกแบบหนึ่ง

สำหรับเรื่องทฤษฎีสียังศึกษาเพิ่มเติมต่อไปได้อีกมาก อย่างในหลักสูตรทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอลของเราก็แตกแขนงออกไปจากหลักการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย ซึ่งช่วยให้งานภาพถ่ายดีขึ้นได้โดยตรง

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า