รูปแบบไฟล์ที่เหมาะสมในขั้นตอนต่างๆ
เรามีทางเลือกมากมายเพื่อเก็บภาพให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ต่างๆ แต่มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นที่เหมาะสม การเรียนรู้คุณสมบัติจึงมีความจำเป็น

ถ้าเราทราบรูปแบบการบันทึกข้อมูลไฟล์ในแต่ละขั้นตอนให้เป็นนามสกุลที่เหมาะสม จะช่วยให้ตลอดกระบวนการมีการลดทอนที่น้อยลงกว่าการไม่รู้ได้อย่างมาก

หนทางการรักษาคุณภาพของข้อมูลในไฟล์ภาพๆหนึ่ง ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้วจะอยู่ในรูปแบบไฟล์อะไร สิ่งสำคัญกว่าคือการที่ผู้ใช้มีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วหรือไม่ รูปแบบไฟล์ที่ใช้การบันทึกลงตัวกล้องควรเป็นแบบใด, เก็บไฟล์ลงบนคอมพิวเตอร์รูปแบบใด, ส่งผ่านไปยังโปรแกรมตกแต่งแก้ไขในรูปแบบไฟล์แบบใด, รูปแบบไฟล์เมื่อมีการลดทอนคุณภาพไฟล์อย่างไรจึงจะดีที่สุด หรือแม้แต่ส่งออกและเผยแพร่ไปยังแหล่งเผยแพร่ต่างๆ

การบันทึกไฟล์ที่ตัวกล้อง

การบันทึกไฟล์ที่ตัวกล้องขึ้นอยู่กับความสามารถและข้อจำกัดที่ตัวกล้องโดยตรง เป็นไปตามเทคโนโลยีของกล้องในขณะนั้นเท่าที่จะมีได้ เช่น ถ้าเป็นกล้องถ่ายภาพดิจิตอลของ Canon ก็อาจบันทึกได้ในแบบทั่วไปคือ JPEG ซึ่งกล้องแบบไหนก็ทำได้ แต่ถ้าเป็นไฟล์ภาพดิบจะได้แค่ .CR2 ซึ่งเป็นนามสกุลไฟล์ภาพดิบเอกลักษณ์เทคโนโลยีของ Canon เท่านั้น

ไฟล์ภาพดิบเหมาะกับช่างภาพที่ต้องนำไปตกแต่งก่อนแปลงเป็น JPEG ส่วน JPEG สามารถนำไปใช้ได้เลยก็จริงแต่ก็หมดโอกาสในการได้ข้อมูลจำนวนมากไปแก้ไข

ไฟล์ภาพดิบ (RAW)

รูปแบบข้อมูลไฟล์ครั้งแรกที่เกิดขึ้นหลังกดชัตเตอร์ ข้อมูลภายในนั้นไม่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนหรือนำไปใช้งานได้ตามแหล่งเผยแพร่ทันที ไฟล์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะได้รับการตกแต่งแก้ไขคัดเลือกข้อมูลที่จำเป็นแล้วบันทึกเป็นไฟล์ใหม่ที่มีขนาดเล็กกว่าโดยที่สำเนาต้นฉบับก็ยังเหมือนเดิมเสมือนเรามีเอกสารต้นฉบับที่สามารถนำไปถ่ายเอกสารได้เรื่อยๆโดยที่คุณภาพไม่ลดลง RAW นั้นมีนามสกุลที่หลากหลายขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของกล้องแต่ละค่าย เช่น Nikon มีนามสกุลเป็น .nef, Sony มีนามสกุลเป็น .arw, Canon มีนามสกุลเป็น .cr2 หรือ FujiFilm มีนามสกุลเป็น .raf เป็นต้น

ไฟล์ภาพดิบแบบ DNG

เพราะปัญหาในเทคโนโลยีที่แตกต่างกันของแต่ละค่ายผู้ผลิตในการสร้างไฟล์ภาพดิบ Adobe จึงคิดการเข้ารหัสที่มีความเป็นสากลที่ทำให้โปรแกรมตกแต่งแก้ไขไฟล์สำหรับช่างภาพโดยเฉพาะสามารถเข้าใจและเปิดทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยอัปเดตให้ทันกับรุ่นของกล้องที่ปล่อยออกมา ปัจจุบันความจำเป็นในการแปลงไฟล์จาก RAW เป็น DNG ถึงจะน้อยลงเรื่อยๆ แต่ผู้ศึกษาก็ควรทราบว่ามันคือ RAW ประเภทหนึ่ง

ไฟล์ TIFF (Tagged-Image File Format)

ไฟล์ภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความละเอียดในการบันทึกสูงกว่า JPEG ค่อนข้างมาก และจำนวนบิตที่สูงกว่าถึง 2 เท่า ทำให้เหมาะกับการนำไปพิมพ์หรือใช้งานที่มีความสามารถในการปรับแต่งแก้ไขที่ยืดหยุ่นมากกว่า แลกกับขนาดไฟล์ที่เพิ่มขึ้นมาก

ไฟล์ภาพ JPEG (Joint Photographic Experts Group)

หนึ่งในรูปแบบไฟล์ภาพที่มีความแพร่หลายและใช้แลกเปลี่ยนไปมาได้ง่าย ให้เข้าใจว่าเป็นรูปแบบไฟล์ภาพชนิดหนึ่งที่มีการบีบอัดข้อมูลมหาศาล ขนาดที่ไม่ใหญ่มากเกินไป การบันทึกไฟล์ลักษณะดังกล่าวที่ตัวกล้องจึงเป็นปลายทางสุดท้ายที่มีความละเอียดต่ำสุดเมื่อเทียบกับ RAW และไม่ค่อยเหมาะสมนักกับการนำไปตกแต่งแก้ไขหรือลดทอนข้อมูลลงอีก

การบันทึกไฟล์ลงคอมพิวเตอร์หรือแหล่งจัดเก็บ

สำหรับช่างภาพนั้นโดยมากจะบันทึกลงในรูปแบบไฟล์ภาพดิบที่มาจากตัวกล้องได้เลยโดยที่เชื่อมต่อการ์ดข้อมูลเข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วส่งผ่านไปยังแหล่งจัดเก็บด้วยโปรแกรมตัวกลาง

ไม่มีข้อจำกัดในการเก็บเนื่องจากว่าเชื่อมต่อกับแหล่งจัดเก็บอื่นๆได้

การบันทึกไฟล์ที่ Adobe Photoshop CC

โปรแกรม Adobe Photoshop มีขั้นตอนการบันทึกไฟล์ที่หลากหลาย ถึงอย่างนั้นก็มีหลายอย่างที่โปรแกรมไม่สามารถบันทึกหรือแม้แต่จัดการได้โดยตรง ยกตัวอย่างเช่นไฟล์ภาพดิบ (RAW ที่มีนามสกุลรูปแบบต่างๆขึ้นอยู่กับแต่ละกล้อง) ซึ่งจะต้องใช้ปลั๊กอินภายในอย่าง Adobe Camera RAW ขึ้นมาจัดการก่อนเป็นขั้นตอนที่ 1 ก่อนจะส่งผ่านมายังโปรแกรม อย่างไรก็ตามไฟล์ที่สามารถบันทึกได้ใน Photoshop แบบที่ทำในที่อื่นไม่ได้มีดังนี้

จาก Adobe Camera RAW ไปยัง Photoshop CC

เริ่มต้นด้วยการนำไฟล์ RAW เข้ามายังปลั๊กอิน ทำการตกแต่งแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วกำหนดค่าการส่งออกมาที่ Photoshop CC ด้วยรูปแบบไฟล์ที่ดีที่สุดคือ TIFF รูปแบบสีกว้างสุดคือ ProPhotoRGB แบบ 16 บิต

จาก Photoshop CC ไปยังแหล่งเผยแพร่ภายนอก

สำหรับการส่งออกไฟล์ไปยังภายนอก สิ่งที่ต้อคำนึงถึงคือรูปแบบสี ที่เป็นไปได้ทั้ง ProPhotoRGB, AdobeRGB, sRGB หรืออื่นๆ เช่น รูปแบบสำหรับงานพิมพ์ รูปแบบไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลสีนั้นมีสองแบบหลักได้แก่ TIFF และ JPEG โดยที่ TIFF จะเก็บได้ถึง 16 บิต ในขณะที่ JPEG เก็บได้แค่ 8 บิตเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า