เหตุผลเกี่ยวกับภาพที่ทำให้สอบ Stock ไม่ผ่าน และวิธีแก้ไข

ผู้ถ่ายภาพหน้าใหม่จำนวนมากเริ่มให้ความสนใจในช่องทางการหารายได้จากภาพที่ตัวเองมีอยู่เพื่อเสนอขายในรูปแบบลิขสิทธิ์ให้กับเว็บไซต์ตัวกลาง แต่ปัญหาที่พบไม่น้อยไปกว่าจำนวนคนเหล่านี้ก็คือคำปฏิเสธอันเนื่องมาจากกฏระเบียบการรักษามาตรฐานคุณภาพที่ส่งขาย บทความนี้จึงถูกเขียนมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าทำไมจึงถูกปฏิเสธ และเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งไปตรวจครับ

ปัญหาของการส่งภาพไปแล้วไม่ผ่าน มีสองกลุ่มใหญ่ๆด้วยกัน กล่าวคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากภาพโดยตรง และ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำผิดกฏข้อปฏิบัติเรื่องข้อมูลความถูกต้อง เราจะกล่าวกันโดยพุ่งเป้าไปที่ประเด็นแรก ซึ่งสอดคล้องเนื้อหาที่คุณจะได้พบจากเราโดยตรง

สาเหตุอันเนื่องมาจากภาพที่ทำให้สอบหรือส่งภาพขายไม่ผ่าน พร้อมวิธีการแก้ไข

1. มีคลื่นสัญญาณรบกวนในภาพเยอะมากเกินไป

คลื่นสัญญาณรบกวน หรือนอยซ์ (Noise) คือเหตุผลแรกๆที่ทำให้คุณสอบภาพหรือส่งขายไม่ผ่าน สาเหตุของการเกิดปัญหานี้เนื่องมาจากการเลือกใช้ค่าความไวแสงที่สูงหรือเปิดม่านชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพนาน ภาพที่ได้จึงไม่มีคุณภาพมากพอจนทางผู้ตรวจจะยอมรับได้ ทำให้ภาพถูกปัดตกลงไป

นอยซ์ประเภทสี (Chroma Noise) มีลักษณะเป็นพิกเซล แดง-เขียว-น้ำเงิน
ปะปนอยู่ในรายละเอียดของภาพ

วิธีการแก้ไขและป้องกัน : ทางเลือกที่ดีที่สุดคือไม่ต้องให้มันเกิดขึ้นมาเลยด้วยการใช้ค่าความไวแสงต่ำลง และถ้าความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงมากจนไม่สามารถถือได้ด้วยมือเปล่าก็ให้ใช้ขาตั้งกล้อง กรณีของการแก้ไขตกแต่งภาพเมื่อมีปัญหาในภาพขึ้นมาแล้วก็สามารถใช้ซอฟท์แวร์ตกแต่งแก้ไขได้ ยกตัวอย่างเช่นปลั๊กอิน DFine จาก Nik Collection by DxO เพื่อการกำจัดคลื่นสัญญาณรบกวนโดยเฉพาะ

การใช้งานความไวแสง ความรู้ขั้นพื้นฐานที่มีสอนในหลักสูตร
“หลักการถ่ายภาพพื้นฐาน” จาก DozzDIY ช่วยในตรงนี้ได้นะ

พึงระวังการลดนอยซ์ที่มากเกินไปเพราะจะทำให้ภาพเบลอ ซึ่งเป็นสาเหตุการปฏิเสธภาพในหัวข้อที่สอง

2. ความคมชัดไม่ถูกต้อง

ความคมชัดไม่ถูกต้อง มีความหมายที่เป็นไปได้ทั้งภาพที่เบลอจากการสั่นไหวเนื่องจากความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไป หรือการเร่งความคมชัดมากหรือน้อยเกินไป ทำให้ความเปรียบต่างที่บริเวณขอบสีใดๆในภาพมากหรือน้อยกว่าคำว่าพอดี

ยังไม่มีการปรับคม

ปรับคมได้พอดี (Radius 0.2-1)

ปรับคมมากเกินไป (Radius > 1.5)

วิธีการแก้ไขและป้องกัน : ถ้าภาพไม่ชัดเพราะความสั่นไหวให้ใช้ขาตั้ง ส่วนความคมชัดที่เกิดจากการปรับให้ใช้การขยายภาพแบบ 100% แล้วดูค่ารัศมีในการปรับคม (Radius) ที่มักขึ้นอยู่กับขนาดภาพ เช่นภาพที่มีขนาดใหญ่ รัศมีขอบภาพก็ต้องมากกว่าภาพขนาดเล็กจึงจะครอบคลุม ให้ระวังการเกิดแสงหลอนที่ขอบภาพด้วยเป็นสำคัญ

3. ระยะชัดไม่ครอบคลุม

ระยะชัดไม่ครอบคลุมมีสาเหตุมาจากการเลือกใช้ค่ารูรับแสงที่ไม่ถูกต้องและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอารมณ์ของภาพที่คลาดเคลื่อน เช่น ผู้บันทึกคิดว่าการใช้รูรับแสงที่กว้างตลอดไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ทำให้ติดเป็นความเคยชินจนกลายเป็นเรื่องที่ทำให้ภาพถูกปฏิเสธในที่สุด

ขอให้ระวังเรื่องความคมชัดของจุดสนใจให้ดี

วิธีแก้ไขและป้องกัน : กรณีภาพถ่ายทั่วไปควรตรวจสอบตลอดเวลาว่ารูรับแสงที่ใช้มีระยะชัดครอบคลุมวัตถุหรือสิ่งที่ต้องการนำเสนอหรือยัง นึกถึงวัตถุประสงค์ของคนที่ซื้อภาพไปใช้เป็นหลักว่าถ้าเกิดเขาจะเอาไปตัดใช้ขึ้นมาความคมชัดที่ไปไม่ถึงจะกลายเป็นปัญหาหรือไม่ สำหรับกรณีภาพถ่ายมาโครอาจจะต้องใช้เทคนิคผสานความชัดภาพในช่วงต่างๆด้วยโปรแกรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรูรับแสง

4. ใช้การตกแต่งภาพถ่ายมากเกินไป

รสนิยมในการตกแต่งภาพถ่ายของคนแต่ละคนค่อยๆแปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แต่กฏก็ยังเป็นกฏ เท่าที่เคยทำมามีแหล่งเผยแพร่ภาพถ่ายหลายๆที่ไม่ได้ซีเรียสกับการทำสีให้ภาพถ่าย แต่มักจะไปเอาจริงตรงความมากเกินไปของสีที่เกิดจากฮิสโตแกรมของภาพมากว่า ตรงนี้เหมือนจะต้องอธิบายกันยาวถ้าจะเล่นเรื่องโทนสี แต่ถ้าจะเน้นปลอดภัยในการส่งภาพก็ขอให้เน้นความสมจริงเป็นหลัก

Reject กันแบบไม่ต้องสงสัย ทำภาพแบบนี้

วิธีการแก้ไขและป้องกัน : ศึกษาฮิสโตแกรมของภาพถ่าย, สเกลน้ำหนักหรือเส้นเคิร์ฟ และสมดุลแสงขาวไว้ให้ดีๆ

5. มีใบหน้าคนหรือโลโก้แบรนด์ปรากฏในภาพอย่างชัดเจน

เหตุผลเรื่องของลิขสิทธิ์นั่นเอง แม้แต่หน้าคนที่ชัดหากตัวแบบไม่มีการเซ็นต์ใบยินยอมก็ทำให้ภาพไม่ผ่านได้แล้ว ควรระวังเรื่องสิ่งที่จะทำให้ภาพไม่ผ่านให้ดีๆ พวกโลโก้สินค้า, ลายน้ำ และอื่นๆ

ระบุตัวบุคคลไม่ได้แบบนี้จึงจะมีเกณฑ์ผ่านนะครับ

วิธีแก้ไขและป้องกัน : เลี่ยง หรือ ลบด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย ยกตัวอย่างเช่น Spot Healing Brush ใน Lightroom Classic หรือโหมด Content-Aware ใน Photoshop CC

6. รีทัชไม่เนียน

การรีทัชไม่เนียนเป็นปัญหาด้านทักษะการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพถ่ายทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น หรืออาจเกิดจากการขาดความละเอียดในการตรวจสอบก็ได้ และถ้าเป็นแบบนี้ก็จะทำให้ภาพไม่ผ่านได้เช่นกัน

แทนที่จะขจัดปัญหากลายเป็นปัญหาขึ้นมาเองเสียแบบนั้น

วิธีแก้ไขและป้องกัน : ศึกษาเครื่องมือ ข้อดีข้อเสีย ของเครื่องมือให้ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเมื่อจำเป็นต้องใช้ และตรวจสอบความเรียบร้อยทุกครั้ง

7. แสงแย่มากเกินไป

แสงแย่ จัดเป็นปัญหาที่อยู่ในกลุ่มประเภทค่าการรับแสง’ (Exposure) ของการบันทึกภาพจากกล้อง ซึ่งนั่นหมายถึงว่าจะต้องมีตัวแปรบางอย่างผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็น ค่ารูรับแสง,​ความเร็วชัตเตอร์ และความไวแสง รวมไปถึงตัวแปรยิบย่อยเช่น การชดเชยแสงที่มากหรือน้อยเกินไป ทำให้ภาพนั้นดูแย่ลงในที่สุด กรณีดังกล่าวสะท้อนถึงพื้นฐานการถ่ายภาพที่ไม่ดีของผู้บันทึกอีกด้วย

มีแววนะภาพนี้…. มีแววไม่ผ่านสูงมากเลยล่ะ

วิธีแก้ไขและป้องกัน : ตรวจสอบผลลัพธ์ทางอ้อมที่มาจากแสงกับค่าตัวแปรคาดไม่ถึงต่างๆ เช่น สมดุลแสงขาว และบริเวณเงาของภาพที่มืดจนไม่มีรายละเอียด ศึกษาฮิสโตแกรมและความสัมพันธ์ของสามตัวแปรในการรับแสงเพื่อการถ่ายภาพดิจิตอลให้ดี

แสงแย่ เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการถ่ายภาพอย่างแท้จริง
ควรปรับปรุงเรื่องความรู้พื้นฐานในการถ่ายภาพโดยด่วน

8. ความด่างสีที่เกิดจากคุณภาพของไฟล์ JPEG

ถ้าเทียบภาพ JPEG กับภาพนามสกุล RAW ที่บันทึกได้จากกล้อง ความละเอียดในการไล่สีของ JPEG นั้นน้อยลงอย่างมากจนเทียบ RAW ไม่ติด แถมคุณภาพไฟล์ยังลดลงเรื่อยยิ่งแก้ไขตกแต่งแล้วเซฟทับอย่างต่อเนื่อง จะเกิดปรากฏการไล่สีที่ไม่เนียนเรียกง่ายๆว่าสีแตกออกเป็นเหลี่ยมๆนั่นเอง และนั่นก็เป็นผลให้ถูกปฏิเสธภาพเวลาส่งขายจ้า

โชคดีภาพนี้ยังสังเกตง่าย หมั่นสังเกตส่วนไล่โทนภาพดูนะครับ

วิธีแก้ไขและป้องกัน : ไม่มีวิธีแก้ไข บอกได้แค่ว่าเลือกบันทึกไฟล์ที่คุณภาพสูงสุดทุกครั้งและอย่าเผลอไปปรับแต่งหรือดึงค่าการรับแสงในส่วนการตกแต่งภาพถ่ายมากจนเกินไป ถ่ายมาให้ดีตั้งแต่ต้นนั้นดีที่สุด

9. ฝุ่นและข้อบกพร่องของเลนส์

ฝุ่นและข้อบกพร่องของเลนส์บางทีก็เป็นเรื่องสุดวิสัย กรณีนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้คุณได้รับการอนุโลมจากเว็บขายภาพเวลาส่งตรวจเสียด้วย ถ้าโดนขึ้นมาก็คงเป็นเพราะเราไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อนส่งไปนั่นเอง เป็นเรื่องที่ต้องใช้การตรวจสอบว่าข้อบกพร่องเหล่านี้เริ่มเด่นชัดจนกลายเป็นปัญหาหรือยัง

ตรวจสอบเลนส์ของท่านให้ดีทุกครั้งว่าจะไม่สร้างปัญหาในภาพถ่ายภายหลัง

วิธีแก้ไขและป้องกัน : ส่งเลนส์ไปล้างหรือซื้อเลนส์ใหม่ที่ดีขึ้น มันก็ยากกว่าการมาลบออกแล้วส่งไปจากนั้นก็ผ่าน ควรจะเรียนทักษะในการรีทัชจุดบกพร่องพวกนี้ให้ดี เช่น เครื่องมือแก้ไขอาการคลาดสีใน Lightroom Classic หรือ Photoshop แล้วก็เครื่องมือที่ใช้ง่ายมากๆอย่าง Spot Healing Brush

หมายเหตุ :  หลักสูตร “หลักการถ่ายภาพพื้นฐาน” (Basic Photography : Newbie QuickStart) จาก DozzDIY เปิดให้ซื้อเรียนได้แล้วในราคา 1,490 บาท รูปแบบคลิปวิดีโอ 4K ดิจิตอลดาวน์โหลด สนใจติดต่อทาง LineID : ‘@DozzDIY’ หรือทางข้อความเพจ DozzDIY โดยตรง ตั้งแต่เวลา 6:00 – 22:00 น.

หลายคนอยากรู้ว่าถ่ายภาพยังไงให้ผ่านตลอดโดยมองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยๆเช่น ทำไมต้องเรียนเรื่องรูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์, ความไวแสง และตัวแปรที่ดูจากชื่อแล้วไม่น่าสนใจ ทั้งที่จริงแล้วเรื่องพวกนี้เป็นทางผ่านชั้นดีที่ทำให้เราสอบภาพได้ง่ายกว่าคนที่ไม่รู้อย่างมาก จึงไม่แปลกที่จู่ๆคนที่หัดเล่นกล้องไม่นานแล้วอยากหาเงินเลยโดยการไปสอบสต็อกจะตกกันระนาวด้วยข้อหาพวกนี้ และถ้าคุณคิดว่าตัวเองจะหาเงินด้วยเส้นทางนี้แล้วล่ะก็ เราขอถามว่าพื้นฐานคุณแน่นดีพอแล้วหรือยังครับ?

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า