เสริมความสามารถในการโฟกัสภาพแบบแมนนวล
ความผิดพลาดในการโฟกัสที่มีสาเหตุมาจากระบบของตัวกล้องจวบจนถึงปัจจุบันทำให้ใครหลายคนพลาดวาระสำคัญในชีวิตไปมากมาย จนเราไม่อาจให้ความเชื่อมั่นกับระบบอัตโนมัติ และหนทางในการแก้ปัญหาที่ดีวิธีหนึ่งคือการเลือกกำหนดโฟกัสด้วยตัวเอง

แต่การใช้เลนส์หมุนหาโฟกัสภาพด้วยตนเองเป็นของแสลงกับช่างภาพไม่น้อยเพราะจะต้องกะระยะเอาจากช่องมองที่ให้ความคมชัดกับดวงตาเพียงน้อยนิด หรือจอ LCD ที่ไม่อาจยืนยันโฟกัสหากแสงกลางวันมีความสว่างมากกว่า ไม่ว่าจะมีความลำบากในลักษณะใดก็ตาม เทคนิคด้านล้างนี้มีความสำคัญต่อผู้ที่ข้องเกี่ยวกับระบบโฟกัสด้วยตนเอง (Manual Focus) ซึ่งเป็น 1 ในเทคนิคที่ผู้เรียนหลักสูตรพิเศษถ่ายกับมือ’ (Handheld Mastery) ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ

กล้องที่ผู้สอนใช้นั้นระบบโฟกัสอัตโนมัติก็ไม่ใช่ว่าดีนะครับ ยิ่งเวลากลางคืนเลิกคิดถึงระบบอัตโนมัติไปได้เลย การโฟกัสด้วยตนเองจึงได้ใช้อยู่บ่อยๆจนเป็นเรื่องปกติ

วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดอาจต้องจดจำไว้ว่าความคมชัดที่แท้จริงคลาดเคลื่อนไปเป็นระยะมากเท่าใด แล้วโฟกัสทดระยะไปแบบนั้น หรือปิดระบบช่วยโฟกัสไปเลยเป็นอีกทางเลือกที่ทำได้เช่นกัน

1. เลนส์ไวแสงให้ผลลัพธ์ที่ดีและแม่นยำมากกว่า

เราอาจจะต้องพูดถกเถียงกันถึงประเด็นของสาเหตุที่ทำให้เลนส์ไวแสงหรือเลนส์ไพร์มให้อัตราความสำเร็จในการโฟกัสสูงกว่าเลนส์ซูมอย่างมีนัยสำคัญอย่างไร ซึ่งก็มีหลายเหตุผลที่ทำให้เลนส์กลุ่มนี้ควรเป็นเลนส์ชุดที่ควรเลือกใช้เมื่อต้องปรับโหมดการโฟกัสเป็นแบบแมนนวลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บรรดากลุ่มเลนส์ไวแสงระดับสูงอนุกรม Art จาก Sigma มีบางตัวที่ผู้สอนใช้อยู่ครับ 

เหตุผลที่ 1 : เลนส์ไวแสงส่งผลต่อความเร็วชัตเตอร์ที่ได้รับ

เพราะความไวแสงเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการเอาชนะความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งปวง การเพิ่มขึ้นของรูรับแสงเพียง 1-2 สต็อปอาจเป็นจุดชี้ตายได้ว่า ภาพจะมีคุณภาพสูงกว่าที่ควรจะเป็นหรือหยุดการเคลื่อนที่นั้นเอาไว้อย่างเด็ดขาดได้หรือไม่ อีกทั้งความเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวที่มีการเคลื่อนไหวของชิ้นเลนส์ = 0 มุมตกกระทบแสงที่เป็นสาเหตุของปัญหาสีคลาดในภาพจึงต่ำกว่าเลนส์ซูมอย่างมาก

ห่างกันเพียง 1 สต็อป ความไวแสงก็เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเลย

เหตุผลที่ 2 : ไม่ต้องมานั่งจดจำ Depth of Field กันบ่อยๆ

สิ่งที่เราทราบจากการถ่ายภาพมาแล้วสักระยะก็คือ ต่อให้เราใช้ f แคบให้ตายอย่างไร ถ้าหากวัตถุในโฟกัสอยู่ห่างจากวัตถุนอกโฟกัสอย่างมาก อาการเบลอย่อมเกิดขึ้น และหากวัตถุในโฟกัสใกล้กับวัตถุนอกโฟกัสมากเท่าไร ผลที่เกิดขึ้นจาก f กว้างก็ยิ่งส่งผลน้อยลง ทั้งสองสิ่งนี้ไม่เคยคงที่ไปตามช่วงทางยาวโฟกัสเสียด้วย การใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวต้องใช้ความเคยชินและการคำนวนซึ่งจะเร็วขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีความคุ้นเคยกับเลนส์ตัวนั้นเป็นอย่างดีแล้ว

ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DOF’) คือ ระยะที่ชัดมากที่สุดตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลังของวัตถุในโฟกัส

2. เลนส์ทางยาวโฟกัสต่ำโฟกัสพลาดน้อยกว่า

ถ้าให้เทียบระหว่างเลนส์ 18mm, 24mm และ 35mm การใช้เลนส์ 18mm ไปกับโหมดโฟกัสด้วยมือโอกาสสำเร็จในการโฟกัสด้วยโหมดนี้ก็ย่อมมีความสำเร็จที่สูงกว่า เหตุผลเนื่องจากมุมรับภาพที่กว้างและผลลัพธ์ในทางออปติก ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการเลือกเลนส์ให้เหมาะสมกับงานยังคงมีความจำเป็น ไม่ต้องจริงจังกับกฎให้มากนักเพราะเป็นเพียงแนวทางคร่าวๆเท่านั้น

เลนส์ที่ใช้ยิ่งมีทางยาวโฟกัสต่ำ ระยะโฟกัสยิ่งมากทำให้เข้าเป้าได้ง่าย

3. ความเร็วชัตเตอร์คือตัวแปรสำคัญในการใช้งาน

สิ่งที่ส่งผลต่อความคมชัดและความเบลอของภาพคือความเร็วชัตเตอร์อย่าคิดเพียงว่าเราละการใช้โหมดโฟกัสอัตโนมัติของกล้องออกไปแล้วจะสบายขึ้น เพราะอาการสั่นที่เกิดจากการหมุนเลนส์แล้วลั่นชัตเตอร์ระหว่างนั้นยิ่งต้องเข้มข้นให้มากกว่าเดิม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรในการเพิ่มความเร็วโฟกัสให้ทันต่อวัตถุในโฟกัสให้ดี ตัดสินใจเอาเองว่าอะไรสำคัญที่สุด

เราต้องตัดสินใจกับตัวแปรมากมายในการถ่ายภาพ ช่วงแรกอาจจะคิดไม่ทันแต่จะค่อยๆเร็วขึ้นในที่สุดเมื่อเคยชินและถ่ายภาพบ่อยๆ

4. ฝึกฝนในการเลือกใช้ระยะเกินโฟกัสให้ชำนาญ

DozzDIY เรียก Hyperfocal Distance (HFD) ว่าระยะที่เกินออกมาจากจุดโฟกัสแล้วยังคมชัดอยู่ซึ่งโดยปกติการที่เราเลือกจุดโฟกัสด้วยวิธีการอัตโนมัติซึ่งมีในกล้องก็ค่อนข้างลำบากตรงที่บางทีการเลื่อนระยะทำได้ยาก อยากจะโฟกัสที่ตื้นกว่าดวงตาของตัวแบบให้คลุมมาถึงจมูกแล้วลึกไปถึงหู ก็ทำได้แค่ปรับ f ให้ลึก แต่การใช้โฟกัสแบบหมุนด้วยตัวเองทำได้สะดวกกว่านั้น

การเลือกช่วงคมชัดได้ถูกต้องจะทำให้จุดสนใจได้รับความคมชัดครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมด

ความชำนาญที่เกิดจากการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการท่องจำผังหรือตัวเลขระยะที่มีตรงวงแหวนเลนส์ก็ดี จะช่วยให้เราเลือกความสำคัญกับระยะเกินโฟกัสเหล่านี้ได้ดีขึ้น และเร็วมากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์ในที่สุด

5. ไม่ไว้วางใจระบบช่วยโฟกัสมากจนเกินไป

ระบบช่วยโฟกัสที่ติดมาในกล้องอย่างระบบความคมชัดสูงสุดในโฟกัส (Peaking Focus) หรือ การมองด้วยช่องมองสายตา (Optical View Finder) ควรถูกตรวจสอบทุกครั้งว่า เมื่อเปลี่ยนเป็นเลนส์แต่ละตัวแล้วความคมชัดเป็นไปอย่างที่จอภาพยืนยันหรือไม่ เนื่องจากมีผู้ที่เคยใช้ระบบดังกล่าวแล้วพบว่าโฟกัสที่เกิดขึ้นจริงเลื่อนเข้ามาหรือเลื่อนออกไปจากจุดที่ระบบแจ้งเตือนอยู่เรื่อยๆ

ระบบ Focus Peaking ของ Sigma
ที่มา : https://www.sigma-global.com/en/cameras/fp-series/main-feature/

วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดอาจต้องจดจำไว้ว่าความคมชัดที่แท้จริงคลาดเคลื่อนไปเป็นระยะมากเท่าใด แล้วโฟกัสทดระยะไปแบบนั้น หรือปิดระบบช่วยโฟกัสไปเลยเป็นอีกทางเลือกที่ทำได้เช่นกัน

การโฟกัสด้วยตนเองสำหรับผู้เล่นกล้องในยุคนี้หลายคนมองว่าลำบาก แต่ความลำบากมักจะพาเราให้ก้าวหน้าไปยังจุดที่ไม่คิดว่าตนเองจะไปได้อยู่เสมอ จงมองปัญหาในมุมที่ต่างออกไปแล้วเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับมัน เราจะเห็นจุดดีจุดด้อยและเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า