สิ่งที่บอกว่าคุณไม่ใช่ผู้ใช้ LR Classic มือใหม่อีกแล้ว
อะไรที่เป็นเหตุผลบอกเราได้ว่าความสามารถในการใช้งาน LR Classic มาถึงทางตัน แล้วความคิดนี้เป็นเพราะเรามาถึงทางตันจริงๆหรือว่าคิดไปเองกันล่ะ? เนื้อหาจากบทความนี้จะตอบคำถามให้กับความสงสัยที่ว่าครับ
ไม่สับสนในการโยกย้ายไฟล์

หลังจากกลับมาจากทริปถ่ายภาพ มีการจัดการนำไฟล์ดิบภาพถ่ายลงในคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรม Lightroom อย่างเป็นระเบียบ ตั้งค่าชื่อแฟ้มเหตุการณ์แยกไว้อย่างเรียบร้อย กำหนดตำแหน่งย้ายไฟล์ไว้อย่างชัดเจนเมื่อวันที่ต้องเคลียร์ไฟล์ภาพครั้งใหญ่ แถมยังย้ายไฟล์ไปมาระหว่างเครื่องได้อย่างคล่องแคล่ว รู้ว่าแคตตาล็อกทำงานอย่างไร อัพเดทได้อย่างไร ไฟล์ที่หายไปจะค้นหาได้อย่างไร ไม่ใช่ทำได้อย่างเดียวคือแต่งภาพแต่ไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแคตตาล็อกใน LR Classic CC [คลิกที่นี่]

จัดการคอลเลกชันอย่างมีนัยสำคัญ

จัดการความทรงจำของตนเองโดยการตั้งค่าอัลบั้มหลักและอัลบั้มรองได้อย่างคล่องตัว ยกตัวอย่าง เช่น ‘ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร’  จะต้องมีชุดคอลเลกชันของกรุงเทพมหานครเป็นคอลเลกชันหลัก และมีคอลเลกชันร้านกาแฟเป็นคอลเลกชันรองอยู่ภายใน หรือภาพบุคคลที่ถ่ายจากสถานที่ต่างๆแยกเอาไว้เป็นระบบชัดเจน นอกจากนี้ยังเลือกใช้ประโยชน์ของความแตกต่างระหว่างคอลเลกชันแบบทั่วไปกับคอลเลกชันอัจฉริยะที่ Lightroom Classic มีมาให้ ยังไงก็ไม่หลงแน่นอน

คอลเลกชันเป็นสิ่งที่ LR Classic CC ทำได้ในโปรแกรม
โดยไม่ส่งผลกับโฟลเดอร์ของระบบปฏิบัติการเลย

ปกป้องสิทธิ์ด้วยข้อมูลที่รัดกุม

ภาพทุกภาพบนอินเตอร์เน็ตไม่มีโปรแกรมใดทราบว่ามันคืออะไรจนกว่าจะระบุข้อมูลแบบฝังตัวลงไปบนภาพถ่าย ไม่ใช่เพียงการกำหนดสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือลายน้ำแต่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึงความรอบคอบในการใส่คำเฉพาะ (Keywords) ที่เกี่ยวข้องลงไปในภาพถ่ายชุดนั้นอย่างเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้ที่ทำการจัดการภาพมีความรวดเร็วในการนำภาพส่งขายกับเว็บสต็อกในโอกาสต่อไป และยังช่วยในการแท็กหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับภาพได้อีกด้วย

เข้าใจความหมายและใช้งานคำเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นรวมไปถึงด้านอื่นๆได้

ไม่เสียเวลาแต่งภาพมากเหมือนอย่างเคย

สำหรับคนที่มีประสบการณ์ในการตกแต่งภาพถ่ายไปสักระยะ จะทราบได้ด้วยตัวเองว่าทุกอย่างมีระเบียบแบบแผนของมัน เริ่มตั้งแต่การยกเลิกค่าที่ติดมากับกล้องแล้วจึงแก้ไขอาการผิดเพี้ยนทุกอย่างจากโปรไฟล์​ จากนั้นจึงเริ่มลงมือตกแต่งไปจนถึงกระบวนการสุดท้ายคือปรับคมและส่งออก การทำงานมายาวนานพอย่อมเกิดความรวดเร็วและชำนาญมากขึ้น จนเทียบกับตัวเองเมื่อก่อนได้เลยว่าปัจจุบันการทำงานนั้นเร็วขึ้นอย่างมาก จากที่เคยเป็นชั่วโมงก็ลดลงเหลือ 10-15 นาทีเท่านั้น

ทำภาพมานานจนมีความเคยชิน

รู้ว่าการส่งออกไฟล์ไปยังแต่ละที่มีความแตกต่างกัน

เข้าใจถึงความสำคัญของสเปซสีและความถูกต้องแม่นยำของไฟล์ผลลัพธ์สุดท้ายก่อนนำออกไปใช้งาน รู้ว่าไฟล์สำหรับพิมพ์และไฟล์สำหรับแสดงผลทางหน้าจอไม่เหมือนกัน และยังกำหนดสีได้ตรงตามความต้องการของการส่งออก สามารถกำหนดขนาดครอปของภาพและความเพี้ยนสีที่อาจเกิดขึ้นของหน้าได้พอสังเขป เข้าใจถึงขนาดของแหล่งเผยแพร่ในแต่ละที่ และทำภาพได้คุณภาพสูงสุดก่อนนำออกไปเผยแพร่เนื่องจากเข้าใจว่ายังไงภาพก็ต้องถูกลดคุณภาพอยู่ดีตามข้อกำหนดของแหล่งเผยแพร่นั้นๆ ทำให้ตกผลึกทางความคิดว่าการนำไปใช้งานในแต่ละรูปแบบไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าปลายทางสุดท้ายต้องการให้เป็นอย่างไร

การส่งออกแต่ะรูปแบบมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการส่งพิมพ์ลงบนกระดาษ, การส่งออกเพื่อนำเสนอบนหน้าจอ หรือแม้แต่แหล่งสังคมออนไลน์ต่างๆ

หากก้าวมาถึงจุดนี้ได้คงต้องบอกว่าคุณคงไม่ใช้มือใหม่ที่มีความรู้สึกเหมือนได้จับโปรแกรมวันแรกๆ และทุกอย่างจากนี้จะมีความแม่นยำรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เคยยากกลายเป็นความเคยชิน และขอบอกว่าคุณเป็น 1 ในไม่กี่สิบเปอร์เซนต์ที่ใช้งาน LR Classic CC ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เทียบกับคนที่ใช้งานทั่วไปที่มีโปรแกรมไว้เพื่อกดพรีเซ็ตแล้วก็ออกโปรแกรมเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า