เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแคตตาล็อกใน LR Classic CC
แคตตาล็อก (Catalog) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้กระบวนการใน Lightroom Classic CC ดำเนินไปอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีภาพถ่ายอยู่ที่ไหน มีข้อมูลและถูกจัดระเบียบเอาไว้อย่างไร การจัดการแคตตาล็อกจึงมีความจำเป็นที่ค​วรเรียนรู้ให้ได้ทั้งหมด

บทความนี้จึงเป็นการกล่าวถึงความสำคัญและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับแคตตาล็อกที่ช่วยให้ผู้เรียนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานของตนเองมากที่สุด เราจะปรับแต่งหรือจัดการอะไรเกี่ยวกับแคตตาล็อกได้บ้าง ตามผู้สอนมาเลยครับ

แคตตาล็อกคือตู้เอกสารขนาดใหญ่

การเปรียบเปรยแคตตาล็อกให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเพราะคนส่วนมากพอกล่าวถึงแคตตาล็อกอาจจะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร ผู้สอนอยากให้จินตนาการถึงตู้เอกสารครับ การทำงานของเรานั้นย่อมมีความเกี่ยวข้องกับไฟล์รูปภาพและแฟ้มภาพอยู่แล้ว เช่น ภาพถ่ายนางแบบในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 ทีนี้คำถามคือมีอะไรจะมาบันทึกมันล่ะ? เพราะเรามีแฟ้ม (Folder) ที่มีภาพ (Pictures) อยู่ในแฟ้มจำนวนมาก สิ่งนั้นก็คือแคตตาล็อกยังไงล่ะครับ

แคตตาล็อกเป็นเหมือนตู้เอกสาร, โฟลเดอร์เป็นเหมือนแฟ้ม และ เอกสารภายในเป็นเหมือนรูปภาพจำนวนมากในแฟ้ม

แคตตาล็อกจึงเป็นสิ่งแรกที่เราต้องระบุหลังจากการติดตั้งโปรแกรม LR Classic CC เสร็จและมีการเริ่มเปิดใช้งาน โดยที่ตำแหน่งดั้งเดิมของแคตตาล็อกนั้นจะมีการบรรจุข้อมูลการพรีวิวแนบเอาไว้ด้วยเสมอ

สรุปง่ายๆ แคตตาล็อกจึงเป็นเหมือนตู้เก็บแฟ้มเอกสารที่ในแฟ้มมีภาพถ่ายจำนวนมากเอาไว้นั่นเองครับ

ไม่ควรมีแค่แคตตาล็อกเดียว

อันนี้ถือเป็นความรู้ของผู้สอนที่ได้จากการเรียนรู้ข้อผิดพลาดว่าเราไม่ควรทำงานอยู่กับแคตตาล็อกเดียวหลายๆปีเพราะถ้าหากยิ่งเป็นการเก็บแคตตาล็อกเอาไว้ที่เครื่องด้วยแล้วพื้นที่ว่างจะถูกเก็บสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตรงนี้ขอให้ตรวจสอบดีๆด้วยนะครับ

แยกแคตตาล็อกปีละ 1 แคตตาล็อกดีที่สุด อันไหนไม่ใช้ก็เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ภายนอกก็ได้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น เฉลี่ยแล้ว 1 เดือนเราถ่ายรูปไปกี่พันไป อย่างผู้สอนเดือนนึงไม่เกิน 300 ใบแน่ๆแคตตาล็อกก็ไม่หนักมาก ดังนั้นการสร้างแคตตาล็อกใหม่แบบปีต่อปีจึงดีที่สุดสำหรับผู้สอน เช่น แคตตาล็อกของปี 2019 ก็จะมีแต่แฟ้มภาพของเดือนมกราคมธันวาคม ของปี 2019 เท่านั้น

ซึ่งแคตตาล็อกที่ไม่ใช้ในขณะนั้นหรือเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะแยกเอาไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ภายนอกต่อไป

การสำรองข้อมูลที่จำเป็นบ้างไม่จำเป็นบ้าง

บางคนบอกว่าระบบที่น่าหงุดหงิดใจทุกครั้งเวลาปิดโปรแกรมก็คือการสำรองข้อมูล กระบวนการนี้ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียตรงที่ว่าเราพออุ่นใจได้ถ้าหากว่าแคตตาล็อกเกิดเสียหายหรือเปิดไม่ได้ขึ้นมา (ขอบอกไว้เลยว่าน้อยมาก) ตรงนี้ไปตั้งค่าเอาเองได้ใน Catalog Settings > General ว่าอยากให้สำรองได้วันละคร้ัง, สัปดาห์ละครั้ง, เดือนละครั้ง, ทุกๆครั้ง, ปิดโปรแกรมในครั้งหน้า หรือว่าไม่ต้องสำรองข้อมูล

อยากให้สำรองได้วันละคร้ังสัปดาห์ละครั้งเดือนละครั้งทุกๆครั้งที่ปิดโปรแกรม, การปิดโปรแกรมครั้งหน้าปิดโปรแกรมในครั้งหน้า หรือว่าไม่ต้องสำรองข้อมูล

คล้ายๆกับการเก็บภาพและทุกอย่างไว้ในฮาร์ดดิสก์ลูกที่สองนั่นเองครับ ฮาร์ดดิสก์ที่เราเก็บตายไปเลยไม่ได้เอาไปไหนด้วย สำหรับคนที่หวงแหนภาพถ่ายดั่งสมบัติชิ้นสำคัญในชีวิต อันนั้นก็ควรพิจารณาการสำรองข้อมูลไว้ดีกว่าครับ

การเรียกใช้ที่ค่อนข้างเป็นปัจเจกบุคคล

ตอนเรารับชมข้อมูลภาพจำนวนมากใน Grid View และเริ่มพรีวิวดูทีละภาพในโมดูล Library กระบวนการนั้นยังไม่เรียกว่ามีการดึงข้อมูลไฟล์ภาพของจริงมาแสดงแบบเต็ม ส่วนนี้เรียกว่า File Handling ซึ่งหมายถึงการควบคุมการแสดงผลไฟล์แบบคร่าวๆที่ต้องใช้ข้อมูลภาพมาสำรองเอาไว้ที่โฟลเดอร์เก็บแคตตาล็อกนั้น ยิ่งมีภาพจำนวนมากขึ้นเท่าไร ไฟล์แคตตาล็อกยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วยเราจึงต้องเตรียมการวางแผนดีๆจะได้ไม่มาเจอปัญหาเครื่องอืดในภายหลัง

การ Optimize Catalog… เป็นวิธีที่โปรแกรมจะปรับค่าต่างๆให้เหมาะสมกับความเร็วของพิวเตอร์เราโดยอัตโนมัติ

สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าควรตั้งอะไรยังไง ให้ไปที่ File > Optimize Catalog (win) | Lightroom Classic > Optimize Catalog (mac) ก็ได้เลยครับง่ายดี

การลบไฟล์พรีวิวที่ไม่ได้เรียกใช้งานเป็นเวลานาน

ส่วนของ File Handling ใน Lightroom Classic CC ใน Catalog Settings จะมีตัวเลือก Automatically Discard 1:1 Previews ตรงนี้มีประโยชน์กับภาพที่ไม่ค่อยได้เรียกกลับมาดูอาจจะแต่งภาพและ Export ไปเรียบร้อยนานแล้ว ก็ตั้งเอาไว้ว่านานเท่าไหร่ LR Classic จึงจะลบไฟล์พรีวิวออกไปส่วนนี้ก็มีผลให้ขนาดของแคตตาล็อกเบาลงมากยิ่งขึ้น นอกไปจากการตั้งค่าขนาดและคุณภาพไฟล์พรีวิว

ตั้งค่าการแสดงผลแบบ 1:1 ได้ที่ส่วนของ File Handling ใน Catalog Settings

ความแตกต่างของการบริหารไฟล์ในแคตตาล็อกกับการเข้าไปยังโฟลเดอร์จริงๆของระบบปฎิบัติการ

ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่าถ้าเราเข้าไปยังโฟลเดอร์เพื่อเปลี่ยนชื่อ, ย้ายไฟล์, ลบไฟล์ แล้วมันจะต่างกับการมีแคตตาล็อกยังไง?’ ขอเรียนให้ทราบว่าแคตตาล็อกใน Lightroom Classic CC มีไว้เพื่อติดตามตำแหน่งและระบุสิ่งต่างๆที่ภาพนั้นมีออกมาเป็นหมวดหมู่ให้เราเข้าใจง่ายกว่าที่ระบบปฏิบัติการมียังไงล่ะครับ เพราะถ้าทำใน Explorer ของ Windows หรือ Finder ของ Macintosh นั้นก็คงได้แหล่ะแต่เชื่อเถอะครับว่าแคตตาล็อกสะดวกกว่ามาก แถมยังจัดการได้อย่างเป็นขั้นตอนและหลงลืมน้อยกว่าทำข้างนอกเยอะเลย

นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ระบบภายนอกทำไม่ได้เหมือน LR Classic ยังมีเรื่องของคอลเลกชันและข้อมูลคำเฉพาะที่เรากำหนดเพื่อความเข้าใจง่ายๆได้ด้วยตนเองทันที สิ่งนี้มีไว้เพื่อจัดระเบียบความเข้าใจของตำแหน่งและความเกี่ยวข้องกันอย่างชาญฉลาด โดยไม่ไปยุ่งกับโฟลเดอร์เดิมของภาพด้วยนะครับ

สำคัญขนาดนี้แคตตาล็อกกลับเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานโปรแกรมหน้าใหม่หรือหน้าเก่าทั้งหลายให้ความสำคัญน้อยมากเพราะมัวไปโฟกัสอยู่กับการใส่พรีเซ็ตหรือแต่งภาพโทนนั้นโทนนี้ หารู้ไม่ว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือเรื่องของแคตตาล็อกที่หากเสียเวลาเรียนรู้สักนิดจะมีประโยชน์กับการทำงานอย่างมากเลยล่ะ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า