รวมทุกสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนขายภาพออนไลน์

  ในปัจจุบันหลายๆคนคงจะมองหาช่องทางสำหรับสร้างรายได้พิเศษนอกเหนือจากงานประจำโดยอาศัยความสามารถที่ตัวเองมีเช่น ความสามารถในการขายของ ความสามารถในการอบรม ความสามารถในการถ่ายภาพ และอื่นๆอีกมากมาย

  การขายภาพออนไลน์หรือการทำ Stockphoto ก็เป็นอีกช่องทางที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพแและมองหาช่องทางที่จะสร้างรายได้จากภาพถ่ายของตัวเอง สามารถทำได้เป็นงานอดิเรกจนถึงเป็นอาชีพประจำสร้างรายได้ให้กับเรา

 

ขายภาพออนไลน์คืออะไร?

  ขายภาพออนไลน์ หรือบางคนเรียกว่าทำ Stockphoto คือการที่เรานำภาพถ่ายของเราไปฝากไว้ที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเราและผู้ที่ต้องการซื้อภาพโดยมีส่วนแบ่งให้เราและตัวบริษัทที่รับบริหารจัดการ โดยทางเราเพียงแค่อัพโหลดภาพไปยังเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของบริษัทนั้นๆ ทางบริษัทก็จะช่วยบริหารรวมถึงทำการตลาดให้เรา นอกจากภาพถ่ายแล้วยังสามารถส่งกราฟิก วีดีโอ เสียง ไปขายได้อีกด้วย

 

ขายได้ที่ไหนบ้าง?

  ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ให้บริการเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายภาพถ่าย วีดีโอ งานกราฟิก มากมายหลายเว็บไซต์ทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงแนวทางการตลาดก็แตกต่างกันออกไป ผมจะขอยกตัวอย่างจากที่เคยเข้าไปสัมผัสมาให้ดังนี้ครับ

 

Shutterstock

  Shutterstock ถือเป็นเว็บไซต์ใหญ่และเป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นขายภาพ ผมเองก็เริ่มต้นขายภาพที่นี่เหมือนกัน สิ่งที่ชอบคือในประเทศไทยมีกลุ่มผู้ขายภาพ รวมตัวกันบน Facebook คอยให้คำแนะนำรวมถึงอาจารย์ สุระ นวลประดิษฐ์ ที่เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพ   Stockphoto ก็คอยดูแลในกลุ่มดังกล่าวด้วยเช่นกัน

 

ขายภาพออนไลน์ shutterstock

shutterstock.com เว็บไซต์แรกของผมที่เข้าไปขายภาพออนไลน์

 

iStockphoto by Getty Image

iStockphoto by Getty Image เป็นอีกเว็บไซต์ขายภาพออนไลน์อีกเว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจ iStockphoto ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2000 และได้อยู่ภายใต้ Getty Image

 

Adobe Stock

  Adobe Stock เป็นเว็บขายภาพออนไลน์ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Adobe Inc. ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชื่อดังมากมายเช่น Adobe Photoshop,  Adobe Lightroom และอีกต่างๆมากมาย หลังจากเข้าซื้อเว็บไซต์ขายภาพ Fotolia ก็เริ่มขยับขยายมาเป็นตัวแทนจำหน่ายภาพด้วยเช่นกัน

 

Clashot

  Clashot เป็นแอปพลิเคชันที่เปิดโอกาสให้คุณขายภาพออนไลน์ได้ เจ้าของคือ Depositphotos ที่เป็นเว็บไซต์สำหรับเป็นตัวกลางขายภาพด้วยเช่นกัน ผมเองเคยเข้าไปส่งภาพขายในนี้ด้วยเมื่อหลายปีมาแล้วแต่จำได้ว่าช่วงนั้นมีปัญหาการโขมยภาพถ่ายของหลายๆคนไปลงขายด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบันคาดว่าคงจะไม่ค่อยมีปัญหานี้แล้ว

 

EyeEm

  EyeEm เป็นอีกแอปพลิเคชันหนึ่งที่น่าสนใจโดยมุ่งเน้นภาพที่ค่อนข้างสร้างสรรค์มากกว่า Stockphoto ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีบริการที่ช่วยค้นหาภาพที่เหมาะสมกับแบรนด์ต่างๆ ผมมองว่าค่อนข้างหน้าสนใจเลยทีเดียว ไว้จะเขียนให้ละเอียดมากกว่านี้ครับ

จริงๆแล้วยังมีอีกเยอะมากไม่ว่าจะรายใหญ่รายเล็ก ถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติมให้ลองค้นหาใน Google คำว่า Stockphoto ดูนะครับ

 

จะเริ่มต้นขายภาพได้อย่างไร

  การเริ่มต้นขายภาพออนไลน์นั้นไม่ยากขอแค่คุณมีหนังสือเดินทางกับภาพถ่ายจำนวนหนึ่งก็เพียงพอสำหรับการเริ่มขายภาพออนไลน์แล้ว อาจจะลองเลือกเว็บไซต์อย่าง Shutterstock ดูเป็นอันดับแรกก็ได้ครับเพราะมีคนไทยหลายคนขายภาพที่นี่

  ตอนที่ผมเริ่มสมัครขายภาพกับ Shutterstock นอกจากการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนด้วยหนังสือเดินทางแล้วยังต้องส่งภาพสำหรับสอบไปด้วย โดยส่งภาพไปทางเว็บไซต์ได้เลย ตอนนั้นจำได้ว่าต้องส่งไปทั้งหมด 10 ภาพและจะต้องได้รับคัดเลือกขั้นต่ำ 7 ภาพจึงจะมีสิทธิ์ลงขายภาพครับ แต่ปัจจุบันน่าจะลดน้อยลงแล้วครับ

  ใช่ว่าสอบผ่านแล้วภาพที่เหลือจะสามารถลงขายได้ทันที ทุกๆครั้งที่เราส่งภาพเข้าไปใหม่จะมี การตรวจ โดยเจ้าหน้าที่ของเว็บไซต์ แต่ละเว็บไซต์ความเข้มข้นก็แตกต่างกันออกไป ดังนั้นขอให้แน่ใจว่าคุณภาพภาพถ่ายของเราได้มาตรฐาน หากไม่ได้มาตรฐานจะส่งผลให้ภาพถ่ายของเราไม่ผ่านการตรวจ

  หลังจากลงขายภาพไปได้สักพักหนึ่งแล้วก็คงต้องรอให้ภาพของเราขายได้จนเงินถึงจำนวนที่เราสามารถเบิกได้ หรือเรียกกันว่าเบิกขั้นต่ำ เว็บไซต์อย่าง Shutterstock กำหนดไว้ที่ 35$ จึงสามารถโอนเงินออกมาได้

 

ภาพแนวไหนที่จะขายดี?

  เมื่อก่อนเว็บไซต์ที่ผมค่อนข้างคุ้นเคยอย่าง Shutterstock จะมีแถบยอดนิยมของแต่ละหมวดหมู่ให้เราเข้าไปดูภาพที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า แต่ปัจจุบันเหมือนว่าได้นำออกไปแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลครับ ทุกๆเดือน Shutterstock จะออกรายการ Shortlist ว่าในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้าจะมีแนวโน้มความต้องการภาพแนวไหนบ้าง

  ความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าเรื่องแบบนี้คงไม่มีอะไรที่จะเป็นสูตรสำเร็จที่จะบอกได้ว่าแบบไหนขายดีหรือขายไม่ดี ให้เราลองสังเกตดูครับว่าแนวโน้มภาพที่เป็นที่ต้องการเป็นอย่างไรเช่น ภาพตามเทศกาล ที่มักจะมียอดขายก่อนวันเทศกาลสัก 1 เดือน รวมถึงภาพตามเรื่องที่เป็นเรื่องเด่นของแต่ละปี เช่นในปี 2018 นี้ เรื่องที่ถูกพูดถึงบ่อยคงไม่พ้น ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน รวมถึง บิทคอยน์ แน่นอนว่าความต้องการภาพเหล่านี้ก็จะมีสูงขึ้นด้วย

 

แล้วจะได้เงินเยอะไหม

  คิดว่าหลายๆคนอาจจะเคยเห็นคนใกล้ตัวที่ขายภาพออนไลน์โชว์ยอดเงินดาวน์โหลดที่ได้ต่อครั้งแค่ 0.25$ หรือประมาณ 7-8 บาท  ซึ่งเป็นความจริงครับ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดgriktในการขายภาพนอกจากดาวน์โหลดภาพละ 7-8 บาทยังมีอีกส่วนคือ Single download หรือเรียกกันติดปากว่า โหลดใหญ่ ซึ่งมีตั้งแต่ราคา 1$ จนถึง 100$ ขึ้นไปเลยละ

  ส่วนใครที่คิดว่าต้องมานั่งรอลุ้นให้ได้โหลดใหญ่ๆ ราคาแพง ให้เราลองมองดูว่าทุกๆครั้งที่เราส่งภาพไปวางขายก็จะมีแนวโน้มให้คนเห็นภาพถ่ายของเรามากขึ้น ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่เมื่อมีมากพอสามารถสร้างรายได้ให้กับเราเรื่อยๆครับ

ขายภาพออนไลน์ที่ shutterstock

จะเห็นได้ว่าราคาต่อภาพค่อนข้างสูงเพราะเป็นการขยายสิทธิ์การนำไปใช้

 

ฝากไว้ให้คิด

  หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ผมคิดว่าคงมีความสนใจแน่วแน่ว่าจะลองขายภาพดูสักครั้งกันใช่ไหมครับ? การที่เราจะประสบความสำเร็จไม่ว่าในเรื่องอะไรก็ตามสิ่งที่เราต้องมีคือ ความคงเส้นคงวาที่จะสามารถทำในสิ่งที่เราต้องการรวมถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เรามุ่งสู่ความสำเร็จตามที่คาดหวัง ขอให้สนุกับการถ่ายภาพครับ 🙂

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า