สร้างความน่าสนใจให้กับภาพด้วย ‘รูปร่าง’
ในเฟสที่ 2 ของหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY เป็นการขยายความหมายของเนื้อหาจากรูปแบบ Speed-Concept ที่ได้ผ่านไปแล้วเป็นแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดสนใจ’ (Point of Interest) ว่าพอจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจและมีความเห็นแบบเดียวกันกับผู้บันทึกภาพเมื่อชมภาพดังกล่าว เนื้อหาจะเป็นสาธารณะแบบไม่จัดเรียง แต่สำหรับคลิปวิดีโอเฉพาะผู้ที่ลงเรียนกับเราเท่านั้น

ความเข้าใจและการนำเส้นสายรวมไปถึงรูปร่างของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในภาพไปใช้ให้เกิดประสิทธิผลนับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ภาพถ่ายนั้นสื่อสารได้อย่างประสบผลสำเร็จ

เมื่อมองไปรอบตัวแล้ว ทุกอย่างที่มีรูปร่างหรือรูปทรงมักเกิดขึ้นจากจุดจำนวนหลายจุดลากออกไปเป็นเส้น ดังกล่าวนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นผิวประเภทหนึ่ง แล้วรูปร่างหรือรูปทรงของสิ่งนั้นก็เป็นผลมาจากอาณาเขตของพื้นผิวนั้นนั่นเอง

องค์ประกอบของภาพนี้มีทั้งเส้น, รูปร่าง, รูปแบบ และสีที่เรียบง่ายอย่างขาวดำ

ในการถ่ายภาพนั้นมิติที่เรามักจะได้เห็นและนำมาใช้กันบ่อยๆมีอยู่ด้วยกันสองมิติ (เพราะภาพถ่ายไม่มีความลึก) ซึ่งเส้นสายและพื้นผิวนี้เองจะช่วยให้ผู้รับชมภาพได้ซึมซับถึงความหนักเบาและระยะใกล้ไกลของภาพซึ่งนำไปสู่มิติที่ 3 ซึ่งเกิดจากความคิดและจินตนาการที่เกิดจากการมองเห็น

พื้นฐานขององค์ประกอบในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายที่ควรรู้

การออกแบบภาพถ่ายเองก็มีความคล้ายคลึงไม่ต่างจากการศาสตร์ออกแบบอื่นๆ เพียงแต่ในบางกฎนั้นอาจจะนำมาใช้ได้ยากสักหน่อยเพราะเราไม่ได้สร้างขึ้นเองได้ทั้งหมด ซึ่งถ้าผู้เรียนมีความเข้าใจในสิ่งต่างๆที่รวมกับเป็นภาพแบบหนึ่งเดียวได้อย่างลึกซึ้งแล้วจะสร้างความน่าสนใจให้กับภาพได้อย่างมาก (บทความนี้กล่าวถึงเส้นสายและรูปร่างที่ก่อให้เกิดรูปทรง)

1. รูปร่าง (Shape)

รูปร่างมี 2 มิติ คือมิติความกว้างและยาว การจะสร้างให้เกิดมิติที่ 3 นั้นเกิดจากจินตนาการความนึกคิดล้วนๆ จึงต้องพิจารณาการจัดวางรูปร่างต่างๆให้เกิดความรู้สึกถึงมิติที่ 3 อย่างกลมกลืน

2. รูปแบบ (Form)

การปรากฎตัวของรูปร่างนั้นเป็นไปอย่างไร (ด้วยแสงและเส้นสาย) ซึ่งทำให้วัตถุชิ้นนั้นเกิดความหนักเบาหรือระยะของภาพ จวบจนทิศทางโดยรวมของภาพถ่าย

3. เส้นสาย (Line)

เส้นสายของภาพถ่ายมักเกิดจากของของรูปร่างและเส้นที่เป็นเส้นจริงๆ ส่วนนี้ถูกใช้เป็นส่วนนำสายตาให้มองไปยังพื้นที่ใดๆของภาพได้บ่อย

4. ระเบียบแบบแผน (Pattern)

เกิดจากการทำซ้ำของเส้นสาย, รูปร่าง หรือรูปแบบรวมของภาพถ่ายอย่างต่อเนื่องกัน

5. พื้นผิว (Texture)

พื้นผิวแสดงถึงความรู้สึกหนักเบาในภาพ เป็นการเกิดขึ้นแบบสองมิติโดยเน้นย้ำด้วยแสง

สีที่มีอยู่ในรูปร่าง

6. สีสัน (Color)

ส่วนที่ใช้บอกถึงอรารมณ์ความรู้สึกของภาพด้วยเฉดต่างๆ อีกทั้งยังกำหนดทิศทางแนวโน้มของอารมณ์โดยรวมได้

ประเภทของรูปร่างในการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย

รูปร่างที่พบในการถ่ายภาพจำแนกออกได้อยู่ 2-3 ชนิด ดังนี้

1. รูปร่างในทางเรขาคณิต (Geometric Shape) : รูปร่างในทางเรขาคณิตโดยส่วนมากมักเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความเข้าใจทางคณิตศาสตร์แบบเดียวกัน มักจะพบในการถ่ายภาพแนวสถาปัตยกรรมโดยส่วนใหญ่

2. รูปร่างแบบอิสระไร้ระเบียบ (Organic Shape, Irregular Shape) : รูปร่างที่เกิดขึ้นจากวัตถุรูปทรงธรรมชาติ เช่น กลีบใบโค้งของดอกไม้, การพุ่งสูงขึ้นอย่างแข็งแรงของป่าไผ่

3. รูปร่างโดยตรง (Positive) : เป็นรูปร่างที่ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุสำคัญในภาพโดยตรง

รูปร่างโดยตรง ก็คือรูปร่างที่แสดงออกมาด้วยตัวของวัตถุเอง

4. รูปร่างโดยอ้อม (Negative) : รูปร่างที่อาจเกิดขึ้นจากจินตนาการโดยที่ภาพนั้นอาจจะไม่ได้กล่าวอะไรถึงรูปร่างแบบนั้นเลย เช่น เกิดขึ้นจากการประกบกันของสิ่งต่างๆ หรือเกิดขึ้นจากแสงและเงาตกกระทบ เป็นต้น

รูปร่างโดยอ้อม คือรูปร่างที่เกิดขึ้นโดยสภาพแวดล้อมที่ทำให้มนุษย์จินตนาการด้วยประสบการณ์ที่ตัวเองได้เรียนรู้มา (เราเห็นเป็นรูป 6 เหลี่ยม)

เทคนิคต่างๆในการสร้างภาพถ่ายด้วยความเข้าใจเรื่องรูปร่าง
ผลกระทบทางอารมณ์

เปรียบเสมือนกับสีสันที่สามารถกำหนดอารมณ์ภาพได้ รูปร่างและรูปแบบเองก็เช่นกัน เช่นเส้นโค้งสะท้อนถึงอารมณ์พริ้วไหวต่อเนื่องและนุ่มนวล ในขณะที่เส้นตรงจะแสดงถึงความแข็งแรง นอกจากนี้ก็ยังจำแนกออกไปอีกหลายประเภทเช่นเส้นแนวตั้งแนวนอน รูปเหลี่ยมต่างๆ

รูปร่างที่เปลี่ยนไม่ได้และเปลี่ยนได้

เพราะนี่ไม่ใช่งานศิลปะที่ต้องสร้างขึ้นมาทุกสิ่งอย่าง การที่จะกำหนดให้ทุกอย่างแก้ไขได้จึงอยู่ในกลุ่มของภาพถ่ายที่อาศัยทักษะการแก้ไขภาพระดับสูง (Manipulation)

ความสำคัญของทัศนมิติที่มีต่อภาพ

ลองนึกถึงวัตถุเช่นแก้วกาแฟ จะพบว่าการเลือกมุมต่างๆในการบันทึกภาพมีความสำคัญ เช่น ถ้ามองจากมุม 45 องศาเราจะเห็นแค่ด้านกว้างของแก้ว แต่ถ้าหากมองจากมุมบนจะเห็นเป็นวงกลมและกาแฟที่อยู่ในแก้ว และการถ่ายภาพที่ให้มองเห็นทุกมิติของแก้ว

มุมมองในการถ่ายภาพจึงมีความสำคัญที่ใข้กำหนดความเป็นไปของภาพและสื่อสารในสิ่งที่ช่างภาพต้องการออกมาได้โดยตรง

ความสำคัญของแสงที่มีต่อภาพ

แสงใช้อธิบายความงามของภาพได้โดยตรง แสงมีหลายประเภทและหลากหลายอารมณ์ ปริมาณและมุมตกกระทบของแสงในมุมต่างๆมีผลต่อการมองเห็น ต่อเนื่องมายังอารมณ์ที่ปรากฏในภาพ

ความสำคัญของทางยาวโฟกัสที่มีผลต่อภาพ

ทางยาวโฟกัสเกี่ยวข้องกับมุมรับภาพและการดึงเอาของที่อยู่ไกลมาใกล้ตามากขึ้นหรือน้อยลง อีกทั้งยังใช้ขจัดสิ่งรบกวนสายตาออกไปได้มากในกรณีของเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูง ซึ่งการสร้างสรรค์ในหลายลักษณะอาจจะต้องใช้ประสบการณ์ในการเลือกใช้งานเลนส์เพื่อให้เกิดงานที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด

การประยุกต์ใช้กับใช้เส้นนำสายตา

การจัดองค์ประกอบที่มีส่วนของเส้นในการชี้นำสายตาไปยังจุดๆหนึ่งในภาพหรือไม่แม้แต่จะชี้นำอะไรแต่ทำตัวเป็นจุดเด่นเสียเองต่างก็มีความสำคัญหากจะต้องเลือกใช้ สำหรับผู้เริ่มต้นอาจจะต้องพิจารณาถึงอะไรๆในภาพที่มีความต่อเนื่องหรือความชัดเจนว่าจินตนาการได้เป็นเส้นก็ใช้ได้เช่นกัน

การประยุกต์ใช้กับดุลยภาพของภาพถ่าย

เส้นและรูปร่างนั้นพึงประเมินความหนักของภาพอยู่ตลอดเวลาว่ามีการให้น้ำหนักเฉลี่ยกับสิ่งต่างๆในภาพแล้วเอนไปทางใดทางหนึ่งหรือไม่ ทั้งในแบบดุลยภาพแบบสมมาตรและอสมมาตร

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า