สร้างความน่าสนใจให้กับภาพด้วย ‘การทำซ้ำ’
ในเฟสที่ 2 ของหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY เป็นการขยายความหมายของเนื้อหาจากรูปแบบ Speed-Concept ที่ได้ผ่านไปแล้วเป็นแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดสนใจ’ (Point of Interest) ว่าพอจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจและมีความเห็นแบบเดียวกันกับผู้บันทึกภาพเมื่อชมภาพดังกล่าว เนื้อหาจะเป็นสาธารณะแบบไม่จัดเรียง แต่สำหรับคลิปวิดีโอเฉพาะผู้ที่ลงเรียนกับเราเท่านั้น

การทำซ้ำ (Repetition) ในการถ่ายภาพอาจจะหมายถึงองค์ประกอบใดๆในภาพไม่ว่าจะเป็นวัตถุสนใจ, วัตถุแวดล้อมที่มีรูปร่างรูปทรงต่างๆ หรือแสงสีที่ปรากฏในภาพอย่างเป็นระเบียบจนเกิดความต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในขณะที่ผู้เรียนเดินเลือกหนังสืออยู่ในร้านหนังสือใดสักแห่งก็จะเห็นได้ว่าในชั้นหนังสือนั้นมีการเรียงของหนังสือหลายเล่มอย่างเป็นระเบียบ

ความต่อเนื่องที่เกิดจากการทำซ้ำสร้างความน่าสนใจได้หลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่อง, ความลื่นไหลเป็นทิศทางเดียวหัน หรือความเป็นระเบียบท่ามกลางความไร้ระเบียบและอื่นๆภายในภาพที่มาหยุดความต่อเนื่องของภาพ ทั้งหมดเป็นเทคนิคต่างๆที่ผู้เรียนในหลักสูตรศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายกับ DozzDIY เลือกใช้ได้ตามอัธยาศัย

ตัวอย่างการหยุดความต่อเนื่องด้วยวัตถุสนใจ

จากภาพผู้เรียนจะเห็นได้ว่ามีการเรียงตัวของเส้นสายวัตถุไปในทิศทางที่ดูเหมือนจะลึกเข้าไป ทั้งที่จริงแล้วการบันทึกภาพลักษณะนี้เป็นการสร้างเส้นนำสายตาด้วยการทำซ้ำไปยังตัวแบบอย่างจงใจ สายตาใดๆที่กำลังมองเส้นนี้จะถูกควบคุมให้มองที่แบบโดยตรงอย่างเป็นธรรมชาติ

การหยุดความลื่นไหลยังนำไปใช้ได้ในอีหลายกรณี เช่น ลูกแอปเปิลที่มีการเรียงตัวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นสีในแบบเดียวกัน แล้วเบรกความรู้สึกต่อเนื่องนั้นด้วยลูกแอปเปิลอีก 1 สี ก็เป็นกลวิธีง่ายๆในการสร้างความสนใจให้กับภาพโดยที่ไม่ต้องพยายามอะไรมากแล้ว

การฝึกมือภาพถ่ายแบบทำซ้ำตามสถานที่รอบตัว

การเรียนรู้ควรเกิดขึ้นในสองรูปแบบที่ต้องพัฒนาไปพร้อมๆกัน ได้แก่การศึกษาองค์ความรู้ใหม่ๆและการนำความรู้นั้นไปพิสูจน์และทำให้เกิดความชำนาญ เป็นเรื่องดีถ้าจะหาสภาพแวดล้อมนั้นๆแล้วฝึกฝน ขอให้ลองคิดถึงสถานที่หลายๆแห่ง เช่น เส้นของถนน, การเรียงตัวของอิฐบล็อกที่ผนังตึก, การจอดรถอย่างเป็นระเบียบในจุดจอดรถ หรือ ผู้คนที่เดินไปมาในทิศทางเดียวกันในชุมชนเมือง เป็นต้น

การประยุกต์เข้ากับกฏโครงสร้าง

เมื่อทราบดีแล้วถึงความน่าสนใจที่อาจเกิดได้จากการทำซ้ำ เราอาจจะประยุกต์มันเข้ากับกฏโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวภายใต้กฏสามส่วน, จุดตัดเก้าช่อง หรือกฏต่างๆที่เป็นไปตามกฎและไม่เป็นไปตามกฎของเลขสัดส่วนทองคำ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า