ยืดหดภาพยังไงก็ไม่เบี้ยวด้วย Content-Aware Scale
Content-Aware คือคุณสมบัติที่สร้างมาเพื่อปกป้องและแก้ไขส่วนต่างๆให้สะดวกมากขึ้น ทั้งยังมีความรวดเร็วแม่นยำเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ ในเนื้อหาด้านล่างนี้จะแสดงให้เห็นถึงการใช้คุณสมบัติดังกล่าวกับการปกป้องพื้นที่ส่วนต่างๆในภาพ ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อหรือขยาย ไม่ว่าจะเป็น ผู้คน, สัตว์, สิ่งก่อสร้างและอื่นๆ
ปัญหาจากการย่อขยายภาพในทิศทางเดียว

การย่อหรือขยายภาพในทิศทางเดียวส่งผลเสียต่อพิกเซลที่มีในภาพแบบกลุ่มในทันที ผลลัพธ์ที่ได้คือสิ่งต่างๆที่มีในภาพจะเริ่มสูญเสียรูปทรงเดิมเพราะไม่ใช่การขยายขนาดโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ของด้านยาวและกว้างแบบเป็นสัดส่วนที่เท่ากัน ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าภาพที่ผู้เรียนต้องการนำไปใช้มีสัดส่วนแบบ 16:9 แต่ว่าสัดส่วนของภาพถ่ายในขณะนั้นเป็นแบบ 3:2 การเพิ่มพื้นที่ๆขาดหายไปจะเริ่มจำเป็นขึ้นมา (ถ้าไม่ใช่ว่าต้องตัดอะไรออกไปจากภาพล่ะก็นะ)

แนวความคิดของ Content-Aware Scale

Adobe จึงได้พัฒนาคุณสมบัติที่มีชื่อว่า Content-Aware Scale ขึ้นมา โดยที่หลักการใช้งานเครื่องมือนี้จะต้องสร้างพื้นที่ปกป้อง (Protect Area) ขึ้นมาเสียก่อนว่าตรงไหนของภาพจะถูกรักษาไว้ไม่ให้เบี้ยวในขณะที่กำลังเปลี่ยนสัดส่วนภาพ คุณสมบัติดังกล่าวจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับการขยายหรือหดภาพในทิศทางเดียว

การใช้งาน Content-Aware Scale แบบคำนวนอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่ 1 : เลือกพื้นที่ทั้งหมด

ไปที่ Select > All หรือกดคีย์ Control + A [win] / Command + A [mac] เพื่อทำการเลือกพื้นที่ทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 2 : เลือก Content-Aware Scale

ไปที่ Edit > Content-Aware Scale หรือคีย์ Control + Alt + Shift + C [win] / Command + Option + Shift + C [mac] โปรแกรมจะกำหนดให้เข้าสู่โหมด Content-Aware Scale

ขั้นตอนที่ 3 : ย่อหรือขยายภาพ

ทำการย่อหรือขยายภาพตามปกติ โปรแกรมจะทำการเลือกให้เองว่าควรจะรักษาส่วนใดเอาไว้

บาร์ตัวเลือกระหว่างใช้งาน Content-Aware Scale

พารามิเตอร์ต่างๆที่บาร์ตัวเลือก

– ค่า X และ Y หมายถึง พิกัดของรูปที่กำหนดเองได้ โดยที่ค่า X เป็นบวกภาพจะเลื่อนไปทางขวา เป็นลบจะเลื่อนไปทางซ้าย และค่า Y ถ้าเป็นบวกภาพจะเลื่อนลง แต่ถ้าเป็นลบภาพจะเลื่อนขึ้น (X-Y Position)

– ค่า W และ H หมายถึง การย่อขยาย กำหนดให้ W หมายถึงขนาดในแนวนอน และ H หมายถึงขนาดในแนวตั้ง

Amount หมายถึง ปริมาณการส่งผลของคุณสมบัติ Content-Aware Scale

Protect หมายถึง ส่วนที่ต้องการปกป้อง ในที่นี้เราไม่ได้กำหนดอะไรจึงไม่มีให้เลือก

– และสุดท้ายเกี่ยวกับการรูปร่างบุคคล ซึ่งไม่มีในภาพนี้

การใช้งาน Content-Aware Scale แบบกำหนดเอง
ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดพื้นที่ปกป้อง

ใช้เครื่องมือเลือกพื้นที่ใดๆก็ได้ ทำการกำหนดพื้นที่ๆต้องการปกป้องเอาไว้

เลือกพื้นที่ด้วย Lasso Tool

ขั้นตอนที่ 2 : บันทึกพื้นที่ปกป้อง

เรียก Channel Panel ขึ้นมา กดที่ปุ่ม Save as Selection เพื่อทำการบันทึกพื้นที่ๆเลือกให้เป็น Alpha Channel

เซฟพื้นที่คัดเลือกเป็นเลเยอร์ในพาเนลแชนเนล

ถ้าไม่ตั้งชื่อเลเยอร์ พื้นที่คัดเลือกจะมีชื่อว่า Alpha 1 (คีย์ลัด Control + 6 | Command + 6)

ขั้นตอนที่ 3 : เลือกพื้นที่ทั้งหมด

ไปที่ Select > All เลือกพื้นที่ทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 4 : เลือก Content-Aware Scale

ไปที่ Edit > Content-Aware Scale

ขั้นตอนที่ 5 : กำหนดเงื่อนไขรักษาพื้นที่ปกป้อง

กำหนดพื้นที่ปกป้องที่ Options Bar ตรงตัวเลือก Protect เป็น Alpha 1 หมายถึงแชนเนลที่เราได้กำหนดเอาไว้

ขั้นตอนที่ 6 : ย่อหรือขยายภาพ

ทำการย่อขยายภาพ ในครั้งนี้พื้นที่ๆทำการเลือกเอาไว้จะไม่สูญเสียพิกเซล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ปกป้องพื้นที่พร้อมๆกับขยายภาพได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า