วัตถุประสงค์ตลอดกระบวนการของภาพถ่ายดิจิตอลแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีที่มาจากการสแกนภาพฟิล์มผ่านเครื่องสแกนเป็นข้อมูลดิจิตอล หรือ บางคนถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล ต่อมาระหว่างการตกแต่งภาพนั้นเครื่องมือในการตกแต่งที่ใช้ก็มีอยู่อย่างหลากหลาย ไหนจะท้ายที่สุดของการนำไปเผยแพร่บางคนอาจจะแค่อัปโหลดลงสื่อสังคมออนไลน์ แต่บางคนอาจจะต้องการพิมพ์ติดผนังบ้าน นี่คือส่วนสุดท้ายของการปรับคมก่อนออกนำไปเผยแพร่ เป็นเรื่องของความคมชัดปลายทาง (Output Sharpening)

เมื่อภาพถ่ายผ่านกระบวนการเรียกคืนรายละเอียดความคมชัดเบื้องต้นอย่าง Capture Sharpening และทำการตกแต่งภาพพร้อมกับกระบวนการสุดท้ายด้วย Creative Sharpening ซึ่งสองกระบวนการนี้ก็เพียงพอที่จะทำให้ภาพดูคมชัดมากอยู่แล้วแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะยังมีกระบวนการที่ลดทอนสิ่งที่มองเห็นจากหน้าจอการทำงานนั่นก็คือ “แหล่งเผยแพร่”

display

แหล่งเผยแพร่ใดๆก็ตามส่งผลให้กับภาพถ่ายดิจิตอลก่อนนำไปผ่านกระบวนการเผยแพร่แทบทั้งสิ้น เช่น การย่อขนาดที่ถูกต้องสำหรับ Facebook ที่กำหนดให้ด้านยาวที่สุดของภาพมีขนาดที่ 2048px หรือการสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ที่มีความละเอียดในการพ่นหมึกด้วยค่าที่ต่างกัน นี่ไม่รวมถึงชนิดของกระดาษที่ใช้ซึ่งต้องนำมาคิดก่อนกำหนดข้อมูลของภาพให้ตรงตามความต้องการ เพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกแหล่งเผยแพร่ขอแบ่งออกเป็นสองประเภท มีดังต่อไปนี้

1. ประเภทแหล่งเผยแพร่ทางหน้าจอมอนิเตอร์

defaultmonitorดูเหมือนว่าการเผยแพร่ในลักษณะนี้จะสร้างความสับสนให้กับเราน้อยที่สุดแต่นั่นก็ยังมีคนจำนวนมากไม่ทราบว่าการกำหนดค่าออกไปสู่แหล่งเผยแพร่แบบรับชมทางหน้าจอมอนิเตอร์นั้นจำเป็นต้องปรับรูปแบบของสีให้ตรงกับมาตรฐานที่จอภาพของผู้รับชมใช้ ในกรณีนี้หมายถึงการนำเผยแพร่บนเว็บไซต์

สำหรับค่าโดยส่วนใหญ่ที่เป็นค่ากลางสำหรับจอภาพนั้นแนะนำที่ความละเอียด 72ppi และสำหรับจอเรติน่า Macbook คือ 144ppi สเปซสี sRGB ส่วนการปรับคมสามารถกำหนดเองได้เลยหรือจะเลือกตัวเลือกเซฟสำหรับเว็บตามที่โปรแกรมมีมาให้ค่าต่างๆก็จะได้ประมาณนี้เช่นเดียวกัน

การปรับความคมชัดจึงอ้างอิงจากที่เห็นจากจอภาพโดยตรง และปรับตามความเหมาะสมกับลักษณะภาพถ่ายซึ่งไม่มีปัจจัยความแปรปรวนอื่นมารบกวนมากนัก อย่างไรก็ตามควรทราบขนาดของแหล่งเผยแพร่ที่กำหนดให้ดีเสียก่อน

2. ประเภทแหล่งเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ 

printerถึงแม้ว่าภาพถ่ายดิจิตอลที่ปรากฏบนหน้าจอจะถูกปรับความคมชัดจนดูดีแล้วแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภาพเหล่านั้นจะดูดีเมื่อถูกสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษ เพราะภาพถ่ายจะถูกแปลงพิกเซลให้เปลี่ยนขนาดระหว่างการสั่งพิมพ์ อีกทั้งยังมีตัวแปรที่ทำให้ภาพเบลอเนื่องมาจากเครื่องพิมพ์นั้นใช้การจัดทำให้รูปของการพ่นน้ำหมึก (และคุณสมบัติการซึมน้ำหมึกของกระดาษที่ใช้)

กรณีที่โปรแกรมปรับความคมชัดนั้นไม่มีตัวเลือกแบบอัตโนมัติสำหรับความคมชัดงานพิมพ์ ที่งานระยะการมองเห็น 25 เซนติเมตร สำหรับภาพความละเอียดที่ 240-300 ppi การปรับความคมชัดให้อาศัยค่ารัศมี (Radius) ของการปรับคมที่ 0.9-1.2 พิกเซลเป็นใช้ได้

ภาพด้านล่างนี้เป็นของปลั๊กอิน Sharpener Pro ซึ่งมีตัวเลือกอัตโนมัติที่กำกับได้ว่าภาพที่สั่งพิมพ์นั้นมีความละเอียดและขนาดเท่าใด เพื่อที่โปรแกรมจะได้เลือกค่าความคมชัดที่เหมาะสมให้กับเราได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวน

printscreensharpener

ตัวเลือกสำหรับความคมชัดงานพิมพ์จาก Sharpener Pro

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า