หากกล่าวถึงเครื่องมือในการทำสีของภาพถ่ายในโปรแกรม Photoshop ให้สวยงามน่าดึงดูดที่เข้าใจได้ไม่ยากและมีประสิทธิภาพสูง 1 ในนั้นจะต้องมี Selective Color ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ว่าการจะใช้งานเครื่องให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและมีประสิทธิภพสูงสุดจำเป็นต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับมิติของสีที่เป็นไปได้ในเครื่องมือเสียก่อน โดยที่ทั้งหมดจะได้กล่าวไว้ในนี้ครับ
Selective Color คืออะไร?

Selective Color คือเครื่องมือที่ Photoshop มีไว้เพื่อระบุสีที่ต้องการแก้ไขแบบพื้นที่และเปลี่ยนแปลงโดยการเอาระบบแม่สี CMYK มาเทียบเคียงกับสีที่สนใจเพื่อเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางต่างๆ ซึ่งถ้าไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบสีงานพิมพ์มาก่อนก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพียงแค่แม่สีดังกล่าวนั้นมีมาเพื่อเป็นทางเลือกในการบิดค่าสีแบบเนียนๆเท่านั้นเอง

การเรียกใช้เครื่องมือดังกล่าวนั้นมีอยู่ด้วยกันสองรูปแบบ แบบแรกคือการเรียกใช้งานแบบทั่วไปโดยให้ไปที่ Image > Adjustment > Selective Color… และแบบที่สองจะถูกเรียกใช้ในรูปแบบ Adjustment Layer ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงกว่า (เรียกใช้จาก Layer Panel) ซึ่งไม่ว่าจะเรียกใช้อย่างไรก็ตามเครื่องมือจะเหมือนกัน

หน้าตาของเครื่องมือ Selective Color

การทำงานของ Selective Color และกฏพื้นฐานความเข้าใจ

ในการทำงานของสีๆหนึ่งในภาพนั้นน้อยครั้งที่เราจะพบว่ามีสีแบบบริสุทธิ์เพียงสีเดียวในภาพจริงๆ เพราะความหลากหลายของสีในภาพมักเกิดขึ้นมากกว่า 1 เช่น สีส้มที่เกิดจากสีแดงและสีเหลืองผสมกัน ดังนั้นเวลาเราใช้ฟังก์ชั่นที่เปลี่ยนแปลงค่าสีแดงหรือสีเหลืองก็จะส่งผลกระทบต่อสีส้มไปด้วยนั่นเอง จึงควรมองการทำงานของฟังก์ชั่นตรงนี้ให้เข้าใจเสียก่อนว่าทำไมในสเกลที่เราเลือกใช้จึงส่งผลกระทบต่อสีอื่นๆที่ไม่ตรงเสียทีเดียว

ส่วนต่างๆของ Selective Color

สำหรับการทำงานของ Selective Color มีตัวเลือกและสเกลที่ต้องอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้

Preset : ส่วนของแม่แบบที่ผู้ใช้สามารถบันทึกค่าสีที่ตัวเองเพื่อเอาไว้ใช้กับภาพอื่นๆต่อไปได้ และสามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งไม่ต้องกลับมาแก้ไขใหม่อีก ส่วนตัวผู้สอนคิดว่าถ้าเราไม่ได้ถ่ายภาพแบบล็อกค่าแสงหรือกำหนดสีในภาพแบบตายตัวจริงๆส่วนนี้อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำได้จึงต้องระวังให้ดี

Colors : ส่วนที่มีเฉดของสีดังกล่าวผสมเอาไว้ด้วยอยู่ เช่น ถ้าเรากำหนดสีเป็น แดง ก็จะส่งผลในทุกๆบริเวณของภาพที่มีสีแดงเป็นส่วนผสม สีทั้งหมดแบ่งออกเป็น 9 รูปแบบด้วยกัน ซึ่ง 3 รูปแบบสุดท้ายซึ่งได้แก่ Whites, Neutrals และ Blacks จะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับฮิสโตแกรมความสว่างของภาพด้วยถ้าหากต้องการเข้าใจการทำงานสเกลเพิ่มชึ้น

Scales : ส่วนการควบคุมเฉดที่เป็นไปได้ของสีที่ระบุ เช่น ถ้าเลือกสีแดงแล้วใช้สเกล Cyan (ฟ้า) เลื่อนไปทางขวา ส่วนที่ผสมด้วยสีแดงทั้งหมดในภาพจะเริ่มถูกกลืนด้วยสีฟ้ามาขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าเลื่อนมาทางซ้ายจะได้เฉดตรงข้ามสีฟ้าผสมเข้าไปซึ่งก็คือสีแดง ทำให้ส่วนของภาพที่มีสีแดงผสมอยู่ด้วยกันทั้งหมดมีความแดงที่แรงมากขึ้นนั่นเอง

Method : กระบวนการเพื่อกำหนดการทำงานของสเกล มีสองแบบคือ Relative และ Absolute ตรงนี้จะเกี่ยวข้อกับค่าตัวแปร (Value) แบบตัวเลขโดยตรง โดยที่ Relative จะคำนวนแบบเปอร์เซ็นต์รวม ยกตัวอย่างเช่น พิกเซลใดๆที่สมมติว่ามีสีม่วงแดง (Magenta) อยู่ 50% การเพิ่มสเกลใดๆไป 10 จะหมายถึงการเพิ่มไปอีก 10% จาก 50% เท่ากับ 55% ส่วน Absulute จะเพิ่มในลักษณะทบเปอร์เซ็นต์ จะได้ค่าเท่ากับ 50% + 10% = 60% แทนซึ่งแรงกว่า

ทั้งหมดนี้คือการใช้งานเครื่องมือ Selective Color ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้งานจะเป็นอย่างไรนั้นการเรียนรู้เครื่องมือเพียงอย่างเดียวคงให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเพียงพอมากเท่ากับการเรียนศาสตร์ของความสวยงามและความพอดีเช่นศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายหรือทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอลของเราด้วยนั่นเองครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า