Photoshop CC : ทำความรู้จักกับโปรแกรม

เรื่องแรกที่คุณควรเรียนรู้หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จสิ้นก็คือการเปิดและทำความรู้จักส่วนต่างๆของโปรแกรม เพราะอย่างไรเสียถ้าคุณเลี่ยงปล่อยเรื่องนี้ให้ผ่านไป ในที่สุดคุณจะมีเรื่องที่ทำให้ต้องใช้มันอยู่ดี (แถมยังวนเวียนหลอกหลอนตลอดเวลาที่คุณทำงานอีกต่างหาก) ถ้าเริ่มรู้สึกกลัวต้องขอให้ระลึกไว้เสมอว่าเทคโนโลยีทุกอย่างนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อให้เรามีชีวิตที่ง่ายขึ้น ที่ยากอาจจะเป็นความกลัวของคุณเองล่ะนะ

PSCCinterface-940x617@2x

ในโปรแกรม Adobe Photoshop CC (จากภาพเป็นการรันขึ้นมาบนปฏิบัติการ Macintosh)
เราเรียกหน้าต่างโปรแกรมนี้ว่า ‘อินเตอร์เฟซ’ (Interface)

Screen-Shot-2014-07-06-at-2.46.59-PMพาเนลเครื่องมือ (Tools Panel)

ฟากซ้ายของโปรแกรมที่เป็นรูปเครื่องมือต่างๆเรียงกันยาวนี่คือพาเนลเครื่องมือ เป็นตำแหน่งประจำของบรรดาเครื่องมือทั้งหมดที่ Photoshop จะมีให้คุณใช้งานไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน

วิธีการเลือกใช้งานนั้นเพียงแค่คลิกก็ใช้งานได้ทันที ถ้าเอาตัวชี้ไปวางไว้สักพักจะปรากฏปุ่มลัด – Key Shortcuts ขึ้นมา และถ้ากดปุ่มค้างไว้สักพักในบริเวณที่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมเล็กๆมุมขวาล่างของสัญลักษณ์ ตัวเลือกเพิ่มเติมที่ซ่อนอยู่ของเครื่องมือนั้นจะปรากฏออกมาให้คุณใช้

นอกจากนี้ที่พาเนลเครื่องมือยังขยายและหดด้วยการกดที่ปุ่มสามเหลี่ยมสองอันที่มุมซ้ายบน หรือคลิกลากไปไว้ยังส่วนต่างๆของโปรแกรมกรณีที่คุณไม่ชอบใจอยากให้มันไปอยู่ทางขวา หรือแยกออกได้อย่างอิสระ (ผมก็เคยทำแต่ผมไม่ชอบแฮะ)

บาร์ตัวเลือก (Options Bar)

บาร์ตัวเลือกหรือออปชั่นบาร์ (Option Bar) คือคุณสมบัติที่ขยายออกมาจากเครื่องมือที่เลือกในพาเนลเครื่องมือ ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อคุณเลือกเครื่องมือพู่กัน (Brush Tool – ‘b’) ส่วนขยายที่บาร์ตัวเลือกก็จะเป็นคุณสมบัติของพู่กันที่คุณปรับแต่งได้ เช่นขนาดของหัวแปรง, ประเภทของหัวแปรง, ความโปรงใส, ลักษณะการไหลของหมึก หรือแม้แต่การเลือกให้แรงกดมีผลต่อการไหลถ้าคุณเชื่อมต่อกับปากกาแสงอยู่ได้อีกด้วยScreen-Shot-2014-07-06-at-2.49.12-PM

พาเนลของ Photoshop (Photoshop Panels)

ทางด้านขวาของโปรแกรมคุณจะสังเกตเห็นกล่องเครื่องมือ, ส่วนแสดงค่าต่างๆและอุปกรณ์เรียงรายเป็นชั้นๆ เราเรียกกล่องเครื่องมือสี่เหลี่มเล็กๆนี้ว่า Dock ซึ่งแต่ละหน้าต่างสามารถแยกออกได้อย่างอิสระเพียงแค่ลากบริเวณหัวข้อของกล่องเครื่องมือออกมาเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังซ่อนหรือยืดขยายได้เหมือนพาเนลเครื่องมือทุกประการ

คุณเลือกที่จะจัดเรียงเครื่องมือสำคัญๆที่ใช้บ่อยไว้บนสุดก็ได้เพียงแค่ลากจัดตำแหน่งใหม่ หรือลบกล่องเครื่องมือที่ไม่ต้องการที่เครื่องหมาย x กล่องเครื่องมือที่ Photoshop Panels ก็จะหายไป

วิธีการเรียกกลับมาให้คุณมองที่เมนูบาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม เลือก Window จากนั้น Photoshop จะแสดงรายชื่อกล่องเครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่ ให้คลิกที่หัวข้อที่ต้องการ กล่องเครื่องมือก็จะกลับมาแสดงที่หน้าจอตามปกติ

Screen-Shot-2014-07-06-at-3.22.02-PM

เครื่องมือทั้งหมดเรียกกลับมาได้โดยการไปที่เมนู Window

Screen-Shot-2014-07-06-at-2.48.55-PM-170x300@2x

พาเนลต่างๆ

Screen-Shot-2014-07-06-at-2.49.45-PM

Window > Workspace

ตัวเลือกรูปแบบพื้นที่การทำงาน (Workspace)

นอกจากนี้ Photoshop ยังมีชุดพื้นที่ทำงานกับเครื่องมืออัตแบบโนมัติเอาไว้กรณีที่คุณไม่รู้ว่าจะงานของคุณมีอะไรที่จำเป็นบ้าง เช่นเมื่อคุณเลือก Essentials โปรแกรมก็จะแสดงเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นออกมา หรือถ้าคุณเลือกการจัดเรียงแบบ Photography ก็จะไม่มีพาเนลไทม์ไลน์ (Timeline) สำหรับการทำอนิเมชั่นของผู้ที่ทำงานประเภทออกแบบให้เห็น

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า