การออกแบบสีพาสเทลในภาพถ่าย

ความเป็นพาสเทลในภาพถ่ายมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของกระบวนการตกแต่งภาพซึ่งแท้ที่จริงเราสามารถทำให้ภาพถ่ายนั้นสำเร็จสมบูรณ์ได้ตั้งแต่หลังกล้อง แต่อย่างไรก็ดีมีหลายวิธีการที่ทำให้ภาพถ่ายประสบความสำเร็จซึ่งผู้สอนจะได้อธิบายอย่างคร่าวๆในบทความนี้ครับ

สิ่งที่ผู้เรียนพบได้ในอินเตอร์เน็ตคือคลังข้อมูลมหาศาลไว้เก็บเกี่ยวความรู้มากมายไม่รู้จบ แต่เราก็ต้องตระหนักด้วยว่าในคลังความรู้เหล่านั้นมีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและความเข้าใจผิดที่ถูกบอกต่อกันมา ผู้สอนจะเริ่มจากการค้นหาคำว่า ‘แต่งสีพาสเทล’ ในแหล่งค้นหาข้อมูลที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่างกูเกิล ได้ผลลัพธ์ออกมาดังนี้

ผลการค้นหาไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเสมอไปทุกครั้ง

และเมื่อเปลี่ยนรูปแบบผลการค้นหาเป็นประเภทรูปภาพ พบว่ามีภาพที่ค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางเดียวกัน นั่นคือภาพถ่ายที่มีสีหวานให้ความรู้สึกเบาบางกว่าสีที่พบเห็นได้ในแบบทั่วไป ถึงตรงนี้เราก็พอสรุปความเข้าใจเบื้องต้นของสีพาสเทลได้ว่า “เป็นสีที่อยู่ในโซนสว่างเป็นหลัก” แต่นั่นก็ยังไม่พอสำหรับคำจำกัดความของสีพาสเทลเสียทีเดียว

สีพาสเทล (Pastel Color) คืออะไร

พาสเทล หรือ สีพาสเทล คือกลุ่มคำที่ใช้อธิบายกลุ่มสีมีค่าตัวแปรส่องสว่างสูง (High-Value Luminance) ซึ่งนำมายังโทนสีที่มีความอิ่มตัวต่ำจนถึงปานกลาง (Low to Intemediate Saturation) กลุ่มสีดังกล่าวนี้เมื่อถูกนำมาใช้ในสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะประเภทภาพวาด, ภาพถ่าย หรืออื่นๆ นอกจะให้คุณลักษณะสีที่เป็นเอกลักษณ์ยังให้อารมณ์ภาพไปในทางความรู้สึกอ่อนหวาน, เบาบาง, ธรรมชาติ, จืดจาง หรือ สะอาด

พาสเทลให้ความรู้สึกหวาน ส่วนใหญ่ความรู้สึกของน้ำหนักจะคล้อยตามกัน
ที่มา (colorpalettes)

กลุ่มสีพาสเทลตามหลักวงล้อสี

เมื่อเรากำหนดกลุ่มสีพาสเทลด้วยคำจำกัดความได้ดังนี้แล้ว สิ่งแรกที่ต้องพิสูจน์คือเมื่อเรากำหนดค่าส่องสว่างให้กับสีใดๆก็ตามตั้งแต่ 50% ขึ้นไปจะเป็นสีพาสเทลดังที่กล่าวไว้หรือไม่ ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นกลุ่มสีพาสเทลที่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์สิ่งที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า และการเทียบกับทฤษฎีของสีรวมไปถึงการจับคู่สีตามหลักจิตวิทยาการใช้สีด้วย

มิติของสี : งานศิลปะหรือสื่อที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในยุคก่อนหรือยุคปัจจุบัน หากมีเรื่องของสีที่เกี่ยวข้องแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องมิติของสี สามารถนำไปประยุกต์กับงานถ่ายภาพได้โดยตรงโดยการเรียนรู้ความเป็นไปได้ของสเกลในการควบคุมตัวแปรต่างๆ ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาให้ใช้งานอย่างไรด้วย

มิติความสว่างของสีแดง : ที่สีเทากลางจะได้สีแดงที่มีความเข้มข้นและจางลงเรื่อยๆ

กลุ่มสีพาสเทล

สีพาสเทลกับการถ่ายภาพ

การทำภาพถ่ายให้มีลักษณะของสีแบบพาสเทลนั้นเป็นไปได้ทั้งการเตรียมการบันทึกโดยกำหนดภาพไว้ล่วงหน้าหรือเกิดจากการตกแต่ง แต่ถ้าหากเป็นไปได้การเตรียมตั้งแต่ต้นกระบวนจะนำไปสู่ผลลัพธ์ง่ายกว่า เพราะถ้าหากเรานำภาพอะไรก็ได้มาทำเป็นภาพสีพาสเทลจะเกิดความยุ่งยากในการตกแต่งแก้ไขและต้องใช้ทักษะที่สูงกว่าเพื่อให้ได้มากซึ่งผลลัพธ์แบบเดียวกัน

สีจะเป็นไปอย่างที่ต้องการก็ต่อเมื่อมีการควบคุมและตกแต่ง
(#FAEFDB, #F5B732, #65B5CE, #ECECEC และ #744825)

สีพาสเทลเต็มกระบวนการ

สีพาสเทลเต็มกระบวนการ คือ สีพาสเทลที่มาตั้งแต่กระบวนการคิดและจัดเตรียมทุกอย่างให้เป็นไปตามควบคุม ภาพที่ได้จะสำเร็จตั้งแต่หน้างานและตกแต่งน้อยมาก เป็นภาพที่มีความเป็นพาสเทลโดยสมบูรณ์และบางภาพอาจจะไม่มีการตกแต่งเลยด้วยซ้ำ

พาสเทลตั้งแต่ต้นและไม่ได้ตกแต่งเลย

สีพาสเทลบางกระบวนการ

อาจจะเกิดจากการเน้นหนักที่กระบวนการตกแต่งเท่านั้น แต่มีวัตถุดิบที่ไม่มีการควบคุมมาก่อน เช่น ภาพที่มีสีส่วนเงาค่อนข้างเข้มสามารถหลีกเลี่ยงโซนได้ด้วยการตกแต่งในระดับหนึ่ง และต้องอาศัยทักษะการตกแต่งพอสมควรด้วย

ท้องฟ้าไม่ได้เป็นแบบนี้ต้องแต่งเอา

เนื้อหาเบื้องต้นนี้ได้แสดงถึงที่มาที่ไปอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับการถ่ายภาพในแบบสีโทนพาสเทล แล้วสีโทนพาสเทลในความเข้าใจของผู้เรียนคืออะไร? สำหรับผู้เรียนของ DozzDIY ไม่ว่าจะเป็น Lightroom CC : Master Class และ Photoshop CC : Pro-Retoucher ผู้สอนจะได้เจาะลึกถึงกระบวนการตกแต่งแบบแม่นยำสูงอีกครั้งในตอนหน้าครับ

[bsa_pro_ad_space id=11] [bsa_pro_ad_space id=10]

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

รูปแบบสีที่ช่างภาพควรรู้

เรียนรู้ 3 รูปแบบสีสำหรับช่างภาพเพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างในการนำไปใช้ให้เหมาะสมบนสื่อต่างๆ

สีสัน, ความอิ่มตัว และ ความสว่างในโปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ สีสัน, ความอิ่มตัว และ ความสว่าง ซึ่งเป็นคุณลักษณะของสีเพื่อต่อยอดความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายสีให้ดีมากยิ่งขึ้น

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า