ก้าวหน้าในการแต่งภาพได้เร็วกว่าใครด้วย Workflow แบบ DozzDIY
สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของการเดินทางไปยังจุดหมายเป็นเรื่องการลำดับความสำคัญก่อน-หลังระหว่างที่กำลังเดินทาง ขั้นตอนและลำดับที่วางเอาไว้อย่างดีจะช่วยให้อุปสรรคถูกขจัดอย่างราบรื่น และการตกแต่งภาพก็เป็นแบบนั้น

เพราะว่าระหว่างตกแต่งภาพถ่ายจะมีการสูญเสียข้อมูลในภาพอยู่ตลอดเวลา การวางแผนไว้เป็นอย่างดีไม่เพียงแต่จะช่วยลดสิ่งที่สูญเสียไปแต่ยังทำให้กระบวนการแต่งภาพในทุกๆครั้งมีขอบเขตแน่นอน ซึ่งจะนำไปสู่ความรวดเร็วแม่นยำที่มากขึ้นเรื่อยๆ

ขั้นตอนแต่งภาพที่แน่นอนแบบฉบับ DozzDIY

การตกแต่งภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นของตัวผู้สอนหรือทีมงานเองมีขั้นตอนที่ตายตัว เริ่มต้นตั้งแต่การบันทึกภาพด้วยคุณภาพสูงสุด และจัดการไฟล์ภาพดิบด้วยโปรแกรมจัดการโดยเฉพาะอย่าง Sigma PhotoPro กรณีกล้องถ่ายภาพดิจิตอลของค่าย Sigma (เซ็นเซอร์พิเศษ) หรือโปรแกรมจัดการไฟล์ภาพดิบที่รู้จักอย่าง Adobe Lightroom Classic กรณีกล้องถ่ายภาพนอกเหนือจากนั้น และนำไปจัดการภาพขั้นละเอียดต่อที่ Adobe Photoshop CC อีกครั้ง

กรณีของโปรแกรม Sigma PhotoPro

กรณีพิเศษสำหรับอุปกรณ์กล้องถ่ายภาพดิจิตอลเซ็นเซอร์ Foveon หรือ Foveon Quattro นามสกุล .X3F ที่ให้ภาพรายละเอียดแบบพิเศษ จะเป็นการคงไว้ซึ่งรายละเอียดภาพสูงสุดก่อน เพราะโปรแกรม Sigma PhotoPro ไม่สามารถตกแต่งภาพในระดับกลุ่มพิกเซล หรือการรีทัชที่ละเอียดมากๆด้วยเทคนิคพิเศษได้ จบด้วยการบันทึกไฟล์ในแบบสี ProPhoto 16 บิต ซึ่งสูญเสียลงจากเดิมน้อยที่สุด

Sigma PhotoPro เป็นแค่ทางผ่านไฟล์​ RAW ของกล้องค่าย SIGMA (กรณีนามสกุล .X3F) ก่อนนำไปแต่งต่อในโปรแกรม Lightroom หรือ Photoshop ต่อไป

กรณีของ Adobe Lightroom Classic

การตกแต่งภาพในโปรแกรม Lightroom Classic ปัจจุบันนั้นครอบคลุมการตกแต่งภาพไปเกือบ 90% ของทั้งกระบวนการแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงบางครั้งไม่จำเป็นต้องไปจบใน Adobe Photoshop ทุกภาพเหมือนอย่างเคยหากไม่จริงจังกับการแต่งภาพมาก (ส่วนใหญ่จะเป็นภาพจากกล้องของ Sigma เซ็นเซอร์ Foveon เนื่องจากความคมชัดอยู่ในระดับสูงสุดอยู่แล้วไม่ต้องทำเพิ่มเติม)

สรุปขั้นตอนได้ดังนี้ : ใช้แม่แบบสีอัตโนมัติ > รื้อค่าดังเดิมของกล้องออก > ปรับค่าภาพโดยรวม > ปรับค่าภาพอย่างละเอียดด้วย Masking > ปรับคมและส่งออกหรือโยนไป Photoshop 

หมายเหตุ : ความหมายของแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียดมีบอกไว้สำหรับผู้ที่ลงเรียนหลักสูตร Lightroom Classic : Reverse-Learning กับ DozzDIY โดยตรง

 

กรณีของ Adobe Photoshop CC

สำหรับ Photoshop นั้นมักเป็นเทคนิคพิเศษที่ไม่สามารถทำได้ในโปรแกรมทั้งสองก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็น Luminosity Mask เพื่อจัดการกับส่วนสว่างขั้นละเอียด หรือ Tonal Mask สำหรับวรรณะสีขั้นละเอียด หรือการปลอมแปลงเพิ่มเติมพิกเซลใหม่ๆเข้าไปในภาพ เช่น การรีทัชแบบต่างๆ รวมไปถึงขั้นตอนการปรับคมที่เลือกจะทำใน Photoshop แทนหากไม่ทำใน Lightroom Classic

มีหลายอย่างที่ Photoshop CC ทำได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการปรับคมที่พิเศษกว่า หรือ การรีทัชที่แนบเนียนด้วยเครื่องมือแบบต่างๆ หากไม่จบที่ Lightroom ก็จะถูกส่งมาที่นี่ต่อ

การตกแต่งภาพถ่ายในขณะที่ยังคงเป็นไฟล์ภาพดิบในโปรแกรมจัดการเป็นการแต่งภาพแบบไม่สูญเสียรายละเอียด (Non-Destructive Editor) อย่าง Sigma PhotoPro กับ Lightroom Classic อาจจะทำขั้นตอนใดก่อนก็ได้แต่แนะนำว่าเรียงลำดับก่อนหลังไว้ยังไงก็ดีกว่าในเรื่องความรวดเร็ว ส่วน Photoshop CC จะต้องระวังความเสียหายไฟล์ด้วยการทำงานแบบลำดับชั้นหรือ Smart Objects เอาไว้ดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า