LR Classic CC : ระบบนำเข้าไฟล์

เมื่อใดก็ตามที่กดชัตเตอร์บันทึกภาพไฟล์ข้อมูลดิจิตอลดังกล่าวจะส่งไปเก็บเอาไว้ยังแหล่งจัดเก็บภายในกล้องซึ่งนั่นก็คือเมมโมรี่การ์ด จากนั้นเมื่อนำมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วแหล่งจัดเก็บในลำดับต่อไปก็คือฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง Lightroom CC จะเป็นโปรแกรมเริ่มต้นสำหรับผู้ที่รักการแต่งภาพ Lightroom แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำกระบวนการดังกล่าวให้มีความยืดหยุ่นและเป็นระบบได้อย่างไร เนื้อหาส่วนนี้ได้อธิบายส่วนสำคัญไว้ทั้งหมดแล้ว

แค็ตตาล็อก (Catalogs)

แค็ตตาล็อกเป็นสิ่งที่มีไว้เพื่อบันทึกข้อมูลทุกอย่างของ Lightroom ในการทำงาน ผู้เรียนจะได้สร้างแค็ตตาล็อกขึ้นมาทันทีหลังจากเปิดใช้งานครั้งแรกโดยข้อมูลที่แค็ตตาล็อกบันทึกไว้นั้นได้แก่ตำแหน่งที่จัดเก็บภาพและรายละเอียดสำคัญไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลิขสิทธิ์ภาพ, ข้อมูลของตัวอย่างภาพภาพคร่าวๆ, ประวัติการแก้ไขภาพและอื่นๆ การสร้างไฟล์แค็ตตาล็อกนั้นผู้เรียนสามารถกำหนดตำแหน่งของการบันทึกเอาไว้ได้ตั้งแต่แรกจากกล่องโต้ตอบ Catalog Setting การทำงานแต่ละครั้งผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกับแค็ตตาล็อกเพียงตัวเดียว แต่สามารถบันทึกหรือสร้างขึ้นมากี่แค็ตตาล็อกก็ได้ (โดยการสลับเปิดแค็ตตาล็อกที่ต้องการทำงาน)

catalog

แคตตาล็อกที่เก็บภาพตลอด 1 ปีอาจแสดงภาพง่ายๆได้แบบนี้

และถึงแม้ว่าปัจจุบัน Adobe Lightroom สามารถทำงานกับไฟล์แคตตาล็อกขนาดใหญ่ได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ดีเพื่อความรอบคอบปลอดภัยอาจจะต้องมีการสร้างแค็ตตาล็อกใหม่ปีละครั้งเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อสิ่งที่คาดไม่ถึงเอาไว้ด้วย

ตำแหน่งเก็บแค็ตตาล็อก

Catalog Setting แสดงตำแหน่งเก็บไฟล์แค็ตตาล็อก

 catalognSide

ไฟล์แค็ตตาล็อกจะอยู่คู่กับไฟล์ที่ใช้พรีวิวภาพตัวอย่าง

โฟลเดอร์หรือแฟ้มเก็บภาพ (Folders)

โฟลเดอร์หรือแฟ้มเก็บภาพ หมายถึงตำแหน่งที่มีภาพถ่ายบรรจุเอาไว้ภายใน ยกตัวอย่างเช่นโฟลเดอร์ 29-11-58 อาจจะหมายถึงโฟลเดอร์ที่มีภาพถ่ายของวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เอาไว้ (เป็นชื่ออื่นก็ได้) ในการนำเข้าภาพมายัง Lightroom นั้นผู้เรียนสามารถนำภาพเข้ามาได้สองแบบหลักๆด้วยกันคือ นำภาพเข้ามาในโปรแกรมโดยที่ชี้ไปยังโฟลเดอร์นั้นเพียงอย่างเดียว หรือย้ายภาพเหล่านั้นมาเก็บไว้ยังโฟลเดอร์ใหม่ที่ตั้งค่าเอาไว้ด้วยค่าที่โปรแกรม Lightroom ระบุเอาไว้ เช่น จากเมมโมรี่การ์ดลงมาสู่โฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

folder

ความสับสันเมื่อมีการย้ายภาพออกไปจากโฟลเดอร์ที่เคยถูกจดจำไว้ในโปรแกรม จนเป็นเหตุทำให้เกิดข้อความเตือนขึ้นมาใน Lightroom นั้นไม่นับเป็นปัญหาที่น่ากลัวอีกแล้ว เพราะเพียงผู้เรียนดับเบิลคลิกรายการโฟลเดอร์ที่ถูกย้ายไปแล้วใน Lightroom จากนั้นให้ระบุตำแหน่งของที่อยู่ใหม่โฟลเดอร์นั้น ภาพที่หายไปจะกลับมาอัพเดทอีกครั้ง

คอลเลกชันหรืออัลบั้มภาพ (Collections)

คอลเลกชันหรืออัลบั้มภาพเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับแค็ตตาล็อกและโฟลเดอร์โดยเรียงลำดับความสำคัญได้เป็น แค็ตตาล็อก > โฟลเดอร์ > คอลเลกชัน ในโปรแกรม Adobe Lightroom กำหนดให้เราสร้างคอลเลคชันขึ้นมาได้ 3 แบบ ได้แก่ คอลเลกชันแบบกำหนดเอง (Custom Collection), คอลเลกชันอัจฉริยะ (Smart Collection) และ คอลเลกชันแบบเร่งด่วน (Quick Collection)

หมายเหตุ : การลบภาพที่มีในคอลเลกชันไม่ได้ทำให้ภาพต้นฉบับสูญหายไป

หมายเหตุ : เนื้อหา Lightroom CC ส่วนของขั้นตอนและเวิร์กช็อปการเรียกใช้งาน Collection อย่างละเอียดอยู่ในหลักสูตร Lightroom CC : Reverse-Learning Course ของ DozzDIY >> [คลิกที่นี่]

คอลเลกชันแบบกำหนดเอง (Custom Collection)

หมายถึง คอลเลกชันที่ผู้เรียนสามารถเลือกจากโฟลเดอร์ได้อย่างอิสระว่าจะนำภาพใดมาเก็บไว้บ้าง เช่นภาพที่ถ่ายจากประเทศเวียดนามทั้งหมด อาจจะหมายภาพที่เกียวข้องหรือถ่ายในประเทศเวียดนามทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโฟลเดอร์ไหนก็ตาม โดยผู้เรียนจะต้องนำมาเก็บไว้ในคอลเลกชันด้วยตัวเอง

collection

คอลเลกชันอัจฉริยะ (Smart Collection)

หมายถึงคอลเลกชันที่ถูกสร้างขึ้นตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้กำหนดไว้ โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ Lightroom ได้มีไว้ให้เพื่อความสะดวก ยกตัวอย่างเช่น ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ทางยาวโฟกัสที่ระบุไว้ใน EXIF ว่า 50mm การระบุไว้แบบนี้ทำให้ Lightroom ค้นหาภาพทั้งหมดที่บันทึกไว้ในค่า EXIF ว่าเป็นทางยาว 50mm มาเก็บไว้ในคอลเลกชันอัจฉริยะนี้ และอัพเดทให้อยู่ตลอดเวลาเมื่อมีการนำเข้าภาพถ่ายที่ตรงตามเงื่อนไขที่ระบุ

colcondition

จะกำหนดเงื่อนไขยาวๆยังไงก็ได้

คอลเลกชันแบบเร่งด่วน (Quick Collection)

เป็นคอลเลกชันที่ทำขึ้นมาอย่างเร็วซึ่งอาจจะเหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาสร้างอย่างละเอียด หรือไม่ได้จำเพาะเจาะจงความเกี่ยวข้องของภาพแต่ละภาพมากนักในครั้งนั้น เช่นคอลเลกชันที่ต้องนำมารวมๆกับเพื่อแสดงสไลด์โชว์อย่างคร่าวๆหรือนำเสนอภาพให้ลูกค้าดูชั่วคราว เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้คลายข้อสงสัยถึงความแตกต่างกันในแต่ละรูปแบบการจัดเก็บของ Adobe Lightroom ซึ่งต่างก็มีความสำคัญและทำงานร่วมกันในโปรแกรม ถ้าหากว่าผู้เรียนได้ทำความเข้าใจก็จะทำให้ภาพถ่ายถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมทั้งยังจัดการกับภาพจำนวนมหาศาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเป็นระบบครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า