ศึกษาเกี่ยวกับฟิลเตอร์สีที่ส่งผลต่อการบันทึกภาพขาวดำของช่างภาพยุค Analog ไปจนถึงการนำเอาความรู้เรื่องมิติความสว่างของสีมาใช้ในการตกแต่งภาพถ่ายดิจิตอลในปัจจุบัน

ยุคเริ่มต้นของการบันทึกภาพในระบบดิจิตอล เรายังไม่มีโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ชาญฉลาดมากพอในการแปลงภาพถ่ายสีเป็นขาวดำ สิ่งที่ทำได้ในเวลานั้นคือโหมดขาวดำที่ติดมากับตัวกล้อง บ่อยครั้งการมองเห็นภาพในขณะที่ยังเป็นสีกลับดูดีกว่า

จนมีคนกลุ่มหนึ่งที่ประดิษฐ์อุปกรณ์ซึ่งช่วยให้ภาพถ่ายขาวดำด้วยโหมดขาวดำจากกล้องมีความน่าสนใจมากขึ้น สิ่งนั้นคือฟิลเตอร์สีซึ่งมีวิธีการใช้งานง่ายดายเพียงแปะไว้หน้าเลนส์ ความไวต่อสีต่างๆในภาพเมื่อแปลงเป็นขาวดำจึงแปลกตาและเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนั้น

ว่าแต่ว่าเราจะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้อย่างไร?

ความสว่างของสี

ความสว่าง (Luminance) หรือ สภาพส่องสว่าง (Luminosity) เป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในสีทุกสีบนโลกใบนี้ เกิดเป็นความหนักเบาต่างๆ เช่น สีน้ำเงินเข้มเป็นสีน้ำเงินที่มีความส่องสว่างน้อย ถ้ามีค่าความส่องสว่างมากจะกลายเป็นสีฟ้า ดังนั้นหากไม่เข้าใจถึงความมีอยู่ของความสว่างในทุกสิ่ง การแปลงภาพถ่ายขาวดำจะไม่มีเสน่ห์ดึงดูดใจ

สีต่างๆเมื่อแปลงเป็นขาวดำ

การแปลงภาพสีเป็นภาพขาวดำ หรือแม้แต่การตั้งค่ากล้องให้อยู่ในโหมดขาวดำนั้นเป็นการแปลงแบบ Greyscale (ลดค่าความอิ่มตัวของทุกสี = 0) ภาพที่เห็นจะค่อนข้างแบนในด้านมิติ ไม่มีความหนักเบาและไม่มีชีวิตชีวา

ฟิลเตอร์สี (Color Filter) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ โดยเมื่อเข้าสู่โหมดถ่ายภาพขาวดำในขณะที่กำลังติดฟิลเตอร์สีช่างภาพจะรู้สึกได้ถึงเฉดสีที่ดูดกลืนและปลดปล่อย ทำให้ความเปรียบต่างของน้ำหนักสีมีมากขึ้น ฟิลเตอร์สีทำได้ทั้งซื้อมาแบบอุปกรณ์ติดหน้าเลนส์ และปัจจุบันสามารถแปลงเอาเองได้ในโปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย

เกี่ยวกับฟิลเตอร์สีที่ใช้ในการถ่ายภาพขาวดำ

การถ่ายภาพขาวดำ มีฟิลเตอร์สีที่มักใช้แปลงบ่อยอยู่ 5 สี ได้แก่ แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว และ น้ำเงิน หน้าที่หลักคือฟิลเตอร์สีใดปิดหน้าเลนส์สีนั้นที่อยู่ในภาพก็จะสว่างขึ้นเวลาแปลงเป็นขาวดำ และสีอื่นก็จะถูกบล็อกหรือลดหลั่นความสว่างลงไป เช่น ฟิลเตอร์สีแดงเมื่อทำภาพเป็นขาวดำสีแดงก็จะสว่างมาก แต่สีเขียวและน้ำเงินในภาพจะถูกบล็อก

การใช้งานฟิลเตอร์สีสำหรับภาพขาวดำ

ฟิลเตอร์แต่ละสีต่างก็ปลดปล่อยและดูดกลืนสีต่างกัน การใช้งานให้ถูกประเภทกับภาพจึงช่วยให้ช่างภาพลดขั้นตอนการแปลงภาพขาวดำและทำให้ภาพขาวดำนั้นดูดีขึ้นตั้งแต่หลังกล้อง

ฟิลเตอร์สีแดง (Red Filters)

ฟิลเตอร์สีแดงให้ความเปรียบต่างที่จัดจ้าน โทนสีสว่างส่วนใหญ่จะโดดเด่นขึ้นมาทันทีเมื่อใช้ฟิลเตอร์นี้ และสีในโทนเย็นมักจะถูกบล็อกให้ดำกว่าเดิม ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ฟิลเตอร์สีแดงจะทำให้ท้องฟ้าที่มีสีฟ้าเข้มกลายเป็นสีดำเกือบสนิทเมื่อทำภาพขาวดำ ตัดขาดกับกลุ่มก้อนเมฆที่เป็นสีขาว ให้ความรู้สึกขึงขังจริงจังและน่าสนใจมากในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส่มีเมฆมากหรือกลุ่มหมอกหนา

เปรียบเทียบเมื่อใช้ฟิลเตอร์สีแดง

นอกจากนี้ฟิลเตอร์สีแดงยังช่วยแยกความแตกต่างระหว่างดอกไม้และใบไม้ได้ดี (เฉพาะดอกไม้ที่ส่วนใหญ่เป็นสีในโทนร้อน) หรือทำให้ผิวของคนสว่างขึ้นเมื่อทำเป็นภาพขาวดำ

ฟิลเตอร์สีส้ม (Orange Filters)

เป็นฟิลเตอร์ที่อยู่ระหว่างฟิลเตอร์สีเหลืองและฟิลเตอร์สีแดง การใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้ให้สมดุลดีที่ของภาพ ความเปรียบต่างของภาพจะไล่ได้นุ่มนวล ช่างภาพโดยส่วนมากมักใช้ฟิลเตอร์สีส้มเพื่อลดรายละเอียดของฝ้าหรือกระบนผิวหน้าตัวแบบในการถ่ายภาพบุคคล

เปรียบเทียบเมื่อใช้ฟิลเตอร์สีส้ม [ที่มา]

หรือแม้แต่การถ่ายภาพชุมชนเมือง, ตึกแถวที่มีการก่อสร้างด้วยอิฐ ฟิลเตอร์สีส้มจะช่วยเพิ่มน้ำหนักความเปรียบต่างของชนิดวัสดุในภาพ มีความลึกมองเห็นพื้นผิวได้ชัดเจน

จะว่าไปการใช้ฟิลเตอร์สีส้มในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นั้นมีเหตุผลอยู่ไม่กี่ข้อ เช่น การเกลี่ยความโดดเด่นของควันหรือหมอกให้น้อยลงแล้วไปเพิ่มน้ำหนักของเมฆที่ท้องฟ้าเท่านั้น

ฟิลเตอร์สีเหลือง (Yellow Filters)

เป็นฟิลเตอร์ที่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักความจริงในภาพน้อยมากที่สุดในบรรดาฟิลเตอร์ 5 สี มักจะถูกหยิบขึ้นมาใช้ในกรณีที่มองเห็นถึงความเปรียบต่างอยู่แล้วเมื่อเป็นภาพสี ช่างภาพที่หัดถ่ายภาพขาวดำจะนิยมใช้ฟิลเตอร์สีเหลืองเพราะค่อนข้างตรงกับความจริงในภาพ

เปรียบเทียบเมื่อใช้ฟิลเตอร์สีเหลือง [ที่มา]

เวลาถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ฟิลเตอร์สีเหลืองจะทำให้ท้องฟ้ามืดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นทำให้พอแยกแยะระยะห่างระหว่างพื้นกับท้องฟ้า และด้วยความเปรียบต่างน้อยนี้ทำให้เวลาถ่ายภาพดอกไม้ใบหญ้าความคมชัดและรายละเอียดจึงมีมากกว่าการใช้ฟิลเตอร์ที่ส่งผลรุนแรงกว่า

ฟิลเตอร์สีเขียว (Green Filters)

เมื่อคุณต้องหยิบฟิลเตอร์สีใดสีหนึ่งขึ้นมาถ่ายพืชหรือต้นไม้ใบหญ้าที่มีสีเขียว ฟิลเตอร์นี้จะมีประโยชน์ทันทีเพราะจะช่วยขับให้สีเขียวในภาพโดดเด่นออกมาเวลาเป็นภาพขาวดำ แต่นอกจากนั้นก็ยังไม่เห็นข้อดีอื่นๆมันจึงเป็นฟิลเตอร์ที่ค่อนข้างเฉพาะทาง เว้นเสียแต่ว่าคุณอยากจะผลักให้พื้นหลังที่เป็นสีเขียวแยกตัวออกจากดอกไม้ในฉาก (ดอกไม้จะเข้มกว่าแทน)

เมื่อใช้ฟิลเตอร์สีเขียว

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้ฟิลเตอร์สีเขียวในงานถ่ายภาพวิวธรรมชาติ เพราะฉากโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยเสียวโดยส่วนมาก แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้างคือรายละเอียดที่ท้องฟ้าบางส่วนจะหายไปได้เนื่องจากความสว่างเล็กน้อยที่ฟิลเตอร์ทำปฏิกิริยานั่นเอง

ฟิลเตอร์สีน้ำเงิน (Blue Filters)

ไม่ค่อยมีคนใช้ฟิลเตอร์สีน้ำเงินถ่ายภาพขาวดำ เป็นฟิลเตอร์ที่ช่างภาพรักน้อยที่สุดเนื่องจากทำให้เฉดสีเกือบทั้งหมดของภาพเป็นสีดำจนถึงดำสนิท ความเปรียบต่างเกิดขึ้นน้อย

เปรียบเทียบเมื่อใช้ฟิลเตอร์สีน้ำเงิน [ที่มา]

หน้าที่ของฟิลเตอร์สีน้ำเงินคือทำให้เกือบทุกสีมืดลง (สงบลง) และลดความเปรียบต่างที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในภาพ จึงเหมาะสำหรับภาพขาวดำที่ต้องการปิดบังรายละเอียดที่ไม่ต้องใส่ใจมากนัก ภาพที่เหมาะกับฟิลเตอร์ขาวดำ เช่นภาพหมอกควัน บรรยากาศจางๆในตอนเช้า

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า