แก้สีเพี้ยนอย่างสมบูรณ์ด้วยสมดุลแสงขาวเฉพาะจุด
สาเหตุที่ทำให้ภาพถ่ายต้นฉบับจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลมีสีที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงนอกไปจากสาเหตุของช่วงความกว้างของแสงที่กล้องรับได้คือสมดุลแสงขาว เนื่องจากว่าภาพถ่าย 1 ภาพที่เกิดขึ้นหลังกดชัตเตอร์นั้นจะมีสมดุลแสงขาวได้เพียงค่าเดียว หมายความว่านอกจากส่วนที่เราสนใจมีสีที่ถูกต้องแล้วจุดอื่นก็ไม่ได้รับการแก้ไขไปด้วยเลย และนี่คือบทความการแก้ไขด้วยโปรแกรมเพื่อชดเชยในสิ่งที่กล้องทำไม่ได้ครับ

บทความนี้เป็นการกล่าวถึงการทำความเข้าใจว่าส่วนที่สมดุลแสงขาวเพี้ยนนั้นเพี้ยนไปอย่างไร มีหนทางใดบ้างที่จะแก้ไขกลับมาให้มีความถูกต้อง และใช้ความเข้าใจในการมองภาพด้วยหลักแห่งความเป็นจริงควบคู่กับความรู้ทางทฤษฎีซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานที่ถูกที่ควรกับการตกแต่งแก้ไขภาพได้อย่างไรนั่นเองครับ

สมดุลสเกลของแสงขาว

แสงขาวเกิดขึ้นจากแม่สีแสงในธรรมชาติสามสีรวมตัวกัน คือ แดง, เขียว และน้ำเงิน แต่พอมาเป็นวิธีการสร้างแสงขาวในภาพถ่ายจะใช้หลักการความตรงกันข้ามของสีสองระบบ คือ ระบบแม่สีแสง และ ระบบสีวัตถุวัตถุธาตุ (RGB และ CMYK)

ถึงตรงนี้ผู้สอนขอให้พิจารณาการกำหนดค่าแสงขาวด้วยตนเอง (Manual-White Balance Adjustments) จะพบว่าในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลโดยส่วนใหญ่มีสเกลให้เรารับเลื่อนเพื่อเลือกค่าสมดุลแสงขาวด้วยตนเอง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสเกลในรูปแบบใดก็ตาม จะไม่พ้นสามคู่สีตรงข้ามซึ่งได้แก่ ฟ้า-แดง, ม่วงแดง-เขียว และ เหลือง-น้ำเงิน

หลักการแก้ไขจึงให้ดูว่ามีสีใดล้นออกมาจากส่วนที่เรากำลังสนใจแล้วใช้สเกลเลื่อนไปยังฝั่งตรงกันข้ามเพื่อแก้ไขสี

การพิจารณาความสมดุลจากฮิสโตแกรมสี

ทีนี้จึงมีคำถามว่า “เราจะเชื่อสีจากจอภาพที่ไม่มีความเที่ยงตรงได้อย่างไร?” เพราะการเชื่อจอภาพก็เท่ากับว่าเรายอมรับค่าความผิดเพี้ยนที่ไม่อาจนำไปเทียบกับจอภาพอื่นๆได้ อีกทั้งเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าจอภาพของเราจะเหมือนกับจอภาพของผู้ใช้คนอื่นๆ จึงต้องพิจารณาจากข้อมูลที่เชื่อถือได้จริงๆคือข้อมูลฮิสโตแกรมสี โดยใช้ความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลความสว่างพิกเซลผนวกเข้ากับค่าความตรงกันข้ามของสีดังภาพ

ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาแสดงให้เห็นถึงความซ้อนทับกันของสีสองระบบที่แสดงให้เห็นได้ทั้งการปรากฏตัวของสีในโซนต่างๆของภาพ การประกบทับกันอย่างสมบูรณ์จะทำให้ข้อมูลของพิกเซลในโซนนั้นไม่มีการเหลื่อมล้นของคู่ระบบสีตรงข้าม (กลายมาเป็นเทคนิคการกำหนดแสงขาวด้วยตัวเองในที่สุด)

การนำความรู้ไปใช้กับโปรแกรมตกแต่งภาพถ่ายอื่น

ไม่ว่าคุณจะใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันอะไรตกแต่งภาพถ่าย ทฤษฎีสียังคงเป็นสิ่งที่ได้นำมาใช้อยู่อย่างเสมอ และสำหรับสมดุลแสงขาวเองก็เป็นเครื่องมือที่ปรากฏอยู่ในทุกๆโปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย เพียงอาจจะต่างกันบ้างในเรื่องของคู่สีตรงกันข้าม อย่าง Sigma PhotoPro เลือกเอาคู่สี เขียว-ม่วงแดง กับ ส้ม-ฟ้า มาใช้ซึ่งต่างไปจากความเข้าใจเดิมที่เรียนแต่ก็ไม่ได้ทำให้เราปรับตัวยากไปปกว่าเดิมแต่อย่างไร และใน Lightroom Classic CC ก็ใช้คู่สีตรงข้ามปกติที่เจอ อย่าง น้ำเงิน-เหลือง และ เขียว-ม่วงแดง

แก้ไขสมดุลแสงขาวแบบพื้นที่

การแก้ไขสมดุลแสงขาวเฉพาะพื้นที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะการใช้เครื่องมืออยู่ระดับหนึ่ง เช่น Lightroom Classic CC เครื่องมือจะอยู่ในส่วนของ Split Toning (แก้ไฮไลต์และเงา), ฟิลเตอร์แถบและวงกลม หรือแม้แต่พู่กัน และถ้าเป็น Photoshop CC ก็จะมีความหลากหลายเครื่องมือกว่านี้มาก

แต่หลักในการแก้ไขภาพถ่ายนั้นจะยังคงเดิม คือการใช้หลักความตรงกันข้ามของระบบสีสองระบบไม่เปลี่ยนแปลง

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า