ทำไมจึงต้องมีการปรับคม
ผู้เรียนทราบหรือไม่ว่าในกระบวนการของการได้มาซึ่งภาพถ่ายดิจิตอลสัก 1 ภาพหลังกดชัตเตอร์ลงไป จะมีกระบวนการหนึ่งที่ทำให้ภาพเบลอลงไปจากความจริงอยู่เสมอ ซึ่งถ้าผู้เรียนนำภาพเหล่านั้นไปใช้ในทันทีก็จะเป็นการเสียโอกาสที่ภาพจะทำหน้าที่ของมันได้สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็น การปรับความคมชัดให้กับภาพถ่ายดิจิตอลให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ควรเรียนรู้อย่างละเอียดเพื่อช่วยปรับปรุงให้ภาพถ่ายแสดงศักยภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ได้อย่างเต็มที่
ความคมชัดคืออะไร และทำงานอย่างไร?

ความคมชัดคือการเพิ่มความแตกต่างระหว่างพิกเซลในพื้นที่ๆระบุให้มีแปลกแยกแตกต่างออกจากกันให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ลองนึกถึงสีเทาที่ค่อนข้างไปทางขาว เปรียบเทียบกับสีเทาที่ค่อนข้างไปทางดำ เราอาจจะมองเห็นความแตกต่างได้ในระดับหนึ่งซึ่งการปรับความคมชัดนั้นก็เหมือนกับการทำให้สีสองสีที่มีความชัดเจนของขาวและดำมากขึ้น เพียงแต่ว่ามันจะเกิดขึ้นกับพิกเซลจำนวนมากที่มีในภาพโดยมีฟังก์ชั่นที่จะไม่ส่งผลกับบางพื้นที่ทำให้เรามองเห็นว่าภาพมันคมขึ้นนั่นเองครับ

ฟังก์ชั่นการปรับคมที่มีในซอฟท์แวร์ทั่วๆไปอย่างที่รู้จักกันดี เช่น  Photoshop CC ก็จะมีส่วนหน้าที่ของเครื่องมือที่มีไว้ปรับคมอย่าง ‘Unsharp Mask’ ที่แปลง่ายๆว่า ‘’จะไม่ปรับคมในส่วนที่ปกปิดเอาไว้และมันก็จะทำงานตามชื่อจริงๆโดยที่เครื่องมือจะต้องมีการกำหนดพื้นที่ละเว้นให้เกิดการเพิ่มความเปรียบต่างเฉพาะขอบสีในภาพเท่านั้น ซึ่งก็เป็นการปรับคมประเภทหนึ่ง

การปปรับคมควรเป็นกระบวนการท้ายสุดในการทำภาพ

จำไว้อย่างหนึ่งว่าหลังจากการปรับความคมชัดแล้วภาพถ่ายนั้นจะถูกทำให้พิกเซลเสียหายแบบถาวร ควรให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นในขั้นตอนท้ายสุดของการทำภาพ และควรหมั่นตรวจสอบผลกระทบจากการปรับคมที่ก่อให้เกิดรัศมีเรืองที่ขอบเป็นวัตถุเป็นกลุ่มๆที่เรียกว่าอาการหลอนจากการปรับคม’ (Sharpening Halos) ที่เกิดจากการปรับมากจนเกินพอดีอยู่เสมอ

เมื่อปรับคมให้กับภาพมากจนเกินไป

การตั้งค่าทั่วๆไปและความหมายของคำที่มักใช้ในฟังก์ชั่นการปรับคม

รัศมี (Radius) : ควบคุมส่วนขนาดของขอบวัตถุที่มีสีแตกต่างกัน ภาพที่มีขนาดใหญ่จะต้องใช้ค่ารัศมีที่มากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นอาจไม่สร้างความแตกต่างของการปรับคมที่เพียงพอ

ปริมาณการปรับคม (Amount) : ควบคุมความแข้งกระด้างที่เกิดจากการปรับคมของภาพ (มีค่าเป็น %)

ค่าการปกปิด (Threshold หรือ Masking) : เพิ่มพื้นที่การละเว้นของส่วนที่ไม่ถูกปรับคม โดยพิจารณากลุ่มพิกเซลที่มีความเปรียบต่างน้อยๆก่อน การเพิ่มค่า Threshold มากๆจะยิ่งมีการละเว้นความคมเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การปรับคมภาพถ่ายบุคคลที่เรามักไม่อยากให้ส่วนของเนื้อผิวหน้าถูกปรับคม แต่จะเน้นไปที่ส่วนขอบตัดต่างๆของใบหน้าเท่านั้น

รายละเอียดปลีกย่อย (Detail) : ควบคุมในส่วนของรายละเอียดคล้ายๆ Threshold แต่จะเพิ่มความเปรียบต่างอย่างไม่เท่ากันในแต่ละจุดโดยพิจารณาเอาความพอดีของพิกเซลมาปรับ

กระบวนการปรับคมด้วยฟังก์ชั่นดังกล่าวจึงต้องไล่ทำไปเป็นลำดับ กล่าวคืออาจจะเริ่มด้วยสเกล Radius เพื่อกำหนดรัศมีขอบภาพ > Amount เพื่อกำหนดปริมาณความคมชัด > Threshold เพื่อกำหนดพื้นที่ละเว้นที่จะโดนปรับคมในที่สุด

กระบวนการที่เกิดขึ้นในการปรับความคมชัด

กระบวนการของภาพถ่ายดิจิตอลตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางนั้นค่อนข้างเดินทางไปอย่างเป็นระเบียบแบบแผน สามารถชี้ชัดได้ว่าอะไรควรทำก่อนอะไรควรมาหลังสุด และกระบวนการในการปรับคมให้กับภาพถ่ายดิจิตอลเองก็เช่นกัน ผู้เรียนจึงควรศึกษาและเรียนรู้ว่าในแต่ละขั้นตอนมีชื่อเรียกว่าอย่างไร และเราทำอะไรกับมันได้บ้างในขั้นตอนนั้น

1. ความคมชัดต้นทาง หรือ ความคมชัดหลังบันทึกภาพ (Capture Sharpening) : หลังจากที่กดชัตเตอร์ไปแล้ว สิ่งที่กล้องถ่ายภาพดิจิตอลได้รับและเรามองไม่เห็นในกระบวนการนี้เลยคือ การจัดการน้อยซ์กับเกรนภาพเบื้องต้น เนื่องจากว่าปัญหาของภาพถ่ายต้นฉบับนั้นอาจไม่สวยงามตามที่ผู้ใช้คาดหวังจึงต้องมีการปประมวลผลภาพถ่ายเพื่อชดเชยปัญหาดังกล่าว เช่น การเบลอเพิ่มเติมด้วยฟิลเตอร์ Anti-Alias เพื่อลดการแสดงรายละเอียดซ้ำซ้อนอย่างลายของเสื่อ (อันเนื่องมาจากความไม่สมบูรณ์ของเซ็นเซอร์รูปภาพ) หรือการสอดแทรกพิกเซลที่ขาดหายไป (Demosaicing Process) และกระบวนการอื่นๆไปสู่การเป็นภาพถ่ายต้นฉบับ ซึ่งนั้นยังไม่รวมขั้นตอนอื่นๆหากบันทึกเป็นแบบ JPEG อีก

2. ความคมชัดสร้างสรรค์ (Creative Sharpening) : เป็นความคมชัดระหว่างกลางทางในขณะที่ภาพถ่ายนั้นอยู่ระหว่างการตกแต่ง ตรงนี้ผู้เรียนสามารถจะให้ส่วนใดของภาพคมชัดเพิ่มขึ้นหรือคมชัดน้อยลงก็ได้  เช่น ในภาพถ่ายบุคคลเราก็จะเน้นไปที่ตัวแบบเป็นหลัก เราก็จะไม่ยุ่งกับฉากหลังที่เบลออยู่แล้วให้คมชัดขึ้นมา

3. ความคมชัดปลายทาง (Output Sharpening) : ความคมชัดปลายทางนี้จะเป็นเรื่องของอุปกรณ์และแหล่งเผยแพร่สุดท้ายที่จะเข้ามามีบทบาท ผู้เรียนจะต้องคำนึงถึงว่าเอาภาพไปใช้ทำอะไร เช่น อัปโหลดขึ้นโซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียว หรือ ต้องสั่งพิมพ์ลงบนผืนกระดาษที่มีผลต่อความละเอียดภาพ และถ้าเป็นแบบนั้นจะปรับปรุงให้ภาพยังมีความคมชัดอยู่ได้อย่างไร ขนาด, ระยะการมองเห็น หรือ การขยาย/ย่อ จึงจะต้องมีส่วนเข้ามาในกระบวนการ

ถ้าภาพถูกย่อ ฮาโลจากความคมก็หายไปบางส่วน หมายความว่าความคมชัดก็หายไปด้วย จึงต้องปรับคมเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ทุกๆครั้ง

จะว่าไปแล้วในหลายๆครั้งผู้สอนก็มักจะควบรวมเอากระบวนการทั้งหมดอยู่ในรูปขั้นตอนแบบสั้นๆและมักจะปรับคมให้คล้ายๆกันในแต่ละภาพเมื่อต้องทำงานแบบเร่งด่วน (ก็ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างเท่าไรนัก) แต่ถ้าเป็นภาพที่ตั้งใจมากจริงๆก็จะต้องมาเริ่มในแต่ละกระบวนที่ไม่เหมือนกัน เช่น ภาพภูมิทัศน์ต้นฉบับที่คมชัดมาแล้วทั้งฉากด้วยค่า f สูง ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความคมชัดในค่าตัวแปรรัศมีมากนักเนื่องมาจากรายละเอียดขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นวัตถุที่โดดเด่นชิ้นเดียวและใช้เลนส์อีกแบบการปรับคมก็จะไปในอีกทิศทางหนึ่งที่แตกต่างออกไปเลย แถมถ้ามีการสั่งพิมพ์อีกก็จะต้องอัดความคมชัดเพิ่มเติมโดยดูค่าความละเอียดแบบพิกเซลต่อนิ้วเข้ามาพิจารณาด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า