ความลับของการจัดองค์ประกอบแบบจุดตัด 9 ช่อง
กฏโครงสร้างแบบจุดตัดเก้าช่อง เป็นกฏที่อนุโลมมาจากกฏสามเหลี่ยมทองคำสี่ด้าน และกฏสามส่วนเองก็เป็นกฏที่อนุโลมมาจากจุดตัดเก้าช่องอีกที ก่อนที่เราจะงงกันมากไปกว่านี้ (สำหรับคนที่ไม่เคยได้เรียนหลักการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายมาก่อน) ก็ขอให้รู้แค่เพียงว่าหลักการพื้นฐานของกฏที่ว่าไม่เพียงแค่วางจุดสนใจไว้ในตำแหน่งตัดผ่านเท่านั้นแต่ยังมีความลับซ่อนอยู่เยอะแยะเต็มไปหมดในกฏนี้ด้วย ซึ่งผู้สอนจะได้นำมาชำแหละและอธิบายว่าเราจะทำอย่างไรกับมันได้บ้างในการจัดองค์ประกอบลักษณะดังกล่าว

เพื่อให้เห็นภาพ ผู้สอนจะแสดงให้เห็นกฏสามส่วนแบบแนวนอนเทียบกับกฏจุดตัดเก้าช่องซึ่งก็คือกฏสามส่วนแบบแนวนอนและแนวตั้งผสมกันนั่นแหล่ะ แน่นอนว่าพอมันผสมกันก็ต้องคิดให้มากกว่าเดิมในการใช้งานเพราะหลักการใช้งานของกฏโครงสร้างแบบสามส่วนเป็นเรื่องของดุลยภาพแบบไม่อยู่กลางภาพ แต่กฏโครงสร้างแบบจุดตัดเก้าช่องนอกจากจะมีเรื่องดุลยภาพเป็นทุนเดิมที่ต้องคิดอยู่แล้วยังมีเรื่องของการเว้นน้ำหนักของจุดสนใจ, ความแปลกแยกในภาพ และมิติของภาพเพิ่มเข้ามาด้วยนะ

กฏโครงสร้างแบบสามส่วน และแบบจุดตัดเก้าช่อง

หลักการใช้งานจุดตัดเก้าช่องโดยทั่วไป

การใช้งานจุดตัดเก้าช่องนั้นก็เหมือนต่อยอดมาจากกฏสามส่วนอีกทีดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า โดยมีหลักการที่ว่า “ให้นำวัตถุที่มีความน่าสนใจไว้ในจุดตัดผ่านใดๆใน 4 จุดของเส้นในภาพ ถ่วงด้วยน้ำหนักโดยรวมของภาพด้วยหลักการทางดุลยภาพ” หมายความว่าการจัดองค์ประกอบในลักษณะดังกล่าวจะเล่นกับการวางภาพแบบไม่ใช่ตรงกลาง ผสมไปกับการรักษาดุลยภาพด้วยสิ่งที่เหลือ ดังนั้นการใช้งานกฏนี้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงไม่ใช่แค่นึกจะวางอะไรก็วางลงไป เพราะดุลยภาพของภาพถ่ายจะมีความบกพร่องได้ง่าย

จุดตัดเก้าช่องกับการใช้งานแบบสองมิติ

เห็นไหมครับว่า ‘ศิลปะคืออะไรก็ได้… แต่อะไรก็ได้ไม่ใช่ศิลปะ….’

ความลับของกฏโครงสร้างแบบจุดตัด 9 ช่องนั้น สำหรับผู้ที่ได้เรียนหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ กับ DozzDIY อย่างเต็มรูปแบบ ก็คือการนำเอาหลักการของจุดสนใจและดุลยภาพในแบบ 2 และ 3 มิติมาพิจารณาร่วมกัน ดังที่จะได้แสดงให้เห็นดังต่อไปนี้ครับ

ความลับที่ 1 : ดุลยภาพแบบทิศทาง

หลักการของความลับที่ 1 นั้นง่ายๆ มีวิธีใช้ที่ว่า ถ้าวัตถุหรือสิ่งที่สนใจมีแนวโน้นในการชี้นำให้ภาพมีน้ำหนักไปทางไหน ให้วางไว้ในทิศทางตรงกันข้าม เช่น รถที่กำลังวิ่งไปทางซ้ายเราจะวางไว้ทางซ้ายของภาพก็คงจะดูหนักซ้ายมากกว่าการวางรถไว้ทางด้านขวา และสำหรับกฏโครงสร้างแบบจุดตัดเก้าช่องเองก็มีสี่จุดที่วางได้เพิ่มเข้ามาอีก ควรพิจารณาการวางภาพพร้อมกับพื้นที่เว้นว่างให้ดี

เพราะจุดตัดเก้าช่องมีกฏสามส่วนผสมอยู่จึงใช้หลักการนี้ได้

การวางภาพในลักษณะดุลยภาพแบบทิศทางภายใต้กฏโครงสร้าง

ความลับที่ 2 : ดุลยภาพแบบกฏสามส่วน

กรณีของจุดสนใจที่ไม่มีทิศทางนั้นก็คงง่ายขึ้นมาหน่อย เพราะเราสามารถวางให้จุดที่มีความน่าสนใจเป็น 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ของภาพก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำเสนออะไร เพราะกฏสามส่วนเดิมเองก็เป็นการเน้นหนักให้กับความน่าสนใจด้วยการวางสัดส่วนที่ไม่เท่ากันในภาพอยู่แล้ว และก็อย่าไปยึดติดกับกฏว่าต้องเป็นแนวนอนหรือแนวตั้งเสมอใหม่ ลองอะไรใหม่ๆอาจจะได้ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงก็ได้

การวางจุดสนใจแบบอิสระไม่ว่าจะเป็นแบบ 1 ใน 3 ส่วน หรือ 2 ใน 3 ส่วน

ตัวอย่างการใช้งานแบบกฏสามส่วน

ความลับที่ 3 : ดุลยภาพแบบสามมิติ

การใช้งานกฏแบบที่สาม ให้มองในมิติของความลึกของโครงสร้างเข้าไป จะพบว่าเราสามารถใช้กฏโครงสร้างดังกล่าวในแง่ของความ “ใกล้-ไกล” ได้อีกด้วย ทำให้กฏโครงสร้างที่ดูเหมือนจะเบสิกนี้มีความสนุกและหลากหลายในการใช้งานเพิ่มเข้ามา เพราะถึงแม้ว่าภาพถ่ายจะเป็นงานในลักษณะสองมิติ เราก็ใช้ความลวงตาของขนาดสร้างระยะที่ใกล้-ไกล ได้ ดังเช่นระยะชัดที่เกิดจากการใช้รูรับแสงนั่นเอง

กฏโครงสร้างจุดตัด 9 ช่อง แบบ 3 มิติ

ดุลยภาพสามมิติแบบจุดตัด 9 ช่อง มีภูเขาเป็นฉากหลัง

ใครล่ะจะไปคิดว่าภายใต้กฏที่ไม่น่าจะมีอะไรจะกลายเป็นการคิดถึงความน่าสนใจต่างๆมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกฏได้มากขนาดนี้ และนี่คือกฏโครงสร้างแบบจุดตัดเก้าช่อง ที่เป็นส่วนเล็กมากๆจากหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY ผู้สอนเชื่อว่าหลังจากจบบทความนี้น่าจะมีคนร้อนวิชาและนำไปใช้บ้างแล้วล่ะ ขอให้โชคดีนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า