Lightroom CC : สิ่งที่ Lightroom ไม่สามารถทำได้เหมือน Photoshop

ฟังดูไม่ยุติธรรมนักหากมีคนถามขึ้นมาว่า ‘Lightroom ไม่ดีเท่า Photoshop ยังไง..’ เพราะโปรแกรมทั้งสองต่างสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างขอบเขตกัน อย่างในหลักสูตร Lightroom CC ของ DozzDIY เราจะสอนให้คุณเรียนพื้นฐานของการเป็นช่างภาพที่ดีก่อน หลังจากนั้นจึงเป็นการควบคุมคุณภาพให้สูญเสียน้อยที่สุดระหว่างกระบวนการ ซึ่งแน่นอนว่า Lightroom จัดการได้ดีกว่า Photoshop

แต่สำหรับคนที่รู้สึกหงุดหงิดกับตัวเลือกที่ค่อนข้างจำกัด อยากแก้ไขภาพถ่ายให้อิสระมากกว่านี้บทเรียนดังกล่าวจึงต้องพูดถึงสิ่งที่เป็นข้อจำกัดของ Lightroom เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของ Photoshop นั่นเอง ไม่ได้หมายความว่า Lightroom ไม่ดีนะครับ เรื่องมันก็เป็นแบบนี้ล่ะ

1. Lightroom ไม่มีระบบเลเยอร์

ระดับความละเอียดในการแก้ไขภาพใน Lightroom แบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ ได้แต่การแก้ไขทั้งภาพ (Global Adjustment) อย่างเช่นการใช้สเกลที่ส่งผลทั้งภาพ, การแก้ไขเฉพาะพื้นที่ (Selective Adjustment) เช่นการใช้ฟิลเตอร์หรือสเกลที่ส่งผลจะเฉพาะสีใน HSL และสุดท้ายคือการแก้ไขเฉพาะจุด (Local Adjustment) คือพู่กันนั่นเอง ซึ่งระบบเลเยอร์นี้จะช่วยให้การแก้ไขทั้งสามแบบสะดวกง่ายได้และยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเช่นการคัดลอกพื้นที่บางส่วนของภาพมาแก้ไขเดี่ยวๆ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจึงนำไปรวมกับภาพเดิม

นี่คือสิ่งที่แตกต่างอย่างมากที่สุดระหว่าง Lightroom และ Photoshop โดยผู้ใช้ Photoshop ทั่วโลกต่างลงความเห็นกันว่าสิ่งที่ทำให้ Photoshop ทรงพลังมากที่สุดก็คือเลเยอร์หรือระบบลำดับชั้นของการแก้ไข ลองนึกภาพดูว่าถ้าผู้เรียนต้องแก้ไขจุดบกพร่องของภาพมากมายด้วยพู่กันจะเกิดความยุ่งยากมากขนาดไหน แต่สำหรับ Photoshop นั้นเรื่องพวกนี้ให้ลืมไปได้เลยเพราะเลเยอร์ได้จัดระเบียบไว้หมดทุกส่วนแล้ว

layer

ระบบเลเยอร์ที่ช่วยเพิ่มขอบเขตการตกแต่งภาพได้กว้างมากใน Photoshop

filter

Lightroom มีฟิลเตอร์แก้ไขหลักๆคือสามอย่างนี้เท่านั้น

2. Lightroom มีเครื่องมือที่สร้างสรรค์ภาพได้ค่อนข้างจำกัด

สำหรับ Lightroom ผู้เรียนจะพบเพียงว่าฟิลเตอร์ที่มีให้ใช้สำหรับการแก้ไขนั้นมีสามแบบซึ่งได้แก้ฟิลเตอร์สี่เหลี่ยม (Graduated Filter), ฟิลเตอร์วงกลม (Radial Filter) และพู่กันปรับแต่งเฉพาะจุด (Adjustment Brush) ถึงจะบอกว่าเครื่องมือพวกนี้สามารถประยุกต์ทำแฟลร์, หรือการเบลอระยะเพิ่มและแก้ไขสีสันได้มากมายแต่เมื่อต้องเทียบกับฟิลเตอร์ใน Photoshop ที่มีเป็นกระบุง แถมยังมีระบบแก้ไขเลเยอร์ผสมเข้าไปอีกยิ่งเทียบกันไม่ได้เลย

3. Lightroom ถูกสร้างมาให้ใช้งานง่ายและรวดเร็วเกินกว่าจะทำงานยากๆได้

ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้โปรแกรม Adobe Lightroom CC เทียบกับ Adobe Photoshop CC นั้นกล่าวได้เลยว่ายิ่งเทียบกันได้ยาก เพราะ Lightroom เปรียบเสมือนกับ Photoshop ที่ย่อส่วนเอาความสามารถบางประการเหลือไว้ให้สำหรับช่างภาพที่ใช้โดยส่วนใหญ่ บวกกับระบบจัดการภาพที่สะดวกเข้าไป (ระบบจัดการภาพใน Photoshop จะไม่มีแต่ให้ใช้ Adobe Bridge คู่กันแทน) ดังนั้น Lightroom จึงสามารถทำหลักสูตรออกมาให้เรียนจบได้รวดเร็ว ใช้เวลาไม่นานและไปต่อยอดได้เอง ในขณะที่ Photoshop ถูกสร้างมาด้วยวัตถุประสงค์ที่กว้างมากไม่สามารถเรียนให้จบได้เร็วเท่านี้

lrmanagement

ระบบจัดการภาพเป็นจุดเด่นของ Lightroom จริงๆนะ ดังนั้นใช้ให้ได้ทั้งสองเลยทั้ง LR และ PS จะได้เปรียบมาก

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า