แผงเครื่องมือ History และการใช้งาน
เรียนรู้การใช้งานแผงเครื่องมือ ซึ่งไม่ได้ทำแค่ย้อนกลับแต่ยังเดินหน้าไปยังขั้นตอนที่เคยทำไปแล้ว และบันทึกสถานะของงานล่าสุดได้ด้วย
คลิปวิดีโอประกอบเนื้อหา


เนื้อหาสำหรับผู้สนับสนุน
สนับสนุนเราเพื่อเข้าชมทุกเนื้อหา
Facebook Page : DozzDIY

การเดินหน้าและย้อนกลับขั้นตอน
อัปเดตมาใหม่ใน Photoshop CC 20.0 (ปล่อยเมื่อตุลาคม 2018)

สำหรับเวอร์ชั่นที่อัปเดตเมื่อตุลาคม 2018 ทาง Adobe ที่ปล่อยรุ่นปรับปรุงใหม่ 20.0 ผู้ใช้งานสามารถย้อนกลับกระบวนการไปเรื่อยๆด้วยคีย์ลัด Control + Z [win] | Command + Z [mac] คีย์ลัดนี้ได้กลายมาเป็นค่าตั้งต้นซึ่งเมื่อก่อนทำไม่ได้

การเดินหน้าและย้อนกลับทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

การย้อนกลับ (Undo) : ไปที่ Edit > Undo หรือกด Control + Z [win] | Command + Z [mac]
การเดินหน้า (Redo) : ไปที่ Edit > Undo หรือกด Control + Shift + Z [win] | Command + Shift + Z [mac]

การย้อนกลับยังปรากฎอยู่ในตัวเลือกที่เมนูบาร์ Edit อีกด้วย ให้ไปที่ Edit > Undo

การย้อนคืนพื้นที่บางส่วนในภาพไปยังสถานะก่อนหน้า
ทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

> ใช้ History Brush Tool ระบายในขณะที่เลือกสถานะย้อนหลังในส่วนของ History Panel ณ​ สถานะย้อนหลัง หรือ Snapshot ที่เลือก

> ใช้เครื่องมือยางลบ (Eraser Tool) กับคุณสมบัติ Erase to History ที่บาร์ตัวเลือก

> เลือกพื้นที่ๆต้องการย้อนคืน จากนั้นเลือก Edit > Fill โดยกำหนดเป็นแบบ History แล้วกด OK

เกี่ยวกับแผงเครื่องมือ History

แผงเครื่องมือ History มีไว้เพื่อจดจำขั้นตอนที่ได้ทำเอาไว้ระหว่างงาน มีประโยชน์ต่อการย้อนคืนกระบวนการที่ได้ทำผิดพลาดหรืออยากกลับไปแก้ไข ยกตัวอย่าง เช่น การระบายสีที่ผิดพลาดจากขอบเขตกำหนด ก็สามารถคลิกที่ขั้นตอนก่อนการระบายได้เลยไม่ต้องไปใช้เครื่องมือยางลบให้ยุ่งยาก วิธีการเปิดการใช้งานหากหน้าจอยังไม่มีแผงควบคุมนี้ให้ไปที่ Window > History

History Panel

การใช้งานแผงเครื่องมือ History

ง่ายๆเลยสามารถคลิกไปยังขั้นตอนที่มีอยู่ก่อนหน้า งานก็จะย้อนกลับไปทันที และสามารถเดินหน้ากระบวนการกลับไปมาได้ สามารถบันทึกจุดจดจำล่าสุดหากหน่วยความจำไม่มากพอที่จะเปิดขั้นตอนการบันทึกแบบหลายๆสถานะได้ (ตั้งค่าได้ในส่วนของ Preferences)

ความจำเป็นของแผงเครื่องมือ History ในอนาคต

ส่วนตัวยังเห็นว่ามีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ใช้งาน Layer ไม่เป็นหรือไม่คล่อง เพราะข้อจำกัดของแผงเครื่องมือนี้ก็ยังมีอยู่หลายส่วนไม่ว่าจะเป็นการย้อนกลับไปแก้ไขคุณสมบัติเล็กๆน้อยๆของสี ซึ่งแผงเครื่องมือ History จะเป็นการยกเลิกไปเลย แต่ถ้าใช้ Layer เป็น สามารถใช้ในรูปแบบของ Adjustments Layer เพื่อย้อนไปแก้ค่าตัวเลขเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องย้อนกลับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า