การถ่ายภาพดอกไม้ไฟ
มักมีคนถามผู้สอนเข้ามาอยู่เสมอว่าพวกเขาควรจะถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลอย่างไรให้ออกมาดูดีที่สุด (ถามคนที่ไม่ค่อยได้ถ่ายดอกไม้ไฟเนี่ยนะ) ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาในการถ่ายดอกไม้ไฟจะอยู่ในหลักสูตร ‘หลักการถ่ายภาพพื้นฐาน’ ของเราอยู่แล้ว แต่บทความนี้จะอธิบายถึงกระบวนการและข้อปฏิบัติง่ายๆที่ใครๆก็สามารถนำไปใช้ได้เลย

การถ่ายดอกไม้ไฟ (Fireworks Photography) มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ดังนั้นหลักการถ่ายภาพดอกไม้ไฟจึงสอดคล้องกับการถ่ายภาพในที่แสงน้อยและการถ่ายภาพโดยใช้ตัวแปรควบคุมคือ ‘ความเร็วชัตเตอร์’ ที่ต้องกำหนดเองเป็นหลัก และนี่คือ 10 ข้อปฏิบัติที่ไม่ได้ยากอะไรเท่าไร ทำตามนี้ก็ถ่ายกันได้ทุกคน ที่เหลือก็ไปลองปรับตามสถานการณ์ที่เจอมาครับ

1. อย่าลืมขาตั้งเด็ดขาด

ถึงจะมั่นใจว่ามือนิ่งแค่ไหน ขาตั้งก็ต้องเอาไปเพราะจังหวะเวลากดชัตเตอร์ในการถ่ายดอกไม้ไฟจะอยู่ที่ 1 วินาทีขึ้นไปทำให้มือนิ่งแค่ไหนก็ขยับ ดังนั้นก็อย่าไปลำบากลำบนด้วยการเกร็งมือแล้วหวังว่านิ่งได้เลย สละทรัพย์สักนิดหาขาตั้งดีๆแล้วก็อย่าเอาเล็กเกินไป เพราะเวลาดอกๆไม้ไฟระเบิดมันจะเกิดแรงสั่นสะเทือนประมาณหนึ่ง นั่นก็อาจจะทำให้กล้องขยับได้เหมือนกันถ้าอยู่ไม่ไกลมากพอ

ขาตั้งเป็นอุปกรณ์ที่ถ้าขาดไปล่ะก็จบเลย ถ่ายอะไรแทบไม่ได้
2. สายลั่นชัตเตอร์

เห็นไหมว่าการเอาขาตั้งไปทำให้มือว่างพอจะกดชัตเตอร์จากสาย ไม่อย่างนั้นมือหนึ่งข้างถือกล้องอีกข้างถือสายลั่นคงดูแปลกๆ และถึงจะมีแต่ขาตั้งแล้วไม่มีสายลั่น การเอานิ้วจิ้มลงไปก็มากพอที่จะทำให้กล้องสั่นได้แล้ว เพื่อความนิ่งสนิทการเตรียมพร้อมอย่างถึงที่สุดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมากว่ามันจะนิ่งชัวร์ 100%

หาซื้อรุ่นที่เข้ากันได้กับกล้องด้วยนะครับ
3. กำหนดกรอบภาพไว้ล่วงหน้า

คงไม่มีใครมาเลื่อนเฟรมภาพระหว่างที่เกิดดอกไม้ไฟใช่ไหม และก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้องมาเดาว่าดอกไม้ไฟจะพุ่งขึ้นจากจุดใดในเฟรม การเพิ่มข้อระวังเบื้องต้นอาจแก้ไขด้วยการกำหนดกรอบให้กว้างขึ้นอีกนิดจะได้เก็บดอกไม้ไฟหมด หรือถ้าพอรู้พื้นที่คร่าวๆแล้วก็เล่นกับฉากหน้าฉากหลังก็ได้ กำหนดให้ดีด้วยว่าจะเอาแนวตั้งหรือแนวนอนจะได้ไม่พลาด

วางเฟรมไว้ให้ครอบคลุมมากที่สุดไว้ก่อนเป็นดี อย่างน้อยๆก็ครอปตัดเอาทีหลังได้
4. ทางยาวโฟกัสของเลนส์

ตอบเลยว่าไม่ง่ายถ้าจะใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว เพราะเราไม่รู้เลยว่าจุดที่จะได้ไปยืนนั้น เลนส์แบบไหนให้เฟรมภาพที่ดูโอเคมากที่สุด ดังนั้นใช้เลนส์ซูมน่าจะเป็นคำตอบและตัวเลือกที่ดีหากจะต้องขยับออกหรือเลื่อนเข้าไป จะได้ไม่เหนื่อยกับการเดินเพื่อเลื่อนตำแหน่ง เพราะถ้าเอาจริงๆก็ทำไม่ได้ง่ายๆแน่นอน

เชื่อเถอะว่าจุดที่ได้บันทึกภาพดอกไม้ไฟนั้นถอยเข้าออกไม่ได้ง่ายๆ
5. รูรับแสง

รูรับแสงที่ใช้มักจะอยู่ในสถานะของการเปิดรับที่ไม่แคบหรือกว้างมากจนเกินไป กล่าวคือไม่กว้างจนฟุ้งและไม่แคบเสียจนเก็บทางเดินของแสงเป็นเล้นเล็กแทบมองไม่เห็น คร่าวๆจะอยู่ที่เกือบกึ่งกลางของเลนส์ที่ใช้ เช่น f/8-f/16

รูรับแสงกว้างๆอาจจะช่วยเรื่องโบเก้ได้ แต่ก็ต้องระวังการหลุดโฟกัส
6. ความเร็วชัตเตอร์

แนะนำให้ใช้โหมด B (Bulb) ซึ่งมีวิธีการใช้งานคือกดที่รีโมทค้างเอาไว้ให้กล้องเก็บแสงไปจนกว่าจะพอใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากดค้างไว้ตลอดแล้วจะดีนะครับเพราะเดี๋ยวกล้องร้อนแล้วเกิดน้อยส์ได้ง่ายๆ ยังไงก็ควรลองกดถ่ายดูเสียแต่เนิ่นๆดีกว่าจะได้รู้ว่าควรกดไว้นานเท่าไร

โหมด Bulb ช่วยให้ลากแสงได้นานจนพอใจ แต่ก็ไม่ควรนานมากเกินไป ระวังเซ็นเซอร์ร้อนด้วยนะ
7. ความไวแสง

เน้นคุณภาพสูงๆ การกำหนดค่าความไวแสงควรจะอยู่ต่ำที่สุด และไม่เร่งโดยไม่จำเป็นเพราะมีขาตั้งแล้วนี่

ใช้ความไวแสงให้เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์
8. ปิดระบบกันสั่น และอย่าไปเผลอเปิดไฟแฟลช

อย่าไปเผลอเปิดเอาไว้เชียวเพราะกันสั่นอาจจะกลายเป็นตัวที่ทำให้กล้องสั่นเสียเองในกรณีที่คุณควบคุมความสั่นไหวได้อยู่ ส่วนการเปิดแฟลชค้างไว้ไม่น่าจะมีใครทำนะ

9. บางครั้งก็ต้องใช้โหมดกำหนดเอง

คุมทุกตัวแปรให้อิสระที่สุดและตรวจสอบแต่ละตัวเป็นที่ส่งผลกระทบในการบันทึกภาพว่าภาพจะมืดหรือสว่างไปหรือไม่ อาจจะสลับเป็นโหมดกึ่งอัตโนมัติเพื่อหาค่าที่ต้องการก่อนแล้วจึงสลับมาเป็นโหมดกำหนดเองเพื่อไม่ให้ค่าตัวแปรแต่ละตัวมีการแกว่งของตัวเลข

หลายๆท่านก็ใช้นอกเหนือจากโหมด B Bulb
10. ตรวจสอบภาพที่ได้อยู่เป็นประจำ

ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการดูภาพที่เพิ่งกดชัตเตอร์ลงไป เพราะเราจะรู้ได้ยังไงว่าที่กดไปแล้วดีที่สุดหากไม่เช็คอยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่นถ้ามีตัวแปรที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนเล็กๆน้อยๆเกิดขึ้น การเลื่อนผ่านไปยังช็อตต่อไปอาจจะพลาดอีกก็ได้ ดังนั้นก็ไม่ควรไว้ใจอุปกรณ์ดิจิตอลให้มากเกินไปนัก

หลายๆท่านก็ใช้นอกเหนือจากโหมด B Bulb
เคล็ดลับเพิ่มเติม

– พิจารณาทิศทางลมให้ดีไม่อย่างนั้นหากยืนอยู่ในทิศของการบันทึกที่ไม่ถูกต้องแล้วล่ะก็แสงที่ได้จากดอกไม้ไฟจะแปลกๆ เช่นแสงที่ฟุ้งฝ้า และควันที่เข้ากล้องทำให้ภาพไม่สวยเท่าไร

– ตั้งค่าการโฟกัสเป็นแบบกำหนดเอง และกำหนดระยะโฟกัสให้อยู่ในระยะอนันต์ จากนั้นก็ไม่ต้องมานั่งกังวลว่ามันจะเข้าเป้าหรือไม่เพราะดอกไม้ไฟเกิดขึ้นในที่ไกลๆอยู่แล้ว เว้นเสีแต่ว่าใช้รู้รับแสงกว้างมากและทางยาวโฟกัสเลนส์เยอะมากซึ่งก็คงไม่มีใครทำแบบนั้นในการถ่ายพลุหรอก

– การถ่ายไว้หลายๆภาพช่วยลดความเสี่ยงของดอกไม้ไฟที่เกิดขึ้นโดยผิดจังหวะเวลา อย่างการกำหนดเวลาต่อชัตเตอร์ไว้ที่ 1-2 วินาทีก็ช่วยได้ประมาณหนึ่ง การถ่ายหลายๆใบมาคัดภาพก้ช่วยได้อีกประมาณหนึ่ง และการถ่ายมาซ้อนภาพก็จะดียิ่งขึ้นไปอีกนะ

– การระเบิดครั้งแรกของดอกไม้ไฟมีการกระจายตัวของแสงน้อยและควันก็ยังไม่เกิดเท่าไร นั่นคือจังหวะที่ดีที่สุดในการถ่ายดอกไม้ไฟให้คม (แม้ว่าปัจจุบันจะแต่งภาพให้คมได้ก็เถอะนะ) แต่หลังจากนั้นเรื่องของลมและควันจะเป็นอุปกสรรคในการบันทึกมากขึ้น จังหวะที่พลาดไม่ได้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

– มีเทคนิคการใช้โฟมดำกับโหมด ‘B’ เอาไว้บังเวลาก่อนที่จะเกิดดอกไม้ไฟลูกที่ 2-3 และการกดชัตเตอร์ค้างเอาไว้ วิธีนี้ช่วยให้ในภาพๆเดียวมีดอกไม้ไฟหลายดอกโดยไม่ต้องรีทัชเลย

– ลองกดชัตเตอร์ในช่วงที่รอดอกไม้ไฟก่อน ว่ามันโอเคไหม ไม่ใช่ไปรอตอนเริ่มอย่างเดียวเดี๋ยวค่าที่ตั้งมาทั้งหมดที่คิดว่ามั่นใจแล้วเกิดพลาดอะไรขึ้นมาจะได้แก้ไขได้ทัน

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

พื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ช่วงระยะชัด’

ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DoF’) เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้รักการถ่ายภาพทุกท่านจำเป็นต้องทราบและมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะตัวแปรดังกล่าวนี้สามารถปรับปรุงฝีมือการถ่ายภาพเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้บันทึกภาพที่มีความชำนาญสูงยิ่งขึ้นไปได้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า