ก่อนหน้านี้ DozzDIY ได้มีบทความเกี่ยวกับความเข้าใจผิดในการซื้อกล้องดิจิตอลตัวแรกไปแล้ว เมื่อทราบว่าอะไรคือความเข้าใจผิดก็ต้องรู้ต่อไปอีกว่าความจริงในโลกของกล้องดิจิตอลนั้นมีอะไรที่เป็นภูมิต้านทานก่อนเลือกซื้ออีกบ้าง สรุปออกเป็นหัวข้อย่อยๆได้ดังนี้
แต่ต้องมาจากความสามารถผู้บันทึก, ทัศนคติและทักษะการเล่าเรื่องด้วยภาพ กล้องจึงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น จงลงทุนไปที่การศึกษาให้มากพอที่จะรู้ความต้องการแท้จริงของตัวเอง
เทียบกับสมัยที่ผู้สอนใช้กล้องราคาเกือบสามหมื่นบาทซึ่งให้ภาพขนาด 2-6 ล้านพิกเซล (แทบเอาไปทำอะไรดีๆไม่ค่อยได้) กล้องสมัยนี้ราคาหลักพันทำได้มากกว่าแบบไม่เห็นฝุ่น เทคโนโลยีนั้นไปเร็วมากจนซื้อหาของดีในราคาไม่แพงหูฉี่อีกแล้ว ถ้าจะเอาแค่อัปลงโซเชี่ยลมีเดียหรือส่งกันในกลุ่มเพื่อน เกิน 90% ของกล้องที่มีในตลาดทำได้หมดแล้วครับ
เลิกเอาตัวเองไปเทียบกับใคร ถ้าจะแข่งขันละก็เอาชนะตัวเองให้ได้ในทุกๆวันจะดีกว่า มองรูปแบบการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับกล้องที่จะซื้อ หรือถ้าซื้อกล้องที่ไม่สอดคล้องกันชีวิตขึ้นมาจะปรับตัวให้เข้ากับมันได้ไหมก็เป็นเรื่องที่ต้องคิด เช่น ซื้อกล้องระบบ DSLR ขนาดใหญ่มาพร้อมเลนส์หนัก 1 กิโลกรัม แต่ไลฟ์สไตล์ไม่ได้ไปไหนไกลมากกว่าห้างสรรพสินค้าใกล้บ้านในวันหยุดแบบนั้นจะโอเคไหม? หรือถ้าชอบเอางานไปทำนอกสถานที่ (พกโน้ตบุคหรือสัมภาระอื่นเป็นประจำ) จะพกกล้องกับเลนส์เพิ่มไปด้วยได้ไหม?
พลังอำนาจของแบรนด์นั้นยิ่งใหญ่จนพังทลายความถูกต้องเหมาะสมไปหมด แต่ก็อย่างว่าการตัดสินใจของใครสุดท้ายก็เป็นเพียงเรื่องส่วนตัว บทความนี้จะมีประโยชน์กับคนบางกลุ่มและเป็นเพียงหัวข้อที่มองผ่านไปสำหรับคนอีกกลุ่ม อย่างไรก็ดีเมื่ออยากเริ่มต้นศึกษาอะไรสักอย่างควรเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดีกับสิ่งนั้นเสียก่อน ไม่มีใครเรียนรู้จากสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบจริงไหมครับ
ยังมีหลายคนคิดว่ากล้องมือสองคือกล้องที่ไม่ดี หากงบน้อยมากซะจนซื้อไม่สามารถซื้อกล้องที่อยากได้ในสภาพใหม่เอี่ยม ลองพิจารณากล้องมือสองไว้ก็ไม่เลวเพราะนี่คือยุคดิจิตอลที่มาไวไปไว กล้องเซ็ตราคาหลักล้านก็พร้อมราคาร่วงลงได้ในระยะเวลาไม่ถึงปี (สตูดิโอหลายๆที่เลือกแค่เช่ากล้องเอามากกว่าซื้อ)
กล้องของผู้สอนหลายตัวเป็นกล้องมือสอง เพราะหาซื้อมือหนึ่งไม่มีขายแล้ว ลองไปดูภาพใน 500px บัญชีทางการของ DozzDIY ได้ครับ กล้องแบบย้อนหลังไปหลายสิบปีเลย
ลองนึกภาพตามนะครับ ครั้งหนึ่งผู้สอนเคยคิดว่าการมีทีวีจอ 20 นิ้วในบ้านก็ดีนะ ต่อมาก็เพิ่มไปเป็น 40 นิ้วรู้สึกดูอะไรเต็มตามาก พาลคิดไปว่าใครมันจะเอาโทรทัศน์จอ 80-100 นิ้วหรือมากกว่านั้นไว้ในบ้านหรือเปล่า (ก็คงจะมี) เรื่องจริงก็คือจะมีขนาดอยู่ประมาณหนึ่งเท่านั้นที่คนนิยมกัน ความต้องการกล้องที่มีความละเอียดนั้นก็คงสูงอยู่ในช่วงระดับหนึ่งและมากกว่านั้นก็เป็นเพียงความจำเป็นของคนกลุ่มเล็กๆ การที่กล้องให้ภาพขนาดใหญ่เตรียมใจไว้เลยว่าระบบจะช้าลง แล้วพลังงานที่ใช้จากแบตเตอรีจะสูงขึ้น แถมต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมมาจัดการแบบจำเพาะเจาจงมากขึ้นตามไปด้วย
เมื่อซื้อกล้องได้แล้วก็ต้องเลือกซื้อเลนส์ เมื่อมีเลนส์ก็มีเลนส์ทางยาวโฟกัสสำหรับภาพต่างๆ ไหนจะเครื่องประดับที่เอาไว้ตกแต่งกล้องอย่างสายคล้อง, การ์ดหน่วยความจำ และอื่นๆ คิดไว้เลยว่าได้กล้องแล้วไม่จบง่ายๆ แน่นอนครับ เงินน่ะมีเผื่อไว้ไหม (อีกแล้วสินะ)
แนวทางของเทคโนโลยีมุ่งไปสู่การพัฒนากล้องถ่ายภาพที่ให้คุณภาพสูงในขนาดที่เล็กลง ซึ่งกว่ากล้องจะมีขนาดเล็กลงมันก็เคยใหญ่มาก่อน (ในยุคแรกๆ) และเล็กลงเรื่อยๆ กล้องตัวเล็กหลายตัวในปัจจุบันมีคุณภาพสูงมากจนทำงานใหญ่ได้สบาย