Sigma SD Quattro H – แบบฉบับนักท่องเที่ยว

โลกของความเป็นจริงผิดแผกไปจากการทดสอบอยู่เสมอ บทความนี้จึงเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่น่าทึ่งอย่างเซ็นเซอร์โฟวิยง ในซีรี่ย์ SD Quattro ‘H’ ของ Sigma ที่ผู้สอนได้สลับใช้จากทางบริษัทชีร์โร่มาร์เก็ตติ้งพอดี (เอา SD Quattro ไปคืนแล้วเอา SD Quattro H มาใช้ต่อ) เมื่อสบโอกาสเราจึงบินลงทะเลไปที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อใช้งานในหลากหลายรูปแบบไปเลย

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการทดสอบที่จังหวัดภูเก็ต

ผู้สอนจะนำเสนอเนื้อหาของการเยือนจังหวัดภูเก็ตออกเป็น 3 มุมมอง ได้แก่มุมมองของการใช้งาน Sigma SD Quattro H เกี่ยวกับการถ่ายภาพในระยะทั่วไปตลอดทริป (ระยะ 18 ถึง 35mm กรณี Sigma SD Quattro H), การใช้งานฟิลเตอร์ Nisi สำหรับภาพท้องทะเล และบทความแยกส่วนเกี่ยวกับสถานที่ในหอแสดงภาพ ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำไปเผยแผร่บนพิกัดแผนที่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สืบค้นข้อมูลต่อไป

มุมมองที่ 1
Sigma SD Quattro H
เพื่อการใช้งานแบบนักท่องเที่ยว

มุมมองที่ 2
Nisi Filter V5 Kit
และภาพถ่ายท้องทะเล

มุมมองที่ 3
สถานที่ต่างๆที่เราไปเยือน
(อยู่ในหอแสดงภาพ)

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ Sigma SD Quattro H

Sigma ทำกล้องในซีรี่ย์ SD Quattro ออกมาสองรุ่น ได้แก่ Sigma SD Quattro มีขนาดเซ็นเซอร์แบบ APS-C (33.2 ล้านพิกเซล ตัวคูณ 1.5) และ Sigma SD Quattro H มีขนาดเซ็นเซอร์แบบ APS-H (44.7 ล้านพิกเซล ตัวคูณ 1.3) เซ็นเซอร์ที่ใช้ใน SD Quattro H จะเหมือนกับเจเนอเรชัน Quattro ตัวเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เหนือกว่าของการมีเซ็นเซอร์ที่ใหญ่ขึ้นบนสภาพแวดล้อมเดิมก็มีทั้งข้อดีข้อเสียคร่าวๆดังต่อไปนี้

เปรียบเทียบขนาดเซ็นเซอร์ของ SD Quattro ‘H’ กับ SD Quattro

Sigma SD Quattro H เปลี่ยนแค่ขนาดเซ็นเซอร์ หนักขึ้น 5 กรัม

เขียนไฟล์ช้าลงและร้อนมากขึ้น

ไม่รู้ว่าจะจัดให้อยู่ในข้อดีหรือข้อเสียเพราะด้วยขนาดพิกเซลที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาพใหญ่ขึ้นเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่ได้รับคือความเร็วในการเขียนไฟล์ลงกล้องที่มากขึ้นและหน่วยประมวลผลต้องทำงานหนักขึ้นตามไปด้วย

ระยะชัดสั้นลง

ผลของขนาดเซ็นเซอร์ที่มีพื้นที่มากขึ้นเล็กน้อยช่วยให้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดิมมีการละลายมากยิ่งขึ้น ทำให้สะดวกและลำบากในบางกรณี เช่นถ้าต้องการให้ชัดทั้งฉากจะไม่ง่ายเหมือนเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า

ไดนามิกเรนจ์ยังต่ำอยู่ดี

ค่าความกว้างของแสงจากกล้อง Sigma เป็นที่กล่าวขานกันดีอยู่แล้วว่าแคบที่สุด และในรุ่น Quattro H ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปสักเท่าไหร่ การอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้มีโอกาสสูงที่ภาพจะหลุดรายละเอียดไปหมด

ความไวแสงเหมือนเดิม

ISO 100-200 เป็นสิ่งที่ดีและ 400 ก็ยังพอรับได้ นอกเหนือจากนั้นขอให้พิจารณาเอาเองว่าจำเป็นแค่ไหนที่ต้องได้ภาพเหล่านั้นมา เพราะไฟล์ภาพส่วนรายละเอียดรวมไปถึงสีเริ่มที่จะเสียเนื้อหาไวกว่ากล้องปกติทั่วไป

เครื่องแบบและการพกพาตลอดสามวัน

เครื่องแบบหลักของผู้สอนที่ใช้จะเป็นผ้าบางสวมทับโค้ททูนิค (Unisex) แบบกันลมด้านล่างเป็นกางเกงสามส่วนและรองเท้าผ้าใบเพื่อความคล่องตัว ปกติจะต้องมีกระเป๋าโน้ตบุ๊กติดตัวไปด้วยตลอดเวลาเพื่อทำภาพ (MBPr 15” 2017 Touch Bar) แต่เนื่องจากเมื่อเปลี่ยนอุปกรณ์บันทึกเป็น Sigma SD Quattro H แล้วการตระเตรียมจึงต้องเอาโน้ตบุ๊กออกไปเลย โดยที่เปลี่ยนเป็นกระเป๋ากล้องขนาดใหญ่ไขว้ข้างซึ่งใส่กล้องพร้อมเลนส์ Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art และช่องที่สองเป็นเลนส์ 35mm f/1.4 DG HSM Art ที่ว่างสำหรับช่องสุดท้ายจะเป็นของ Sigma DP3 Quattro ที่ถอด LCD Viewfinder ประกบได้พอดี พร้อมช่องเก็บแบตเตอรี่เสริม เรียกได้ว่าเมื่อเทียบกับเครื่องแบบปกติที่เป็นกล้องขนาดเล็กสามตัวต้องปลดอะไรออกไปเยอะเลยทีเดียว

สายทุกอย่างรัดติดตัวแบบไม่มีอะไรแกว่งได้เลยขณะเดินไปมาหรือวิ่ง
อีกทั้งการหยิบจับอุปกรณ์ขึ้นมาถ้าไม่ใช้ขาตั้งด้านหลังก็ทำได้อย่างรวดเร็วเพราะไม่ต้องถอดออก

แนะนำกระเป๋าแบบปิดที่มีกลไกง่ายๆ เช่น ตีนตุ๊กแก หรือ แบบดุมติดเพื่อลดเวลาหยิบใช้

สำหรับ กระเป๋าเหน็บเข็มขัดข้างลำตัวที่ปกติจะใส่ Sigma DP3 Quattro (ที่ต้องพกไปด้วยเพราะเป็นระยะ 50mm f/2.8 Macro ไม่มีในระยะเลนส์ที่ยืมมา) ก็เปลี่ยนเป็นเซ็ตอุปกรณ์ฟิลเตอร์ของ Nisi รุ่น V5 + Kit  ซึ่งใส่ได้ครบทั้งหมดพอดี

สุดท้าย สายสะพายหลังเป็นขาตั้ง Manfrotto Compact Action ขนาดกลาง ซึ่งอาจจะไม่ดีนักเมื่อต้องปักลงทรายกรณีเผชิญหน้ากับคลื่นและลมทะเลพร้อมกล้องขนาดใหญ่ แต่เท่าที่ทดสอบก็นับว่าแข็งแรงใช้ได้ (จุกขาตั้งหลุดไปสองอันลืมทากาว)

การใช้งานกล้องดิจิตอลใดๆก็ตามผู้สอนจะไม่ห้อยไว้กับคอแต่จะพันสองทบกับข้อแขนขวาเพื่อถือกล้องได้แบบมือเดียว ตรงนี้ต้องชมกริปของ Sigma SD Quattro H ที่กระชับมือและเหนียวดีมาก

หมายเหตุ : แค่นี้ก็หนักพอแล้วเลยไม่มีกริปติดด้านล่างกล้องนะครับ

Sigma DP3 อันบนถอดใส่กระเป๋าได้พอดี
ส่วนอีกตัวเก็บลืมไปเลยที่ห้องตลอดทริป
(สองตัวนี้ซื้อนะครับไม่ใช่ที่ยืมนะ 555)

ภาพถ่ายอาคารบ้านเรือน, โรงแรม และร้านอาหาร

การถ่ายภาพอาคารบ้านเรือนมักเป็นเลนส์ที่มีมุมรับภาพกว้าง เลนส์ที่เหมาะสมจึงไม่พ้นเลนส์ไวด์ และระยะที่ผู้สอนใช้เก็บตึกที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสในจังหวัดภูเก็ต รวมไปถึงภาพถ่ายที่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องระยะชัดตื้นๆอย่างภาพถ่ายฉับพลัน, ภาพถ่ายในอาคารที่เน้นเส้นสายรูปทรง, ภาพถ่ายโรงแรม จะเป็นเลนส์ Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art โดยส่วนใหญ่ แล้วก็ขี้เกียจถอดเปลี่ยนเพราะหนักถึง 809 กรัม การสลับเลนส์ก็ไม่ง่ายนัก

เลนส์ที่ยืมมาทับระยะกันพอดี เลยไม่ค่อยได้ใช้ 35mm f/1.4 DG HSM Art
อีกทั้งมันเป็นเลนส์ระยะทั่วไปก็เลยใช้เลนส์ซูมซะมาก
(35mm ตัวนี้คุณภาพดีมากนะ)

ยิงสบายเก็บได้ทั้งร้าน
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

ภาพถ่ายในร่มอย่างห้อง The Memory Suite (โรงแรมเดอะเมโมรีแอทออนออน)
ใช้ 18mm ก็ยังรู้สึกว่าแคบไปนิดแฮะ เพราะยังมีม่านสวยๆข้างบนที่เก็บไม่ได้อีก
(Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art)

ความเห็นจากผู้สอน

ถ้าผู้อ่านชอบการถ่ายภาพในลักษณะอลังการเช่นคนที่มีวิวติดไปด้วย Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art ถือว่าเป็นตัวเลือกแรกๆที่ไม่ควรพลาดนะครับเพราะเบลอได้พอสมควร (ยิ่งวัตถุใกล้หลังยังละลายได้อีก) แต่ทริปนี้หน้าที่เลนส์ใช้กับภาพแนวสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก และถึงจะเป็นเลนส์ซูมที่ผู้สอนไม่ค่อยชอบก็ยังไม่อยากถอดเลย ถ่ายง่ายถ่ายสนุก มีข้อควรระวังอยู่บ้างตรงที่เลนส์ตัวนี้จะมีขอบมืดติดมาจนกระทั่ง f/2.8 ถึงจะพ้นไปนั่นล่ะ แล้วก็ อาการคลาดสีกรณีย้อนแสงหรือคอนทราสต์ที่ขอบวัตถุต่างกันเยอะๆต้องไปแก้เอาที่โปรแกรม

การถ่ายสิ่งของแบบประชิดด้วยเลนส์นอมอล

เลนส์ระยะนอมอล หรือเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสใกล้เคียงระยะสายตามนุษย์นั้นผู้สอนมีมา 1 ตัวคือ Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art เป็นเลนส์เกรดคุณภาพสูงอีกตัวที่มีทางยาวโฟกัสเดียว กล่าวง่ายๆคือซูมไม่ได้ ปกติแล้วผู้สอนจะชอบเลนส์แบบนี้เพราะให้คุณภาพที่สูงกว่าเลนส์ซูมค่อนข้างชัดเจน แต่นั่นก็อีกเรื่องกับการใช้งานนะครับ

อย่างที่ช่างภาพหลายท่านทราบว่าเลนส์ทางยาวโฟกัสลักษณะนี้ยังมีอาการบวมและบานออกของขอบภาพ เรียกว่าจะเป็นเลนส์ไวด์ก็ไม่ใช่ หรือเป็นเทเลระยะสั้นก็ไม่เชิงทำให้ไม่โดดเด่นสักทาง มันจึงเหมาะกับการถ่ายอาหารและประชิดในบางมุม (เช่น มุมมองบน) หรือการถ่ายคนที่ช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น จึงเหมาะกับการถ่ายภาพทั่วๆไป

ถ้าใช้มุมดีๆจะดูไม่เบี้ยว เว้นเสียแต่ว่าภาชนะที่มีรูปทรงไม่สมมาตรเท่านั้น
(Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art)

ระยะ 35mm มุมรับภาพก็พอถ่ายนั่นถ่ายนี่ได้ ประมาณว่าถ่ายได้ทุกอย่าง
แต่ไม่เก่งสักอย่างส่วนคุณภาพเลนส์ระดับ Prime
เมื่ออยู่บน Sigma Quattro H นั้นน่าทึ่งสุดๆ
(Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art)

Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art เมื่อประกอบร่างเข้ากับ Sigma Quattro H แล้วดูดีมาก
ศูนย์ถ่วงไม่ยื่นมาข้างหน้าเกินไป ดูเรียบง่ายแต่หนักแน่น

การอยู่ในคาเฟ่หรือร้านอาหารคุณจะถอยไม่ได้มากนัก อย่างมากก็นั่งอยู่ที่โต๊ะ
เอาระยะที่พอรับได้อย่างประมาณ 50mm APS-C, APS-H กำลังดี มากกว่านี้จะเริ่มทำตัวประหลาด
ถ้าทำได้จริงก็อยากใช้ 135mm ถ่ายอาหารนะ แต่คงไปยืนอยู่หน้าเคาน์เตอร์โน่นล่ะ

ความเห็นจากผู้สอน

ถ้าเทียบกับความเอนกประสงค์ของ Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art แล้ว Sigma 35mm f/1.4 . DG HSM Art ถูกหยิบใช้น้อยมากจนกลัวว่าทริปนี้จะไม่ค่อยมีภาพจากเลนส์ตัวดังกล่าว จึงพยายามท่องไว้เสมอว่ายังไงก็ต้องหยิบใช้ สิ่งที่ชอบอย่างหนึ่งคือคุณภาพเลนส์ที่ดีขนาดไม่ใหญ่เหมาะมือเวลาประกบกับตัวกล้องแถมให้ไฟล์ภาพที่ดีมากด้วย แต่ถ้าถามว่ามีโอกาสจะซื้อมาใช้ไหมก็คงไม่ เพราะผู้สอนชอบที่จะใช้ระยะไวด์ 1 ตัว แล้วก็กระโดดมาที่ระยะ 50mm + ไปเลยอีกตัวมากกว่า (คงไปเลือกใช้ Sigma 50mm f/1.4 DG HSM แทน แต่น่าเสียดายมากวันที่อยู่ภูเก็ตไม่ได้เอามาเพราะมีคนอื่นใช้อยู่ครับ)

การถ่ายภาพในเวลากลางคืน

ภาพถ่ายกลางคืนเป็นสิ่งที่พินาศมากสำหรับ Sigma SD Quattro H เพราะถ้าผู้อ่านได้ติดตามเนื้อหาก่อนหน้าเกี่ยวกับกล้องค่ายนี้ค่าความไวแสงจะดีได้ที่ 200 เท่านั้น (และผู้สอนก็ไม่เคยใช้เลย) ดังนั้น การตั้ง Auto ISO จึงเป็นอะไรที่ใช้จริงไม่ได้เว้นเสียแต่ต้องการภาพในวินาทีนั้นแล้วก็ไม่ได้พกมือถือที่ถ่ายรูปได้ล่ะก็นะ

ถ้าไม่มีขาตั้งติดตัวไปก็ต้องอาศัยเทคนิคต่างๆเข้าช่วยเพื่อให้ถ่ายภาพได้นิ่งขึ้น เช่น การพันสายที่คอแล้วยืดแขนให้สุด หรือฝึกฝนหามาตรฐานความนิ่งของมือตัวเองด้วยแบบทดสอบต่างๆเพื่อที่จะทำให้ได้ภาพตอนกลางคืน หรือ การถ่ายแบบติดมืดเข้าไปน่าจะช่วยได้ประมาณหนึ่ง (ในหลักสูตร Handheld Mastery ของ DozzDIY มีสอน)

เมื่อโฟกัสในบริเวณที่มีแสงมาก รายละเอียดส่วนใหญ่จะเก็บได้ดีในที่มืด
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

ทางยาวโฟกัสยิ่งมาก โอกาสพลาดยิ่งสูง
และนี่คือ 1/10 วินาทีที่ระยะ 35mm (Handheld)
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

การถ่ายภาพแบบชดเชยทางลบ
เพื่อให้สมจริงจะช่วยเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

คอนทราสต์จากไฟในที่มืดจะแรงจนหลอดไฟทางขวาบนกู้ไม่ได้เลยล่ะ (DR ต่ำมากด้วย)
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

ความเห็นจากผู้สอน

เลนส์ที่ใช้ได้ดีในเวลากลางคืนมักเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสที่ต่ำอย่างเลนส์มุมกว้าง Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM ที่ระยะ 18mm เหตุผลก็คือไม่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมากในการบันทึกก็ทำให้ได้ภาพที่คมชัดแล้ว ตรงกันข้ามยิ่งใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงขึ้นยิ่งถ่ายให้นิ่งได้ยากขึ้น

การถ่ายภาพท้องทะเล

Sigma SD Quattro H ไม่มีกันสั่นที่ตัวกล้องและไม่มีซีลกันอะไรใดๆทั้งสิ้น จงระวังคลื่นลมและน้ำทะเลเมื่อคุณต้องปักขาตั้งลงบนหาดทราย กรณีนี้หากไม่ใช่การถ่ายภาพแบบลากชัตเตอร์แล้วการใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆในสภาวะแสงที่เพียงพอน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า (แต่ไม่มีน่ะสิ) ถ้าไม่ใช่แบบนั้นแล้วล่ะก็ควรพกผ้าเอาไว้เช็ดกล้อง และต้องประคองขาตั้งไว้เสมอเพราะไม่มีอะไรแน่นอนเลยกับคลื่นทะเลที่บางทีก็เบาบางทีก็แรง ขนาดที่ว่าซัดกล้องปลิวไปกับน้ำก็มีมาเยอะแล้ว

การมีพาร์ทเนอร์ที่ดีช่วยให้คุณฝ่าปัญหาที่ไม่คาดคิดมากมายซึ่งไม่เคยเจอในตำราหรือทฤษฎี
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าช่วงฤดูฝนที่เอาแน่เอานอนไม่ได้เลย
อย่างน้อยๆ เขาจะช่วยดูทิศทางลมและกระแสน้ำขึ้นลง รวมไปถึงช่วยเฝ้าระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ถ้านี่คือครั้งแรก หาคนที่มีประสบการณ์ติดตัวไปด้วยดีที่สุด

ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่ากล้องจะไม่โดนคลื่นทะเลซัดหายไปกับน้ำ

ถ้าเป็นช็อตง่ายๆแบบไม่ลากชัตเตอร์ก็ยังไม่เป็นปัญหามากนัก
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art
(Nisi Hard Edge Half Filter)

ความเห็นจากผู้สอน

ถ้าต้องการถ่ายแบบลากชัตเตอร์แต่ไม่มีฟิลเตอร์จะต้องรอช่วงเวลาที่เย็นลงเช่นตอนที่พระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งเวลานั้นน่าจะทำความเร็วชัตเตอร์ได้สัก 2-3 วินาทีก็น่าจะไหวในการถ่าย Long Exposure ช่วงคลื่นลมแรงฤดูฝน หรือ ถ้าต้องการลดแสงบนท้องฟ้าที่เจิดจ้าในเวลากลางวันมากเกินไปแว่นกันแดดหรือแว่นที่มีการตัดแสงอย่างโพราไลซ์ก็ช่วยได้ดีเช่นกัน

ภาพจาก Sigma SD Quattro H กับทริปภูเก็ตที่ผ่านมา

ภาพถ่ายทั้งหมดในส่วนนี้นำเสนอเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูเก็ตซึ่งถูกบันทึกด้วยกล้อง Sigma SD Quattro H กับเลนส์ 2 ตัว ได้แก่ Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art และ Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art เท่านั้น สำหรับภาพอื่นๆผู้อ่านสามารถติดตามได้ที่ส่วนของหอแสดงภาพจาก DozzDIY

1/100sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

7x Super Fine Detail | f/4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/200sec | f/2.2 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/125sec | f/2.2 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/4000sec | f/3.5 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/1250sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/50sec | f/2.2 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/13sec | f/1.8 | ISO100 (Handheld)
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/4000sec | f/2.2 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/30sec | f/1.8 | ISO100 (Handheld)
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/200sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM

1/60sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art
Nisi Nano IR Hard Graduated ND Filter

1/60sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art
Nisi Nano IR Hard Graduated ND Filter

1/160sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/160sec | f/4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/125sec | f/1.4 ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/4000sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/1600sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DG HSM Art

1/1600sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DG HSM Art

1/3200sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/80sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/200sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/30sec | f/2.2 | ISO100 (HH)
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/500sec | f/2.2 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

Photographer : Phanai Suwannaphat
1/400sec | f/2.2 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

5sec | f/13 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art
Nisi ND1000 Slim Neutral Density Filter

1/4000sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/160sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

1/100sec | f/1.8 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art

8sec | f/13 | ISO100
Sigma SD Quattro + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art
Nisi ND1000 Slim Neutral Density Filter

1/4000sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art
Nisi Nano IR Hard Graduated ND Filter

1/4000sec | f/4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art
Nisi Nano IR Hard Graduated ND Filter

1/6sec | f/4.0 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 18-35mm f/1.8 DC HSM Art
Nisi Nano IR Hard Graduated ND Filter

1/3200sec | f/4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

1/4000sec | f/1.4 | ISO100
Sigma SD Quattro H + Sigma 35mm f/1.4 DG HSM Art

บทสรุป : ระหว่าง Sigma SD Quattro กับ Sigma SD Quattro H

แหงอยู่แล้วที่ผู้สอนจะเลือกใช้ Sigma SD Quattro H เนื่องจากมีเซ็นเซอร์ที่ขนาดใหญ่กว่า เพราะไหนๆถ้าจะหนักเท่าเดิมขอไฟล์ภาพดีๆใหญ่ๆเผื่อการใช้งานไปเลย ใครที่ว่าแบตหมดเร็วคงไม่มีผลกับผู้สอนเท่าไหร่เพราะซีรี่ย์ SD Quattro นี่สบายกว่ารุ่น DP Merrill มาก เรื่องความร้อนถ้าถ่ายทีละภาพแล้วปิดเมื่อไม่ใช้ก็เพียงพอสำหรับทั้งวัน (กับคนอื่นควรพกติดตัวสักก้อนนะ ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง)

ส่วนเลนส์ที่ใช้ถ้าให้เลือกได้ตามลักษณะนิสัยชอบถ่ายรูปโดยเน้นคุณภาพคงจะเลือกใช้ทางยาวโฟกัสเดี่ยวสักสามตัว คือเลนส์มุมกว้างสำหรับภาพถ่ายอาคาร ภาพถ่ายอาหารก็เลือกใช้ที่ระยะ 50mm-85mm ขึ้นไป (85mm จะลำบากหน่อยถ้านั่งในร้านแล้วขยับไปไหนไม่ได้) แล้วก็อาจจะต้องใช้เลนส์มาโครอีก 1 ตัว ซึ่งถ้าควบระยะเทเลระยะสั้นอยู่แล้วก็คงใช้แค่สองตัว แค่นี้พกติดตัวแล้ววิ่งก็คงยากขึ้นเยอะ

ถ้าเป็นผู้สอนจะใช้เลนส์ตามรายชื่อนี้ : Sigma 14mm f/1.8 DG HSM Art และ Sigma 50mm f/1.4 DG HSM Art ตัวแรกน่าจะถ่ายดาวและละลายสำหรับภาพบุคคลมุมกว้างได้ด้วย และตัวที่สองสำหรับภาพถ่ายสิ่งของทั่วๆไป (เสียดายที่มาโครไม่ได้)

การท่องเที่ยวของแต่ละคนนั้นมีความจำเป็นของทางยาวโฟกัสที่ต่างกัน เช่น ถ้าเที่ยวแล้วต้องไปดูนกเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆก็สำคัญ พิจารณาความต้องการตัวเองให้ดีจะได้ไม่ซื้อเลนส์ไม่จำเป็นมาติดกล้อง

สุดท้ายอย่าเลือกซื้อกล้องเพียงเพราะว่าอ่านในบทความแล้วเห็นว่าภาพสวยดีเชียวนะครับ เพราะเบื้องหลังของภาพพวกนี้มาจากการฝึกฝนใช้งานอย่างหนักทั้งในส่วนการควบคุมกล้อง, การเรียนพื้นฐานทฤษฎีมุมมองเบื้องต้นและการแก้ไขปัญหาเลนส์ด้านโปรแกรมมาแล้ว แต่ถ้าแน่ใจว่ากล้องตัวนี้ใช่ตัวคุณแล้วก็ล่ะก็ลุยเลยครับ (เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือนนะ ^^)

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า