สร้างความน่าสนใจให้กับภาพด้วย ‘พื้นที่ว่าง’
ในเฟสที่ 2 ของหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY เป็นการขยายความหมายของเนื้อหาจากรูปแบบ Speed-Concept ที่ได้ผ่านไปแล้วเป็นแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดสนใจ’ (Point of Interest) ว่าพอจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจและมีความเห็นแบบเดียวกันกับผู้บันทึกภาพเมื่อชมภาพดังกล่าว เนื้อหาจะเป็นสาธารณะแบบไม่จัดเรียง แต่สำหรับคลิปวิดีโอเฉพาะผู้ที่ลงเรียนกับเราเท่านั้น

ขึ้นชื่อว่าพื้นที่จะเป็นพื้นที่ว่างหรือพื้นที่ไม่ว่างต่างก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ภาพถ่ายมีความน่าสนใจขึ้นมา ถ้าคุณเคยฉุกคิดว่าฉันจะเอาวัตถุที่มีความน่าสนใจนี้วางไว้ยังส่วนไหนของภาพดีนะการคำนึงถึงพื้นที่ก็จะมีบทบาทในการสร้างความสนใจกับภาพ ซึ่งบ่อยครั้งเราให้ความสนใจกับทัศนธาตุ (Visual Element) มากเกินไป จนทำให้ส่วนที่ไม่ใช่วัตถุนั้นถูกละเลยจนภาพไม่น่าสนใจได้

พื้นที่ว่าง (Visual Space) คืออะไร?

พื้นที่ว่าง หมายถึงส่วนใดๆในภาพที่มีความว่างเปล่า อาจจะหมายถึงช่องว่างระหว่างพื้นที่ผิว, ส่วนคั่นระหว่างสี หรืออาณาบริเวณทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุในภาพนั้น ในกรณีของภาพถ่าย พื้นที่ปรากฏในแบบ 2 มิติ แต่สามารถให้ความรู้สึกแบบ 3 มิติได้ด้วยจินตนาการ

พื้นที่ว่างนับเป็น 1 ในองค์ประกอบที่ทำให้ภาพถ่ายสมบูรณ์ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่มีความโดดเด่นมากมายนัก แต่เป็นส่วนเสริมบรรยากาศว่าพื้นที่โดยรอบนั้นเป็นอย่างไร อาจจะเป็นเพียงจุดที่ทำให้สายตาได้พักผ่อนบ้างก็ได้ในบางที

การจัดการพื้นที่ (Organising Space)

การจัดการพื้นที่นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ภาพถ่ายมีความสวยงามบริบูรณ์ กล่าวคือครบถ้วนไปด้วยองค์ประกอบต่างๆที่ช่วยให้วัตถุมีความโดดเด่น หลักๆที่ควรทราบมีดังนี้

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยกรอบภาพ (Frame)

กรอบภาพนับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลในการวางวัตถุและเว้นพื้นที่ ปกติเราจะอยู่กันในกรอบข้อจำกัดของภาพถ่ายแบบสี่เหลี่ยมด้วยอัตราส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 3:2, 4:3, 16:9, 1:1 และอื่นๆ ผลกระทบโดยตรงก็คือกรอบภาพดังกล่าวนั้นสร้างอารมณ์ที่ไม่เหมือนกันเสียด้วย

ขนาดของเฟรมเกี่ยวข้องกับการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย ซึ่งร่วมไปถึงการคำนึงถึงพื้นที่ว่างในภาพถ่ายด้วย เช่น ถ้าจะแสดงว่าต้นไม้มีความสูง เฟรมแบบ 16:9 แนวตั้งก็อาจจะมีความเหมาะสมกว่าแบบ 1:1 ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคอื่นๆที่ช่วยให้ผู้รับชมภาพเข้าใจว่ามันสูงอย่างไรด้วย

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยตำแหน่ง (Position)

ด้วยธรรมชาติการมองภาพของมนุษย์อาจถูกฝึกสอนมาให้อ่านจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง ซึ่งนั่นก็ไม่ได้สำคัญเท่าไรนักถ้าเราเลือกจะวางวัตถุไปยังตำแหน่งใดๆแล้วให้พื้นที่ว่างในภาพช่วยบีบบังคับสายตา

เยื้องขวดไปทางซ้ายแล้ววางในตำแหน่งขวาของภาพสักนิด ก็ยังดีกว่าการวางไว้กลางภาพบ่อยๆจนดูน่าเบื่อ

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยขนาด (Size)

ขนาดของภาพถ่ายนับเป็น 1 ในวิธีการให้ความสนใจกับภาพ และมีผลต่อพื้นที่ว่างโดยตรง เพราะถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่พื้นที่ว่างจะน้อยลง และถ้าวัตถุมีขนาดเล็กพื้นที่ว่างจะมากขึ้น

การโคลสอัปภาพช่วยให้คนเพ่งไปยังรายละเอียดมากขึ้นและมีพื้นที่ว่างน้อยลง พิจารณาถึงความสำคัญของพื้นที่รอบๆให้ดี

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยทิศทาง (Direction)

ทิศทางเกิดขึ้นได้จากวัตถุที่มีทิศทางโดยตรง หรือสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดทิศทาง เช่น โขดหินที่อยู่ท่ามกลางกระแสน้ำไหลเชียว หรือ รถบนถนนที่มุ่งหน้าไปยังจุดๆหนึ่งปรากฎในภาพ

พื้นที่ว่างของภาพนี้คือการเคลื่อนไหวของน้ำที่ช่วยบอกว่าภาพนั้นมีทิศทางเป็นอย่างไร และถูกเบรกด้วยวัตถุที่มีความน่าสนใจอย่างไร

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยการซ้อนเฟรม (Frame in Frame)

กรอบอาจเกิดขึ้นด้วยลักษณะทางกายภาพของวัตถุหรือตัวพื้นที่ว่างเองก็ได้ เช่น ท้องฟ้า, เส้นสาย, บานหน้าต่าง หรือพื้นที่ถนนหนทาง

พื้นที่ในตู้นั้นบีบบังคับให้เรามองเห็นสิ่งที่สว่างภายในเท่านั้น

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยดุลยภาพ

การจัดการพื้นที่ว่างในภาพด้วยหลักดุลยภาพมีสองแบบหลักๆ คือแบบเท่ากัน (ดุลยภาพแบบสมมาตร) และแบบเสมือน (ดุลยภาพแบบอสมมาตร) เป็นสิ่งที่ต้องนำมาคิดทุกครั้งเมื่อต้องประยุกต์กฎใดๆเข้าไปในภาพถ่าย เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ผู้รับชมภาพรู้สึกหนักไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้ ยกตัวอย่างเช่น การวางคนที่หันไปทางขวาในทางด้านซ้ายของเฟรมภาพ จะรู้สึกว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าการวางไปทางขวา ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในความรู้สึกจริงๆเมื่อรับชมภาพ

ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetrical Balance)

ดุลยภาพแบบสมมาตรจะเน้นความเท่ากันแบบสมบูรณ์ทั้งทิศทางและขนาด อาจเรียกได้ว่าเท่ากันในทุกมิติของภาพซึ่งบางครั้งเมื่อความคาดหวังสมบูรณ์แบบของผู้ชมได้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆก็อาจกลายเป็นความน่าเบื่อไปได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้วนั้นความเท่ากันแบบ 100% มักไม่ค่อยจะเกิดขึ้นได้จริงๆสักเท่าไหร่

ภาพนี้จริงๆก็ไม่ได้เข้ากฎสมมาตรเสียทีเดียว อย่างที่บอกว่าการถ่ายภาพในชีวิตจริงให้สมบูรณ์แบบตลอดนั้นอาจต้องจงใจจริงๆ หรือใช้การแก้ไขปรับแต่งภาพค่อนข้างมาก

ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance)

ดุลยภาพแบบอสมมาตรเป็นดุลยภาพที่ทำให้ผู้รับชมเกิดความตึงเครียดได้น้อยกว่าดุลยภาพแบบสมมาตร เพราะเป็นการเทียบเคียงที่ต้องอาศัยจินตนาการจากช่องว่างทางความคิดที่เกิดขึ้นของผู้รับชม กล่าวคือถ้าภาพสมบูรณ์อยู่แล้วก็ไม่ได้คิดต่ออะไร แต่ถ้ามีการเว้นให้ผู้รับชมได้มีกิจกรรมกับภาพ การรับชมก็จะใช้ระยะเวลานานขึ้น และยังเป็นกลวิธีที่ใช้ได้ผลดีเมื่อพื้นที่ว่างต่างๆในภาพไม่ได้เอื้ออำนวยต่อความสมบูรณ์แบบจริงๆ

คนที่อยู่ทางขวาล่างหันไปทางซ้าย และศาลาที่อยู่ซ้ายบนหันไปทางขวาทำให้รู้สึกว่าภาพนี้ไม่ได้หนักไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และทั้งหมดมีดุลยภาพบนล่างด้วยความมืดสนิทของฉากเพื่อมุ่งเน้นให้สนใจที่วัตถุในภาพ

การจัดการพื้นที่ว่างด้วยกฎโครงสร้าง

ผู้สอนได้เคยอธิบายไว้ในหลักสูตรศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายเอาไว้เกี่ยวกับหลักการจัดองค์ประกอบว่า ให้เราจดจำกฎโครงสร้างออกเป็นสองแบบ นั่นคือ กฎที่เกิดขึ้นจากสัดส่วนทองคำ และ กฎที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสัดส่วนทองคำ ในทุกๆกฎได้กล่าวถึงตำแหน่งของการวางจุดสนใจเอาไว้แล้วว่าควรเป็นอย่างไร ดังนั้นพื้นที่ตรงข้ามมักเป็นพื้นที่ว่างซึ่งส่วนมากก็เป็นพื้นที่เชิงลบเอาไว้เติมเต็มดุลยภาพให้กับภาพนั่นเอง

กฎโครงสร้างตามสัดส่วนทองคำ

กฎที่สร้างขึ้นด้วยอนุกรมฟีโบนัชชีแล้วแปลงออกมาเป็นอัตราส่วนทองคำ (แปลงเป็นกราฟคือการวิ่งเข้าใกล้ค่า 1.618) ได้แก่ โครงสร้างฟีกริด, โครงสร้างสามเหลี่ยมทองคำ, โครงสร้างวงโค้งก้นหอย ไปจนถึงกฎอนุโลมอย่างจุดตัดเก้าช่องที่มาจากฎสามส่วนอีกที

วางภาพแบบฟีกริดโดยใช้หน้าต่างเป็นวัตถุกับเฟอร์นิเจอร์เก้าอี้นวม

กฎโครงสร้างอื่นๆ

หมายถึงกฎที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับค่าอัตราส่วนทองคำเลย มักเกิดขึ้นจากความเชื่อและอิทธิพลทางขนบธรรมเนียมทางสังคม เช่น โครงสร้างแบบไม้กางเขน, โครงสร้างแบบส่วนเหลี่ยม ฯลฯ พื้นที่ว่างก็จะหมายถึงส่วนที่ไม่ใช่ หรือบทกลับของกฎโครงสร้าง

การวางจุดที่น่าสนใจในทิศทางแบบแกนตั้งบนเส้นแกนนอน

พื้นที่เชิงลบ (Nagative Space)

พื้นที่เชิงลบหมายถึงพื้นที่รอบวัตถุที่ไม่ได้สร้างความสนใจแย่งไปจากวัตถุ และไม่สามารถกำหนดรูปร่างให้ตัวมันเองได้ด้วยตาเปล่าแต่มีบทบาทในการสร้างบรรยากาศให้กับภาพ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพื้นที่เชิงลบในภาพมีน้อยจะสร้างความรู้สึกอึดอัด แต่ถ้ามีมากจะสร้างความรู้สึกเวิ้งว้างว่างเปล่า ดังนั้นการเลือกใช้พื้นที่ลบให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพจึงต้องมีการกำหนดปริมาณพื้นที่ไว้ให้ดีๆ

ใช้พื้นที่เชิงลบมากๆ ก็จะรู้สึกว่างๆเบาๆ ดังเช่นในภาพ

เห็นได้ว่าพื้นที่นั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ภาพถ่ายภาพหนึ่งมีความน่าสนใจทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศโดยรอบให้ผู้รับชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป ซึ่งการใช้งานก็ต้องศึกษาวิธีการเพื่อนำความเป็นไปได้มาใช้ในภาพให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า