Photoshop CC : เหตุผลที่ควรใช้ Smart Objects

Smart Objects ช่วยให้เราทำงานใน Photoshop CC อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ยิ่งถ้าใครก็ตามรู้ถึงข้อดีของมันแล้วเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะไม่เป็นหนึ่งในตัวเลือกในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นข้อดีในการแก้ไขแบบย้อนกลับได้ หรือทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นอย่าง Illustrator CC

Smart Objects สร้างได้อย่างไร?

สัญลักษณ์​ Smart Objects
ก่อนที่จะกล่าวถึงข้อดีของ Smart Objects ผู้เรียนจำเป็นต้องสร้างหรือเรียกใช้คุณสมบัตินี้ให้ได้เสียก่อน วิธีการนั้นก็ไม่ยากอะไรเลย

– ทำภาพที่อยู่ในโปรแกรมแล้วให้เป็น Smart Objects : Layer > Smart Objects > Convert to Smart Objects

– เปิดไฟล์ขึ้นมาให้เป็น Smart Objects : File > Open as Smart Objects

– โยนไฟล์จาก Camera Raw ให้เป็น Smart Objects : กด Shift ค้างไว้ ปุ่ม Open Image จะกลายเป็นปุ่ม Open Object ให้คลิกที่ปุ่มนั้นๆ

5 เหตุผลที่ควรใช้ Smart Objects

1. ฟิลเตอร์ที่ย้อนคืนได้

บางคนคิดว่าไม่เห็นจะเป็นไรถ้าเพิ่งมารู้เอาว่าตัวเองควรปรับ Gaussian Blur ไว้ที่ 35 หน่วย แทนที่จะเป็น 2 หน่วย เพราะยังไงกด Undo ก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการที่มีปุ่ม Control + Z (win) / Command + Z (mac) เอาไว้แก้เขินเวลาใส่ค่าฟิลเตอร์ผิดเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก Smart Objects คือแสงสว่างของปัญหานี้แล้วนะ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ใส่ฟิลเตอร์ใดๆเข้าไปมันจะแยกเป็นอีกเลเยอร์หนึ่งไว้ข้างใต้พร้อมกับ Mask ทำให้แก้ไขภาพได้เมื่อรู้ว่าทำอะไรผิดพลาดลงไป

แก้ไขฟิลเตอร์ที่เคยใช้งานได้ด้วย

2. ย่อภาพยังไงก็ไม่เสียรายละเอียด

ตัวอย่างเช่นคุณนำภาพกราฟฟิกสักภาพมาเปิดในโปรแกรมแล้วมีเรื่องที่ทำให้ต้องไปย่อมันเข้า ถ้าเป็น Smart Objects ภาพจะไม่มีทางเสียรายละเอียดใดๆเลย น่าทึ่งใช่ไหมล่ะ แล้วก็รู้สึกว่ามันผิดไปจากที่ควรจะเป็นนี่นา เพราะเวลาย่อภาพทีไรก็ต้องปรับคมเพิ่มทุกที แต่ไม่ต้องกังวลหรอก Smart Objects ทำได้ครับ

3. ทำซ้ำได้เรื่อยๆ

เดี๋ยวจะงงว่าภาพอื่นก็ทำซ้ำได้เหมือนกัน คือสมมติลองนึกเล่นๆว่าคุณอยากจะพิมพ์ภาพเดียวหลายๆขนาดลงบนกระดาษสักแผ่น คุณไม่จะต้องมานั่งกำหนดขนาดและความละเอียดใหม่ๆทุกครั้งกับ Smart Objects เหมือนอย่างที่เคยๆทำกับภาพแบบทั่วไปเพราะคุณสมบัติการย่อและขยายกลับของมันนั่นเอง

ทำซ้ำภาพที่ความละเอียดต่างๆอย่างไรก็ได้

4. ทำงานร่วมกับ Illustrator ได้อย่างเต็มที่

คุณสมบัติอีกอย่างที่เจ๋งมากๆก็คือการทำงานร่วมกับโปรแกรมจัดการเวกเตอร์อย่าง illustrator จากปกติแล้วถ้าคุณไม่ใช้คุณสมบัตินี้ เมื่อนำภาพเวกเตอร์เข้ามาทำใน Photoshop แล้วรู้สึกว่าอยากจะปรับขนาดหรือเปลี่ยนสีภาพเวกเตอร์สักนิดหน่อยก็อาจจะต้องลบเลเยอร์หรือภาพนั้นทิ้งแล้วนำเข้าไฟล์ที่แก้ไขแล้วเข้ามาใหม่

แต่ถ้านำเข้าภาพพวกนั้นจาก Illustrator เป็นภาพเวกเตอร์ เราจะสามารถแก้ไขที่มาของมันได้โดยที่ไม่ต้องลบเวกเตอร์แล้วนำเข้าไปมาให้เมื่อยอีกเลย

5. Smart Objects จำได้ว่าเคยผ่านอะไรมา

นี่ไม่ใช่ท่อนหนึ่งของเพลง แต่เป็นคุณสมบัติสุดจี๊ดของ Smart Objects ว่ามันเคยผ่านกระบวนการทำงานของโปรแกรมอะไรมาก่อนได้ หนึ่งในโปรแกรมที่ว่าคือปลั๊กอิน Camera Raw ถ้าคุณต้องจัดการภาพใน Photoshop แล้วคิดว่าอยากแก้ไขภาพด้วยปลั๊กอินนี้เพราะมันเจ๋งดี นี่คือข้อดีที่คุณนำเข้าไฟล์มาแบบ Smart Objects แล้วล่ะนะ เพราะเมื่อดับเบิลคลิกที่เลเยอร์ที่เป็น Smart Objects ภาพจะเด้งกลับเข้าไปที่ Camera Raw ทันทีแบบไม่ต้องร้องขอ เรียกว่าโพรเซสกันสองชั้นเลยทีนี้ (จะได้พูดกันในบทเรียนถัดไป)

นำกลับไปแก้ไขต่อได้ที่ Adobe Camera RAW

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า