Photoshop CC : สร้างสรรค์ภาพถ่ายด้วยเทคนิคการพลิกภาพ

ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราหลีกหนีความจำเจกับสิ่งที่เห็นอยู่เดิมทุกวัน ทั้งยังเป็นการขยายมุมมองใหม่ๆที่ไม่ค่อยได้พบเจออย่างเช่นบทความนี้ที่ผู้สอนจะมาแนะนำการใช้เครื่องมือง่ายๆในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายด้วยการพลิกภาพแบบบ้านๆ แต่ให้ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงเชียวล่ะครับ!

เกี่ยวกับภาพต้นฉบับ

ภาพที่เราจะนำมาใช้ในการตกแต่งด้วยเทคนิคการพลิกภาพในครั้งนี้ เป็นภาพจากตึกไทเป 101 โดยทีมงานภาคสนามของ DozzDIY เองจ้า สังเกตได้ว่าต้นฉบับนั้นก็มีการเตรียมพร้อมสำหรับการเอามาพลิกอยู่แล้วล่ะ เพราะถ้าทำภาพแบบปกติมันคงดูแหม่งๆพิกล

การเตรียมภาพต้นฉบับที่ทำให้ได้สีอย่างที่เห็นดังกล่าวนั้นต้องเอาไปแต่งสีก่อนนะครับ และรักษาคุณภาพของไฟล์ให้สูญเสียน้อยที่สุด จาก RAW เป็น Tiff ให้เรียบร้อยเสียก่อนล่ะ

ภาพต้นฉบับ

หลังจากแต่งภาพแล้ว

ขั้นตอนการตกแต่งแก้ไข

1. ตัดภาพแบบ ‘ทำลายโครงสร้าง’

หลังจากนำภาพเข้ามาในโปรแกรม Photoshop CC เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้เครื่องมือตัดหรือครอปภาพ (Crop Tool) ตัดภาพให้เหลือในส่วนที่ต้องการ อย่างภาพนี้เราจะตัดให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของตึก โดยที่ทำเครื่องหมายถูกที่ตัวเลือก Delete Cropped Pixels ที่บาร์ตัวเลือก (Options Bar) ไว้ด้วยเพราะเดียวนี้ Photoshop CC เขามีคุณสมบัติย้อนคืนการแก้ไขได้ จะได้ไม่เอ๋อว่าทำไมก๊อปปี้แล้วไม่ได้ส่วนที่อยากได้นะจ๊ะ

การใช้งาน Crop Tool (คีย์ลัด ‘C’ เพื่อตัดภาพแบบทำลายโครงสร้างเดิม)

2. คัดลอกภาพไปทำสำเนาใหม่อีกอัน

ทำการสำเนาส่วนที่เหลือจากการตัด โดยการกด Control + J[win]|Command + J [mac] เพื่อสำเนาภาพซ้ำขึ้นมาทับอีกชั้นไปเลย สังเกตว่าตอนนี้ที่พาเนลเลเยอร์เราจะมีเลเยอร์ ‘Background’ และเลเยอร์ Layer 1 เพิ่มเข้ามา (สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าพาเนลเลเยอร์อยู่ตรงไหน ให้ไปที่ Windows > Layers หรือกด F7)

ทำซ้ำเลเยอร์ขึ้นมาแบบง่ายๆ

3. พลิกภาพแบบแนวนอน

ตอนนี้เรามีสองภาพซ้อนกันอยู่แถมยังหันไปทางเดียวกัน ให้คลิกที่เลเยอร์ Layer 1 ในพาเนลเยอร์ 1 ครั้ง จากนั้นไปที่ Edit > Transform > Flip Horizontal เพื่อทำการพลิกภาพที่สำเนาขึ้นมาใหม่แบบแนวนอน

Flip Horizontal เพื่อการพลิกภาพแบบแนวนอน

4. ขยายพื้นที่การทำงานออกไปเป็นสองเท่า

เพราะพื้นที่ๆมีอยู่ในตอนนี้มันไม่พอไงล่ะ เราต้องขยายพื้นที่การทำงานออกไปสองเท่าแบบแนวนอน เพราะมีสองภาพที่มีความกว้างเท่ากันซ้อนกันอยู่ ให้ไปที่ Image > Canvas Size (Control + Alt + C [win]|Command + Opt + C [mac]) เพื่อเปิดส่วนของพื้นที่การทำงานขึ้นมา ปรับหน่วยของชิ้นงานเป็น Percent กำหนดค่าความกว้างเป็น 200 ความยาว 100 เอาเครื่องหมายถูกที่ออก แล้วก็หนดจุดหมุดยึดไว้ที่ซ้ายกลางแล้วกดตกลง (พื้นหลังอะไรก็ไม่ต้องไปสนใจหรอก) เราจะได้พื้นที่เปล่าๆเพิ่มมาทางด้านขวา

ขยายพื้นที่การทำงาน ไม่ใช่ขยายหรือหดภาพนะ!

5. ย้ายภาพไปประกบกันแล้วทำการรวมภาพ

จากนั้นคลิกที่เลเยอร์ ‘Layer 1’ ด้วยเครื่องมือลูกศรแล้วลากไปทางขวาเพื่อประกบกันให้พอดี แล้วก็ประกบภาพให้เรียบร้อยด้วยการคลิกขวาที่เลเยอร์ ‘Layer 1’ อีกครั้งแล้วกด Merge Down

เอาเข้าจริงกระบวนการทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ยากอะไรเลย คนที่ทำตามไม่ได้มักจะติดอยู่ในส่วนของคีย์ลัดและเครื่องมือที่ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนในโปรแกรม ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ก็แนะนำให้เรียนตัว Photoshop ส่วนของเครื่องมือพื้นฐานก่อนนะครับ เพราะการต่อยอดประยุกต์การใช้งานจะแข็งแรงไม่ได้เลยถ้าพื้นฐานไม่แน่น

เห็นไหมล่ะว่า การพลิกภาพนั้นทำได้ง่ายมากๆขอแค่มีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ทุกอย่างก็เป็นไปได้จ้า

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า