Photoshop CC : ปรับค่าการรับแสงที่ถูกต้อง

ปรับค่าการรับแสงที่ถูกต้อง (Exposure Adjustment)

ตัวประมวลผลของ Adobe  Camera Raw ล่าสุดได้ใช้สเกลในการควบการรับแสงอยู่ห้าชนิด ในที่นี้ผมคงต้องแยกออกเป็นสองตอน คือตอนที่พูดถึง Exposure, Whites และ Blacks  ซึ่ง Exposure กล่าวถึงสีโดยรวมทั้งหมดในภาพ Whites คือสีสว่างที่ใกล้ขาวมากที่สุด และ Blacks คือสีมืดที่มืดยิ่งกว่าสีส่วนเงา กับอีกตอนคือ Hightlights และ Shadows

Exposure ส่งผลถึงแสงของภาพโดยรวม

ที่กล่อง Basic ถ้าคุณลองเลื่อนเจ้าสเกล Exposure ไปมา คุณจะพบว่าภาพไม่ได้ดีที่สุดเมื่อเลื่อนสเกลไปได้ระยะหนึ่ง เพราะถ้าคุณสังเกตจากภาพฮิสโตแกรมข้างบนที่ผมวาดให้ดูก็จะพบว่า Adobe Camera Raw ได้บอกขอบเขตของการควบคุมไว้ราวๆกลางกราฟ (ซึ่งภาพที่มีการรับแสงที่ดีส่วนใหญ่กราฟมักจะอยู่กลางๆ ปรับแต่งได้ดีมากที่สุด)

Whites ควบคุมสีสว่างจ้า และ Blacks กับสีเกือบมืดสนิท

สเกลที่จะช่วยให้ภาพสว่างและสีเข้มขึ้นไม่ว่าจะปรับให้มืดลงหรือจ้าขึ้นก็คือสเกล Blacks และสเกล Whites คุณจะพบว่าไม่ใช่โทนมืดและโทนสว่างทั้งหมดที่จะส่งผล เหมือนกับเอาโทนที่ใกล้จะมืดสนิทแล้วให้มืดลง โทนที่จะสว่างจ้าให้ขาวจ้า ซึ่งในตัวประมวลผลล่าสุดของ Adobe Camera Raw เค้าได้แยกโซนของ Histogram ออกเป็น 5 โซนทำให้คุณปรับแต่งภาพได้ต่อเนื่องและเนียนมากยิ่งขึ้น

 

สเกลควบคุมหลัก

ตัวเช็คการล้นของภาพและเคล็ดลับการตรวจสอบง่ายๆ

วิธีตรวจสอบว่าส่วนใดของภาพสว่างจนกลายเป้นสีขาวปลอดหรือมืดซะจนไม่มีรายละเอียดอะไรมีอยู่สองวิธี วิธีแรกให้คุณกด u ที่คีย์บอร์ดเพื่อทำให้เปิดระบบตรวจสอบสีดำสนิทขึ้นมา (Shadows Clipping Warning)  และปุ่ม o (Hightlights Clipping Warning) เพื่อตรวจสอบสีขาวสว่างจ้าขึ้นมา

หรือถ้าไม่ ในระหว่างที่จะลากสเกลใดๆให้คุณกดปุ่ม opt (mac)/ alt (win) ค้างเอาไว้ จอภาพจะแสดงเฉดสีตรงข้ามทันที เพื่อให้ตรวจสอบสีล้นได้โดยไม่ต้องเปิดการแจ้งเตือน

 

ภาพแสดงการล้นของสี

 

 

จะมางงกับสเกลทำไม ใช้ Interactive Histogram ไปเลย!

มีคนไม่รู้ว่าฮิสโตแกรมทางมุมขวาบนเมื่อลากเมาส์ไปวาง จะเกิดพื้นที่โซนของสเกลขึ้นมา และเมื่อคุณคลิกลากไปซ้ายหรือขวา สเกลที่เกี่ยวข้องกับโซนฮิสโตแกรมจะถูกลากตามไปด้วย นี่คือเคล็ดลับการทำความเข้าใจเรื่องฮิสโตแกรมที่ดีมากอย่างหนึ่งเลยนะ! คุณควรจะใช้มันไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม เรียกว่าลากไปเห็นภาพไปเลยทีเดียวเชียวนะเออ

 

Interactive Histogram

 

การคืนค่าและใช้คำสั่งประมวลผลอัตโนมัติ

ไหนๆก็ไหนๆ ถ้าคุณอ่านสิ่งที่ผมพิมพ์มาแล้วยังรู้สึกว่าตัวเองเป็นพวกขี้เกียจอยากจะทำอะไรๆให้มันเร็วทันใจวัยรุ่นไปซะทุกเรื่อง Adobe Camera Raw ก็มีฟังก์ชั่นการทำงานที่ตอบสนองนิสัยแบบนี้อยู่ด้วยนะ แล้วผมก็คิดว่ามันเจ๋งใช้ได้ โดยที่ให้คุณคลิกตรงคำว่า Auto เหนือสเกล Exposure โปรแกรมจะทำการประมวลผลค่าแสงที่คิดว่าดีให้กับคุณ แต่ก็อย่างว่าแหล่ะนะ ไม่มีเทคโนโลยีไหนตอบสนองความต้องการไปได้ทุกคนหรอก ทำเองสนุกกว่าเยอะ แต่ถ้าทำแล้วไม่ถูกใจก็กดปุ่ม Default ข้างๆเพื่อคืนค่าเริ่มต้นได้ทุกเมื่อ

แล้วถ้าเกิดว่าติดใจกับอะไรอัตโนมัติแบบนี้ขึ้นมาจนอยากจะให้โปรแกรมเลือกค่าแสงให้เองทุกครั้งที่นำภาพเข้ามา มีคีย์ลัดในการเปิด Preferences คือ Control + k (win)/ Command + k (mac) หรือไอคอนที่สามนับจากทางขวา (ที่มุมซ้ายบนเครื่องมือ) เมื่อกล่องเครื่องมือปรากฏให้คุณทำเครื่องหมายถูกที่ตัวเลือก Apply Auto Tone Adjustment ในกรอบ Default Image Settings ได้เลย

 

Camera Raw Preferences

 

This is a text block. Click the edit button to change this text.

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า