Photoshop CC : ความแตกต่างระหว่างภาพ 8 บิต และ 16 บิต

เมื่อโลกตัดสินใจเลือกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้ให้อะไรๆก็ตามเกี่ยวข้องกับดิจิตอลไปเสียทั้งหมด คำถามที่ว่า “จำเป็นแค่ไหนที่ฉันจะต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้” จึงตกไป ในบทความนี้ผู้สอนจะยกตัวอย่างให้เห็นว่าภาพแบบ 16 บิตส่งผลต่อคุณภาพของไฟล์ภาพในการไล่สีอย่างไร แล้วต่างกันมากแค่ไหนกับภาพที่เห็นๆกันอยู่ในแบบ JPEG บนเว็บไซต์นี้

Bit Depth คืออะไร?

Bit คือ หน่วยที่ใช้แสดงผลข้อมูลในทางดิจิตอล ดังนั้น Bit Depth จึงใช้ในการอธิบายจำนวนบิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ถ้าเป็นเรื่องของเสียงก็ใช้แสดงถึงความละเอียดของช่วงคลื่นเสียง และถ้าเป็นภาพถ่ายก็หมายถึงความลึกหรือความมีมิติ (มีค่ามากก็มีมิติมาก)

Bit Depth คือความเป็นไปได้มากที่สุดที่ภาพๆหนึ่งจะมีสีอยู่ในภาพนั้นได้เท่าไหร่ ไม่ใช่ว่าภาพนั้นจะต้องมีการแสดงผลได้เต็มที่ทุกสี เป็นเพียงการบอกว่าภาพที่มี Bit Depth มากกว่า ก็มีความละเอียดในการไล่เรียงสีได้ดีกว่าเท่านั้น

ภาพถ่ายดิจิตอลถือเป็นภาพประเภทราสเตอร์ ประกอบด้วยพิกเซลแสดงผลของสีซึ่งเกิดจากแม่สีแสงสามสีด้วยกัน ได้แก่ แดง, เขียว และน้ำเงิน ในแต่ละแม่สีเรียกว่า ‘แชนเนลสี’ (Color Channel)

_P2M0497_fb

ภาพแบบ JPEG แสดงผลได้ที่ 8 bit per channel

Bit-DEpth

การแสดงเฉดสีที่ละเอียดขึ้นเมื่อมีค่าบิตเพิ่มมากขึ้น ที่มา : RealworldRetouching

bits per channel และ bits per pixel ต่างกันอย่างไร?

มีหลายคนสงสัยว่า bits per channel มีความแตกต่างกับ bits per pixel อย่างไร ขออธิบายความหมายของคำทั้งสองอย่างสั้นๆไว้ดังนี้

– bits per channel คือ ค่า Bit Depth ของแต่ละแชนเนลสี
– bits per pixel คือ ค่าผลรวมจำนวนบิตของทั้งสามแชนเนลสี

ยกตัวอย่าง : กล้องถ่ายภาพดิจิตอลส่วนใหญ่ ให้ความละเอียดภาพที่ 8 bits per channel หมายความว่าในแต่ละแชนเนลสีสามารถแสดงความเข้มข้นของในแต่ละแม่สีได้ถึง 2x2x2x2x2x2x2x2 = 256 หน่วย ซึ่งถ้าคิดเป็น bits per pixel ที่ต้องรวมทั้ง 3 แม่สีหลักเข้าด้วยกันเพื่อแสดงๆจำนวนเฉดสีมากที่สุดที่เป็นไปได้นั้น จะได้เป็น 2^(8×3) = 16,777,216 เฉดสีเลยทีเดียว

ภาพแบบ 16 บิตนั้นมีความยืดหยุ่นสูงกว่าแบบ 8 บิตอย่างไร..

1. สร้างงานใหม่ขึ้นมาสองงานใน Photoshop ขนาดใดก็ได้ เทสีแบบแถบสีดำไปขาว (Gradient) ลงไป ให้งานแรกเป็นการทำงานแบบภาพ 8 บิต งานที่สองเป็นการทำงานกับภาพแบบ 16 บิต

Screen-Shot-2014-10-17-at-1.04.17-PM-300x123

เราจะใช้สีเกรเดียนท์ทดสอบ

Screen-Shot-2014-10-17-at-12.58.47-PM-640x477

ไปที่ Image > Mode

2. กด Control + L (win)/ Command + L (mac) เพื่อเปิดหน้าต่าง Levels Editor ขึ้นมา ให้ใส่ค่า Output สีดำที่ 120 สีขาวที่ 140 แล้วกดตกลง

3. สิ่งที่ผู้เรียนจะเห็นในตอนนี้คือสีเทาที่ไม่ต่างอะไรกันเลยไม่ว่าจะเป็นหน้าต่างของภาพแบบ 8 บิท และ 16 บิท

4. เปิดหน้าต่าง Levels ขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้ให้ใช้สเกล Input Levels ดึงสเกลสีดำไปทางขวา และดึงสเกลสีขาวไปทางซ้ายให้ชิดที่สุดแถวขอบฮิสโตแกรม ทำอย่างนี้ทั้งสองหน้าต่างจะพบว่า หน้าต่างของภาพ 8 บิต เกิดพิกเซลแตกเป็นช่องค่อนข้างชัดเจน

Screen-Shot-2014-10-17-at-1.43.32-PM

ยืดสีออกด้วย Input Levels

Screen-Shot-2014-10-17-at-1.04.03-PM

เรียกว่ายืดแล้วยืดอีกจนเห็นขีดจำกัด

8-16

ด้านบนคือ 8 บิต ด้านล่างคือ 16 บิต

เหตุผลก็ง่ายๆ เพราะสายตาของมนุษย์จะไม่สามารถแยกแยะอะไรที่มีความแตกต่างน้อยมากๆได้จนกระทั่งเราบีบมิติของเฉดสีให้ไล่เข้ามาจนถึงขีดจำกัดของภาพแบบ 8 บิต ในขณะที่ภาพแบบ 16 บิตยังมีช่วงสีที่กว้างอยู่มาก

สรุปได้ว่าในขณะที่เรากำลังถ่ายภาพแบบ RAW ไฟล์ จำนวนบิตที่มากกว่า 8 ก็ย่อมที่จะแสดงผลได้เนียนละเอียดกว่าเป็นไหนๆ (RAW บางค่ายก็มีตั้งแต่ 12, 14 บิท ปัจจุบันก็อาจจะสูงกว่านี้) และใน Photoshop ก็มีการขยายโหมดเป็น 16 bit (LR ก็ด้วย) สิ่งที่เราจะใช้ประโยชน์ได้จากโปรแกรมทำภาพนี้ก็คือแปลงให้เป็นภาพแบบ 16 บิทในขณะที่ปรับแต่งภาพ แล้วเมื่อแต่งภาพเรียบร้อยให้เซฟเป็น 8 บิต ไฟล์จะเสียหายน้อยกว่านั่นเอง

Lightroom Preset จาก DozzDIY

[bsa_pro_ad_space id=7]

[bsa_pro_ad_space id=8]

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า