Photoshop CC : การผสานเลเยอร์ด้วยโหมด Color

มีคนนำประโยชน์ของโหมดผสานเลเยอร์แบบ Color ไปใช้ในการชุบชีวิตภาพขาวดำให้กลายเป็นภาพสี หรือเปลี่ยนแปลงสีส่วนใดๆของภาพโดยไม่ส่งผลกระทบด้านความสว่างหรือความอิ่มตัว โหมดดังกล่าวนี้มีดีอะไรและจะนำไปใช้ประยุกต์กับเรื่องใดได้อีกบ้างผู้เรียนจะได้ทราบในบทเรียนนี้ครับ


เนื้อหาสำหรับผู้สนับสนุน
สนับสนุนเราเพื่อเข้าชมทุกเนื้อหา
Facebook Page : DozzDIY

หลายโหมดที่เคยได้กล่าวไปในส่วนของโหมดผสานเลเยอร์นั้น ผู้เรียนพอสังเกตได้บ้างแล้วว่าเป็นเรื่องของความสว่างและความมืด เช่น Multiply จะเป็นการยกเลิกพื้นที่ส่วนสีขาวโดยสกัดเอาแต่ส่วนมืดของภาพมาประกบ Screen เป็นโหมดที่ตรงกันข้ามซึ่งจะสกัดเอาพื้นที่สว่างมาใช้ หรือ Overlay ที่ยกเลิกทั้งส่วนสว่างและส่วนมืดอย่างละ 50% จนกลายเป็นโหมดผสานแบบเปรียบต่าง

โหมดผสาน Color ที่จะได้กล่าวถึงในบทเรียนนี้เป็นการเรียนรู้โหมดผสานประเภท Composite หรือการเลือกเพียงองค์ประกอบย่อยหนึ่งของมิติสี ซึ่งหมายถึง ‘สีสัน’ โดยละเอาความสว่างหรือมืดของสีออกไป

ถ้าเรียนมาจนถึงตอนนี้ได้ ผมก็เชื่อนะว่าผู้เรียนผ่านอะไรร้ายๆมาเยอะ  ดังนั้นเพื่อเป็นการสมนาคุณผู้เรียนผมก็จะไม่ยกตัวอย่างในทางทฤษฎีแล้วดีกว่า เพราะคงไม่มีประโยชน์มากเท่ากับสู้เรียนเอาวิธีการและสิ่งที่เป็นแก่นแท้

เมื่อพูดถึงสี เราจะนึกถึงมิติในสีที่มีสองสามอย่าง เช่นความอิ่มตัว (Saturation), ความเป็นเฉดสีหรือสีสัน (Hue) และ ความสว่าง (Luminosity) ในกรณีนี้โหมดผสาน Color จึงเป็นเพียงการสกัดเอาสีที่เป็นสีจริงๆผสมลงไปบนภาพที่เราอยากจะประกบด้วย ส่วนหน้าที่ในการผสานให้เหมาะเจาะยกหน้าที่ให้ Photoshop โปรแกรมสุดเจ๋งนี้ได้เลย

1. เพื่อให้ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดเจนที่สุด หาภาพขาวดำอะไรก็ได้สักภาพเปิดขึ้นมาในโปรแกรม จะได้เลเยอร์ Background ซึ่งเป็นเลเยอร์สามัญที่ไม่รู้จักคงไม่ได้

 

2. สั่งเพิ่มเลเยอร์ใหม่ด้วยคีย์ Control + Alt + Shift + N (win) / Command + Option + Shift + N (mac) จะได้เลเยอร์เปล่าๆเหนือเลเยอร์ Background จากนั้นสลับเป็นเครื่องมือแปรงปัด (Brush – ‘B’) กำหนดสีและค่าความโปร่งใสตามใจชอบแล้วทางลงบนเลเยอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ จะพบว่าการทาทับลงไปแบบนี้มันไม่ได้ความเอาซะเอาเลยให้ตายสิ

3. เลือกโหมดผสานของเลเยอร์ใหม่นี้เป็นโหมด Color จะพบว่าสีที่ระบายลงไปดูดีกว่าเดิมมาก มันผสมลงไปบนภาพด้านล่างได้น้ำหนักที่เหมาะเจาะเลยล่ะ

ทาสีแล้วเลือกโหมดผสาน Color

 

ถ้าคุณอยากปรับแต่งความฉูดฉาดหรือมิติอื่นของสีที่ทา จะสร้าง Adjustment Layer แบบ Hue/Saturation ขึ้นมาควบคุมสีที่ทาก็จะให้ผลลัพธ์ที่อิสระกว่าเดิมมากขึ้นไปอีก! (กด Alt[win]/Opt[mac] ค้างไว้แล้วไปที่บริเวณรอยต่อเลเยอร์ Adjustment กับ เลเยอร์ที่ทาสี แล้วคลิก)

อย่าลืมให้ส่งผลเฉพาะ 1 เลเยอร์ล่างเท่านั้นล่ะ!

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า