การใช้งาน Lasso Tool, Polygonal Lasso Tool และ Magnetic Lasso Tool

เครื่องมือคัดเลือกพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถระบุพื้นที่ๆต้องการทำงานแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้นโดยที่ไม่ไปส่งผลกระทบกับพื้นที่นอกเหนือจากนั้น ยกตัวอย่างเช่นการทำผิวเนียนก็จะกระทำเฉพาะบริเวณที่เป็นผิวของตัวแบบ ซึ่งใน Photoshop CC มีเครื่องมือคัดเลือกหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความต้องการแบบต่างๆมากมาย เราจึงควรศึกษาเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการทำงาน

กลุ่มเครื่องมือใช้เฉพาะที่

เครื่องมือคัดเลือกพื้นที่แบบใช้เฉพาะที่การทำงานจะเป็นในลักษณะของการเลือกเครื่องมือดังกล่าวแล้วลากเพื่อกำหนดพื้นที่ควบคุมเพื่อปรับแต่ง (Selective & Local Adjustment) ในที่นี้จะกล่าวถึง 3 เครื่องมือคัดเลือกพื้นที่แบบกำหนดอิสระอย่าง Lasso Tool, Polygonal Lasso Tool และ Magnetic Lasso Tool (คีย์ลัด L และสลับวนเครื่องมือ Shift + L) กับอีกสอง 2 มือจำกัดรูปร่างอย่าง Rectangular Marquee Tool และ Eliptical Marquee Tool (คีย์ลัด M และสลับวนเครื่องมือ Shift + M)

Lasso Tool

เครื่องมือกำหนดพื้นที่ด้วยการลากเส้นอิสระ

Polygonal Lasso Tool

เครื่องมือกำหนดพื้นที่แบบลากจุดต่อจุด

Magnetic Lasso Tool

เครื่องมือกำหนดพื้นที่แบบดูดติดเส้นด้วยค่าที่กำหนด

บาร์ตัวเลือกของ Lasso Tool และ Polygonal Lasso Tool จะเหมือนกัน

Options Bar ของ Lasso Tool และ Polygonal Lasso Tool จะเหมือนกันนะ

– ได้แก่การกำหนดโหมดการใช้งานดังนี้ A-สร้างใหม่, B-เพิ่มเติม, C-ลบจากที่เลือกไว้ และ D-พื้นที่ซึ่งตรงกันกับที่เลือกไว้ก่อนหน้า, Feather : ค่าการฟุ้งกระจายของขอบ, Anti-Alias : กำหนดความเรียบเนียนขอบ และ Select & Mask กำหนดค่าขอบอย่างละเอียด

บาร์ตัวเลือกที่มีเพิ่มเติมสำหรับ Magnetic Lasso Tool

Options Bar ของ Magnetic Lasso Tool

-Magnetic Lasso Tool ทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ ดังนั้นจึงต้องมีพารามิเตอร์ที่ต้องกำหนดเพิ่มเติม ได้แก่ค่า Width : ค่าความกว้างของขอบ, Contrast : ค่าความเปรียบต่างของขอบภาพที่เลือก, Frequency : ความถี่ในการพิกัดจุดเลือก, และน้ำหนักในการกดจากปากกาสไตลัส กรณีที่ใช้ (Magnetic Lasso Tool ไม่สามารถทำงานได้กับภาพ 32 บิต)

Rectangular Marquee Tool และ Eliptical Marquee Tool

Rectangular Marquee Tool และ Elliptical Marquee Tool

เครื่องมือ Rectangular Marquee Tool และ Elliptical Marquee Tool เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คัดเลือกพิกเซลของพื้นที่แบบพื้นที่แบบคงรูปร่าง นั่นคือพื้นที่แบบสี่เหลี่ยมและวงรี

วิธีการใช้งาน

1 เลือกเครื่องมือกลุ่มคงรูปร่างเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งดังนี้
Rectangular Marquee : พื้นที่คงรูปร่างลักษณะสี่เหลี่ยม (หรือจัตุรัส เมื่อกดคีย์ Shift ค้างไว้ขณะใช้งาน)
Elliptical Marquee : พื้นที่คงรูปร่างลักษณะวงรี (หรือวงกลม เมื่อกดคีย์ Shift ค้างไว้ขณะใช้งาน)

Options Bar ของ Rectangular Marquee และ Elliptical Marquee

2 เลือกโหมดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดดังนี้ ได้แก่ A-สร้างใหม่, B-เพิ่มเติม, C-ลบจากที่เลือกไว้ และ D-พื้นที่ซึ่งตรงกันกับที่เลือกไว้ก่อนหน้า

3 กำหนดค่าความเรียบเนียน (Anti-Alias) ของขอบเพิ่มเติมได้ที่บาร์ตัวเลือก (Options Bar)

4 รูปแบบของการคัดเลือกพื้นที่จากสองเครื่องมือดังกล่าวกำหนดได้ดังนี้
Normal : กำหนดขนาดอิสระจากการลาก
Fixed Ratio : คงสัดส่วนเอาไว้เมื่อกำหนดขนาดค่าสัดส่วนตลอดเวลา
Fixed Size : คงที่รูปร่างที่ได้กำหนดเอาไว้เมื่อกำหนดขนาดตัวเลขตลอดเวลา

เพิ่มเติม : นอกจากหน่วยพิกเซล (px) แล้วผู้เรียนก็ยังกำหนดค่าหน่วยเป็นเซนติเมตร (cm) และหน่วยนิ้ว (in) ได้ด้วยที่บาร์ตัวเลือก

5 สำหรับการเรียบเรียงพื้นที่เลือกไปตามเส้นไกด์, เส้นกริด หรือขอบเอกสาร ก็ยังทำได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
– เลือก View > Snap หรือเลือก View > Snap to จากนั้นก็เลือกตามตัวเลือกประกบติดตามที่โปรแกรมมีมาให้

การใช้งานทั่วไป : ลากจาก A ไป B เพื่อสร้างพื้นที่

การสร้างพื้นที่จากศูนย์กลาง (กด Alt [win]|Opt[mac] ค้างไว้)

6 ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเลือกพื้นที่ต่อไปนี้
– ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ Rectangular Marquee หรือ Elliptical Marquee ต่างก็ใช้งานเหมือนกัน นั่นคือการคลิกลากจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่งเพื่อครอบพื้นที่ด้วยรูปร่างที่กำหนด
– ระหว่างที่ใช้เครื่องมือหากกด Shift ค้างเอาไว้ เครื่องมือ Rectangular Marquee จะกลายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ Elliptical Marquee จะกลายเป็นพื้นที่วงกลม
– แต่ถ้าหากต้องการสร้างรูปร่างโดยเริ่มต้นแบบจุดศูนย์กลาง กว้างออกไปเป็นรัศมีให้กด Alt ค้างเอาไว้สำหรับ Windows และ Option ค้างไว้สำหรับ Mac OS

เพิ่มเติม : การเปลี่ยนตำแหน่งของกรอบที่ได้สร้างไว้นั้น หลังจากที่ปล่อยเมาส์แล้วให้คลิกลากที่กรอบต่อได้เลย

กลุ่มเครื่องมือคัดเลือกพื้นที่อัจฉริยะ

ในโปรแกรม Photoshop CC มีให้เลือกใช้งานด้วยกันอยู่ 2 ตัว ซึ่งได้แก่ Quick Selection Tool และ Magic Wand Tool ซึ่งทั้งสองเครื่องมือนี้ถึงจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างแต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำงานได้ต่างกันไป

Quick Selection Tool

เครื่องมือ Quick Selection Tool มีการใช้งานง่ายๆโดยการคลิกลากแบบหยาบๆจากจุดที่ต้องการให้โปรแกรมวิเคราะห์ เครื่องมือนี้จะทำงานในขอบเขตที่กำหนดตามการตั้งค่าความละเอียดของขอบสีเอาไว้

วิธีการใช้งาน

1 คลิกที่เครื่องมือ Quick Selection Tool หรือกดคีย์​ (W) ที่คีย์บอร์ด หรือกด Shift + W เพื่อสลับจนกว่าจะเปลี่ยนเป็นเครื่องมือดังกล่าว

2 ที่บาร์ตัวเลือก (Option Bar) ผู้เรียนสามารถกำหนดโหมดของเครื่องมือได้ว่าจะให้การใช้งานเครื่องมือครั้งต่อไปเป็นโหมดใด ไม่ว่าจะเป็นโหมดเพิ่มพื้นที่ใหม่ยกเลิกของเดิม (New), เพิ่มเติมพื้นที่ (Add) หรือโหมดกำจัดพื้นที่เลือกก่อนหน้า (Subtract)

3 การกำหนดขนาดของแปรงกำหนดพื้นที่เปลี่ยนได้ที่บาร์ตัวเลือกเช่นกัน และยังใช้คีย์ลัด[‘ หรือ ‘]‘ เพื่อลดหรือเพิ่มขนาดหัวแปรง นอกจากนี้ความหนักเบายังขึ้นอยู่กับอุปกรณ์การใช้งานอย่างปากกาแสง (Pen Pressure) หรือพวกล้อหมุนเมาส์ที่มีลูกเล่นน้ำหนักกดได้ด้วย (Stylus Wheel)

4 โหมดตัวเลือกเพิ่มเติมที่บาร์ตัวเลือก (Option Bar) > Sample All Layers : การทำงานแบบไม่คำนึงถึงระดับชั้นเยอร์ เช่นถ้าใช้งานที่เลเยอร์บนสุด การคัดเลือกพื้นที่จะส่งผลกับเลเยอร์ทุกชั้น, Auto Enhance : โหมดสำหรับการลดความหยาบและเหลี่ยมโพลิกอนที่เกิดจากการคัดเลือกพิกเซล โดยที่โปรแกรมจะทำการเพิ่มความฟุ้งและความต่อเนื่องมุมขอบของพื้นที่คัดเลือกเพื่อความเรียบเนียน

5 ใช้งานโดยการลากระบายพื้นที่ๆต้องการ โปรแกรมจะทำการกำหนดสีใกล้เคียงเพื่อคำนวนพื้นที่น่าจะเป็นของวัตถุชนิดเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นการลากระบายเพื่อกำหนดกรอกของลูกบอลสีแดงในฉากขาว โปรแกรมจะหาสีแดงทั้งหมดในขอบเขตการเลือก

ลากพื้นที่จากภายในเพื่อครอบคลุมส่วนที่ต้องการ

เพิ่มเติม : ถ้าผู้เรียนหยุดในขณะที่เลือกพื้นที่แล้วคลิกลากใหม่ พื้นที่ใหม่จะผสมไปกับพื้นที่เก่าแต่ก็สามารถกำหนดทางเลือกเพิ่มเติมได้ดังนี้

เพื่อทำการลดพื้นที่เก่าให้ทำการเลือกตัวเลือกสัญลักษณ์พู่กันเครื่องหมายลบ (Subtract From Option) แล้วลากพื้นที่เพื่อลบพื้นที่ๆเลือกไว้ได้ด้วย

– หรือถ้าเพียงต้องการสลับไปสู่โหมดการลบพื้นที่ชั่วคราวเท่านั้น ให้กด Alt (win) | Option (mac) ค้างไว้แล้วทำการเลือก เมื่อต้องการสลับมาสู่โหมดเดิมก็ยกเลิกการกดค้างเอาไว้ได้

– วำหรับการเปลี่ยนสัญลักษณ์เคอร์เซอร์ สำหรับ Windows ให้ไปที่ Edit > Preferences > Cursors > Painting Cursors แต่ถ้าเป็น Mac OS ให้ไปที่ Photoshop > Preferences > Cursors > Painting Cursors

Magic Wand Tool

เครื่องมือ Magic Wand Tool เป็นการทำงานแบบคลิกเดียวแล้ววิเคราะห์พิกเซลสีที่มีความคลายคลึง โดยที่มีตัวแปรควบคุมอย่างค่า Tolerance เพื่อหาค่าพื้นที่ความสัมพันธ์ใกล้เคียง

วิธีการใช้งาน

ข้อควรระวัง : ผู้เรียนไม่สามารถใช้เครื่องมือ Magic Wand Tool กับภาพแบบ 32 บิต หรือภาพที่กำลังรันในโหมดบิตแมป (Bitmap)

1 ทำการเลือกเครื่องมือ Magic Wand Tool ก่อน ซึ่งถ้าหาไม่เจอเครื่องมือนี้จะซ่อนอยู่ในตัวเลือก Quick Selection Tool (ลองกด Shift + W เพื่อสลับเครื่องมือดู)

2 ที่บาร์ตัวเลือก (Options Bar) จะมีโหมดให้เลือกอยู่ด้วยกัน 4 โหมดด้วยกัน ได้แก่ A – เลือกพื้นที่ใหม่, B – ผสมพื้นที่เก่า, C – ลบพื้นที่เก่า D – เลือกพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่เดิม

3 ตัวเลือกเพิ่มเติมที่ Options Bar มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
Tolerance : ค่าการคำนวนช่วงสีจากพิกเซลที่ทำการเลือก มีด้วยกันทั้งหมด 256 ช่วง (0-255) โดยที่ค่าตัวแปรต่ำสุดจะทำการคำนวนช่วงสีที่แคบ และตัวเลขที่มากขึ้นโปรแกรมจะคำนวนตัวแปรสีใกล้เคียงเพิ่มเข้ามาให้มากขึ้น
Anti-Aliased : ขอบของพื้นที่คัดเลือกจะมีความนุ่มนวลและเรียบเนียนมากขึ้น
Contiguous : เลือกเฉพาะพื้นที่ๆติดกันเท่านั้น
Sample All Layers : การทำงานแบบไม่คำนึงถึงระดับชั้นเยอร์ เช่น ถ้าใช้งานที่เลเยอร์บนสุดการคัดเลือกพื้นที่จะส่งผลกับเลเยอร์ทุกชั้น

4 เริ่มการใช้งานได้เพียงคลิกลงไปยังจุดพิกเซลสีที่ต้องการทำการคัดเลือก โปรแกรมจะทำการคำนวนและเลือกพื้นที่ๆเกี่ยวข้องกับค่าที่กำหนดใน Options Bar ทันที

จิ้มเพียงครั้งเดียวเพื่อกำหนดพื้นที่

5 ถ้าต้องการกำหนดค่าขอบให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ให้กดที่ปุ่ม Select & Mask เพื่อกำหนดค่าขอบเพิ่มเติมด้วย แต่จะต้องมีความรู้ในส่วนนี้เพิ่มเติมซึ่งจะได้ศึกษาต่อไปในบทเรียนของหลักสูตรนี้

กลุ่มฟิลเตอร์

เครื่องมือคัดเลือกพื้นที่ในกลุ่มฟิลเตอร์นี้จะเป็นการกำหนดค่าพารามิเตอร์ลงในตัวเลือกที่ฟิลเตอร์มีมาให้เพื่อหาพื้นที่ๆกำหนด การใช้งานนั้นจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจความหมายของค่าต่างๆ ซึ่งในกลุ่มนี้ผู้สอนจะขอยกตัวอย่างให้เห็น 2 ฟิลเตอร์ด้วยกัน ได้แก่ Color Range และ Focus Area

Color Range

ฟิลเตอร์ Color Range นี้จะให้ผู้เรียนเลือกสีจำเพาะด้วยที่ให้ความสนใจขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงกำหนดค่าความกว้างของสีแล้วค่อยกำหนดค่าขอบด้วย Select & Mask เอาทีหลัง เครื่องมือดังกล่าวมีประโยชน์มากกรณีที่ต้องการเปลี่ยนหรือแก้ไขค่าสีในบริเวณที่กำหนด (Select > Color Range)

Color Range

Focus Area

มีไว้เพื่อเลือกพื้นที่ๆมีความเปรียบต่างของกลุ่มพิกเซลที่มากกว่าจุดอื่น ซึ่งนั่นก็คือการหาพื้นที่โฟกัสซึ่งมีความคมชัดมากที่สุดในภาพนั่นเอง ทำให้ประโยชน์ของฟิลเตอร์ดังกล่าวมักจะใช้เพิ่มความโดดเด่นของภาพร่วมกับการปรับแต่งในรูปแบบต่างๆ หรือช่วยหาพื้นที่คมชัดโดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีความยุ่งยากได้ในหลายกรณี (ไปที่ Select > Focus Area)

Focus Area

เห็นได้ว่าความสำคัญของเครื่องมือนั้นต่างก็ทำหน้าที่ได้ดีในรูปแบบที่โปรแกรม Photoshop สร้างขึ้นมาให้ ส่วนเราเองก็ต้องเลือกใช้ในถูกต้องเหมาะสมเพื่อช่วยลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานนะครับ ส่วนของ Color Range กับ Focus Area จะได้กล่าวในตอนต่อๆไปในหมวดนี้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า