Photoshop CC : วิธีปรับขนาดภาพจากกล้องดิจิตอล

ถึงแม้ว่าการสร้างเอกสารเพื่อทำงานใน PS สำหรับช่างภาพนั้นจะเป็นเรื่องไกลตัวมากกว่าการเปิดรูปขึ้นมาตกแต่งก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่างกันเลย เพราะถ้าหากคุณไม่มีความเข้าใจเรื่องของขนาดหน้าจอ ความหนาแน่นของเม็ดพิกเซล หรือแม้แต่การปรับขนาดก่อนส่งออกไปยังเครื่องพิมพ์ เรื่องเล็กๆน้อยๆที่คุณมองข้ามเหล่าจะทำให้คุณสติแตกได้ในอนาคต บทเรียนนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจในการย่อหรือปรับขนาดเอกสารที่ถูกต้องก่อนพิมพ์หรือส่งขึ้นเว็บไซต์

-07-09-at-3.44.27-PM-copyตรวจสอบขนาดภาพได้โดยการใช้ไม้บรรทัด (win : ctrl + R/ mac : cmd + R)

เปิดภาพถ่ายและสำรวจขนาด

เพราะคุณทำงานกับภาพ โอกาสที่คุณจะได้สร้างเอกสารขึ้นมาใหม่แทบไม่มี ดังนั้นไปที่ File > Open (win : control + O / mac : command + O) เลือกถ่ายที่เพิ่งจะถ่ายมาจากกล้องดิจิตอลขึ้นมาหนึ่งภาพ (ผมเอาไฟล์ที่เป็น JPEG นะ) จากนั้นให้ดูขนาดด้วยอุปกรณ์ไม้บรรทัด (win : control + R / mac : command + R)

ความเข้าใจเกี่ยวกับขนาดภาพ

ต่อมาให้คุณเปิดหน้าต่าง Image Size โดยไปคลิกที่ Image > Image Size (win : control + alt + I / mac : command + option + I) คุณจะเห็นเลยว่าหลังๆมานี้ Photoshop CC เค้าเข้าใจหัวอกช่างภาพหรือคนที่ต้องการพิมพ์งานมากขึ้นแฮะ เพราะค่าความละเอียดหรือแม้แต่พรีเซ็ตการกำหนดภาพเพื่อสั่งพิมพ์จะถูกตั้งค่าไว้สูงถึง 300ppi แต่ช้าก่อน แม้ว่าค่าที่ถูกตั้งเอาไว้ก็เหมาะสมดีแต่คุณก็ควรเรียนรู้เพิ่มอีกนิดว่ามันคืออะไร

กล้องดิจิตอลทุกตัวมักจะเซ็ตความละเอียดของภาพไว้เหมือนกับจอแสดงผลเราใช้กันทั่วไป (ทั่วไปไม่ได้หมายถึงจอเรติน่าของ Macbook Pro รุ่นใหม่ หรือ Ipad นะ) คือ 72ppi หมายความว่าในระยะ 1 นิ้วจะมีเม็ดพิกเซลนับได้ 72 เม็ด ซึ่งก็ดูดีบนหน้าจอแต่ค่อนข้างแย่เวลานำไปสั่งพิมพ์เพราะมันไม่ละเอียดมากพอ

Screen-Shot-2014-07-09-at-3.49.38-PM

Resample จะถูกล็อกไว้ตายตัวแต่แรก

Screen-Shot-2014-07-09-at-3.52.22-PM

นำเครื่องหมายถูกออก ก็จะจัดการได้อย่างอิสระ

เกี่ยวกับ Resample Image

ตัวเลือก Resample Image จะถูกเลือกอยู่แล้วในตอนแรก สังเกตดีๆไม่ว่าคุณจะแก้ไขขนาดภาพให้เป็นเท่าไหร่ก็ตาม ความละเอียดของพิกเซลต่อนิ้วก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง (จะไม่มีสัญลักษณ์รูปโซ่ล็อกค่า Resolution เอาไว้) ตรงนี้แย่หน่อยเพราะคุณจะไม่ทราบเลยว่าคุณขยายภาพจนภาพเบลอหรือเปล่า ดังนั้นถ้าต้องการดูค่าความละเอียดที่เปลี่ยนไปเวลาคุณขยายหรือย่อภาพ ให้เอาออกซะเถอะ ตัวอย่างเช่นถ้าคุณมีภาพขนาด 8×8 นิ้ว ที่ 300ppi เวลาคุณขยายเป็น 16×16 นิ้ว ความละเอียดก็จะเป็น 150 ppi คุณจะได้รู้ว่ามันเริ่มมีปัญหาแล้วนะ (กล้องเดี๋ยวนี้ทำได้เกินนี้เยอะ ผมแค่ยกตัวอย่าง)

วิธีการใช้งาน

อันดับแรกผมจะดูภาพตัวเองก่อนว่าเวลาอัดภาพเป็นขนาด 14 x 9 นิ้วกว่าๆ (ผมครอปภาพนะ แหะๆ) ความละเอียดจะเหลือเท่าไหร่โดยการเอาเครื่องหมายถูกที่ Resample Image ออก เมื่อดูแล้วพบว่าความละเอียดพุ่งทะยานไปที่ 349.5 ppi แหน่ะ ซึ่งมากเกินไปแล้วสำหรับการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์อิงค์เจท ดังนั้นไฟล์นี้จึงค่อนข้างปลอดภัยถ้าจะเซ็ตค่า ppi ใหม่ซะเองเป็น 240 ppi โดยที่ก่อนจะเซ็ตผมจะทำการคลิกที่ Resample Image อีกครั้งเพื่อให้ค่าความละเอียดถูกตั้งได้อย่างอิสระ (240 ก็มากพอแล้วครับกับการพิมพ์แบบนี้)

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า