LR Classic CC : การแต่งภาพแบบโลว์คีย์ หรือ อันเดอร์โทน

ภาพถ่ายโทนมืดหรือภาพถ่ายโลว์คีย์ (Low-Key) มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ภาพถ่ายแบบอันเดอร์โทน (Undertone หรือ Underexposure) ภาพถ่ายลักษณะดังกล่าวนี้จะมีความมืดกระจายอยู่ในภาพมากกว่าความสว่าง (พิกเซลสีส่วนใหญ่ในภาพมีความสว่างต่ำ) ซึ่งใช้ดึงดูดความสนใจของผู้รับชมได้ง่ายตามหลักจิตวิทยามนุษย์ที่ว่า “โดยสัญชาตญาณแล้วมนุษย์มักมองหาสิ่งที่สว่างเมื่อต้องตกอยู่ในความมืด”

การเตรียมความพร้อมเพื่อตกแต่งภาพถ่ายโลว์คีย์

ภาพถ่ายที่จะตกแต่งภาพในลักษณะใดลักษณะหนึ่งได้ดีนั้นต้องถูกบันทึกมาอยากเจาะจงว่าทำไปเพื่อจุดประสงค์ใด ขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจการตกแต่งภาพถ่ายว่าถ้าหากมีทักษะการตกแต่งภาพถ่ายสูงๆนั้นสามารถทำให้ภาพที่แย่มากให้ดูดีอย่างไรก็ได้ ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วนั้นภาพถ่ายที่ไม่ได้เจาะจงจะเหนื่อยในการตกแต่งและใช้เวลาอย่างมากกว่าจะแก้ไขให้เข้าที่

ภาพถ่ายต้นฉบับ

ตกแต่งในแบบโอเวอร์โทน

ตกแต่งในแบบอันเดอร์โทน

การบันทึกภาพเบื้องต้นมาเพื่อทำภาพถ่ายแบบโลว์คีย์ จึงต้องเข้าใจและพิจารณาข้อมูลในภาพให้ดีว่าถ้าหากมีความสว่างในภาพสูงมากเกินไปแล้วจะเกิดปัญหาเวลากดแสงในภาพให้ต่ำลงหรือไม่ ให้ดูจากภาพถ่ายตัวอย่างที่บันทึกแบบกลางๆเพื่อที่จะตกแต่งภาพในทิศทางโลว์คีย์หรือไฮคีย์ก็ได้ดังด้านล่าง ก็พอเป็นข้อสรุปคร่าวๆได้ว่าการทำภาพถ่ายให้ดีนั้นควรมีภาพต้นฉบับที่ให้ผลลัพธ์ทางดิจิตอลที่ดีมาเสียก่อน

ข้อสังเกตในการทำภาพถ่ายโลว์คีย์

ปริมาณของสีส่วนกลางค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับข้อมูลส่วนมืด

ฮิสโตแกรมแบบภาพโลว์คีย์นั้นมีจุดเด่นคือข้อมูลของภาพจะรูปแบบภูเขาสูงที่ลู่ลงทางด้านขวา หมายถึงการมีส่วนสว่างที่มีจุดเด่นในภาพเป็นส่วนน้อย และข้อมูลที่มืดกว่างจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากที่สุดในโซนสีส่วนเงาและสีส่วนกลาง

กราฟฮิสโตแกรมมีการลู่ลงทางด้านขวา
ถ้าไม่เข้าใจเรื่องฮิสโตแกรม มีสอนที่ ‘หลักการถ่ายภาพพื้นฐาน’ จาก DozzDIY นะจ๊ะ

การทำภาพจึงเน้นการควบคุมสีส่วนกลางให้ย้ายไปทางสีส่วนเงาให้มากที่สุด เพื่อให้ตรงกับข้อสันนิษฐานนั่นเอง

การประยุกต์ใช้กับทฤษฎีสี

เมื่อเป็นภาพแบบโลว์คีย์เรามักจะติดอยู่กับความคิดของสมดุลสี เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น คู่สีที่มักใช้ได้บ่อยเวลาอ้างอิงคือสีน้ำเงินแทนสีมืด และสีเหลืองแทนสีสว่าง ความมืดจะหมายถึงเวลากลางคืน, ความมืดมน, ลึกลับ, สงบ, อึดอัด และอื่นๆ ไม่ค่อยพบเห็นการใช้สีวรรณะร้อนในส่วนเงา เว้นเสียแต่ว่าภาพนั้นจะเป็นภาพแบบโมโนโครเมติก หรือภาพสีเอกรงค์ [เรียนหลักสูตร ‘ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล’ คลิกที่นี่]

แสดงให้เห็นถึงการใช้วรรณะร้อนในส่วนสว่าง และวรรณเย็นในส่วนมืด

การประยุกต์ใช้กับความเปรียบต่างและเฟด

เฟดทำให้รู้สึกถึงความพร่ามัว, ไม่แน่ชัด-ไม่แน่ใจ, ลางเลือน, บางเบา มันจึงถูกเชื่อมไปกับความรู้สึกเพ้อฝันไม่เป็นความจริง การใช้ภาพลักษณะเฟดจะมีข้อเสียตรงที่ทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัด จืดชืดน่าเบื่อ จึงต้องมีการชดเชยด้วยความเปรียบต่างเข้าไปเพื่อให้ภาพดูดีขึ้น ทั้งหมดนี้ประยุกตืใช้เข้ากับการทำโทนภาพแบบอันเดอร์โทนหรือไฮคีย์แบบจัดๆได้ เพราะจะช่วยลดทอนความรุนแรงของภาพลง

ติดมืดมากเกินไป

เฟดแบบยกสีส่วนมืดให้สูงขึ้นมา

ตัวอย่างการทำภาพ

สำหรับการแต่งภาพ Lightroom ตามบทความข้างต้น เมื่อมีการอัปเดต คลิปวิดีโอจะปรากฏในบทความนี้และเข้าชมได้เฉพาะผู้เรียนในหลักสูตร Lightroom Classic CC : Master Class เท่านั้น หากท่านไหนสนใจเรียน Lightroom สามารถติดต่อเราได้ที่เพจ DozzDIY

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า